"พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและ ห ีบเสียงไทย" แหล่ง ความรู้ใหม่สำหรับคนไทยที่ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวกับ กระบวนการบันทึกเสียงของประเทศไทย เกิดจากปณิธานของ คุณพฤฒิพล ประชุมผล ที่ต้องการอนุรัษ์และเผยแพร่ให้ประชาชนชาวไทยรุ่นหลังๆ ได้รับรู้เรื่องราวความเป็นมาของการบันทึกเสียงของชาติไทย ก่อนที่สิ่งนี้จะถูกกลืนหายไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆพร้อมกับกาลเวลา
มุมหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เป็นที่รวบรวมแผ่นเสียงที่มีอายุตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ลงมา เช่นแผ่นยี่ห้อปาเต๊ะ หรือตาไก่แดง โดยเน้นเก็บแผ่นที่เป็นเพลงไทย ที่ร้องโดยหม่อมส้มจีน แม่แป้น ฯลฯ ซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อสมัยรัชกาลที่ 5
พิพิธภัณฑ์มีความโดดเด่น ก็เพราะว่าได้รวบรวมอารยธรรมและรากเหง้าของการบันทึกเสียงในสยามเท่านั้น ทั้งหมดเป็นเพลงไทยเดิม จะไม่มีการโชว์แผ่นเสียงหรือกระบอกเสียงต่างชาติเลย ยกเว้นเครื่องเล่นอย่างเดียวที่ต้องนำมาจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องเล่นแผ่นเสียงหลายรุ่นหลายยี่ห้อ และยังมีของหาดูยากอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ซองเก็บแผ่นเสียงหลายยุคหลายสมัยที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ กล่องเหล็กขนาดเล็ก ที่มีไว้ใส่เข็มสำหรับเล่นแผ่นเสียง และที่สะดุดตาอย่างมากคือ ลำโพงของเครื่องเล่นกระบอกเสียง ที่มีขนาดแตกต่างกันไป หลากสีสัน หลายรูปทรง
สำหรับผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ทางพิพิธภัณฑ์ จะเปิดให้เข้าชม เฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น จำนวน 2 รอบ และกำหนดให้เข้าชมรอบละไม่เกิน 10 คน รอบเช้า เริ่ม 10.00 น. รอบบ่ายเริ่ม 14.00 น. รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าเข้าชม 100 บาท ซึ่งผู้สนใจอยากเข้าชม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ โทร 0 2939 9920 และ 0 2939 9553
พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและ***บเสียงไทย
THE FIRST ANTIQUE PHONOGRAPH & GRAMOPHONE MUSEUM IN THAILAND
๑๕ ซอยลาดพร้าว ๔๓ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๒๐
โทรศัพท์ ๐-๒๙๓๙-๙๙๒๐ โทรสาร ๐-๙๓๙-๙๕๕๒
เพิ่มเติม
ห ีบเสียงที่ทรงโปรดของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในงานวัดเบญจมบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นสิ่งของที่สมเด็จฯ ทรงโปรด เป็นต้นว่า ***บเสียง กล้องถ่ายรูปและหมวก
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงถ่ายพระธิดาและเด็กๆ กับ *** บเสียง ที่ทรงโปรด ในวังวรดิศ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕