การวิเคราะห์หลักทรัพย์

การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยวิธีทางเทคนิค

 

เบื้องต้น (Introduction)

คำนำ

ปัจจุบัน วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิเคราะห์  สามารถแบ่งออก

ได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่

1.      การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน  (FUNDAMENTAL ANALYSIS)

2.      การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค  (TECHNICAL ANALYSIS)

            การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเมืองทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ภาวะของแต่ละอุตสาหกรรม  และผลการดำเนินงานในแต่ละบริษัท เพื่อนำมาใช้ในการประเมินหาราคาของหลักทรัพย์ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในระยะกลางและระยะยาว

            สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคา รวมถึงระดับราคาที่ควรจะซื้อหรือขาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

            ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คือการที่นักลงทุนอาศัยหลักสถิติมาใช้ในการพยากรณ์  โดยใช้เพียงในเรื่องของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตเท่านั้น สำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ที่ต้องอาศัยข้อในด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เสียเวลาในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลน้อยกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

            โดยเหตุผลเบื้องต้นที่จะทำให้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมีความน่าเชื่อถือนั้น ประกอบไปด้วยสมมุติฐาน 3 ประการ ดังนี้

            1.  ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบถึงข่าวสารในด้านต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว

            2. ราคาจะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

            3. พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน จะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต

 

            อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะชี้นำให้นักลงทุนซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพียงแต่เป็นการนำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยหลักการทางสถิติมาประยุกต์ ดังนั้นการนำแนวทางการวิเคราะห์ที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากความถูกต้องอยู่ในระดับของความน่าจะเป็นเท่านั้น ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ทุกครั้ง และหากสมมุติฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ย่อมจะมีผลต่อความถูกต้องของหลักการวิเคราะห์ที่นำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยเช่นกัน ไม่มากก็น้อย

            ในทางปฏิบัติ นักลงทุนจึงควรใช้ข้อมูลที่ได้ทั้งจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคมาประกอบการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการตัดสินใจที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

 

แผนภูมิแบบแท่ง BAR  CHART

            เป็นตัวแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคาของหุ้น ที่มีลักษณะเป็นแท่งในแนวดิ่ง ที่ประกอบไปด้วยราคาสูงสุด ต่ำสุด ราคาเปิด และราคาปิด แผนภูมิแบบแท่งสามารถให้เห็นถึงความต้องการซื้อ  (DEMAND) และความต้องการขาย (SUPPLY) ที่เกิดขึ้นจากการสังเกตที่ราคา ถ้าปิดค่อนข้างไปทางสูงของแท่งราคา แสดงว่าวันนั้นมีความต้องการซื้อมาก แต่ถ้าราคาปิดค่อนข้างไปทางต่ำของแท่งราคา แสดงว่าวันนั้นมีความต้องการขายมาก

            เมื่อเราสังเกตราคาจากแผนภูมิแบบแท่งในอดีต ทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า ราคาหุ้นตัวนี้จะมีแนวโน้มไปทางไหน

            การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) จากแผนภูมิแท่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  รูปแบบของราคาที่บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางใหม่  (REVERSAL TREND)

  รูปแบบของราคาที่บอกถึงทิศทางต่อเนื่อง  (CONTINUATION TREND)

  รูปแบบของราคาที่จะไปได้ทางใดทางหนึ่ง  (SIDEWAYS PATTERN)

 

รูปแบบของราคาที่บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางใหม่
(REVERSAL TREND)

            เมื่อมีรูปแบบนี้เกิดขึ้น แผนภูมิแบบแท่งจะบอกถึงสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในแนวโน้มของราคา โดยมีรูปแบบที่สำคัญ ๆ อยู่ 7 แบบ ดังนี้

   รูปแบบตัววี  (V FORMATION)

   รูปแบบหัวกับไหล่  (HEAD & SHOULDERS)

   รูปแบบสองหัวหรือสามหัวที่จุดต่ำ และสองหัวหรือสามหัวที่จุดยอด  (DOUBLE/TRIPLE BOTTOMS & DOUBLE/TRIPLE TOPS)

   รูปแบบจาน  (THE ROUNDING TURN)

   รูปแบบสามเหลี่ยมแบบปลายกว้าง (BROADENING TRIANGLE)

   รูปแบบช่องว่าง  (GAP)

   รูปแบบเกาะ  (ISLAND)

 

รูปแบบตัววี  (V FORMATION)

            เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในลักษณะขึ้นหรือลงเป็นเส้นชัน โดยมีรูปคล้ายกับ

ตัว  V  ในหุ้นขาลง  (V-Bottom)  โดยจะบอกถึงการเปลี่ยนแนวโน้มจากลงเป็นขึ้น  และตัว  V  กลับหัวในหุ้นขาขึ้น (V-Top) โดยจะบอกถึงการเปลี่ยนแนวโน้มของหุ้นจากขึ้นเป็นลง อย่างไรก็ดี รูปแบบตัว V นี้ควรจะเกิดพร้อมกับรูปแบบ KEY REVERSAL DAY กล่าวคือ สำหรับหุ้นขาลง ในวันที่ราคาหุ้นลงต่ำสุด ราคาปิดจะสูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อนหน้า ในทางตรงกันข้าม สำหรับหุ้นขาขึ้นในวันที่ราคาหุ้นขึ้นสูงสุดราคาปิดจะต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อนหน้า โดยทั้งสองกรณี จะมีปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา

            หรือรูปแบบตัว V นี้ควรจะเกิดพร้อมกับรูปแบบเกาะ  (ISLAND) ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในหัวเรื่องของ รูปแบบเกาะ  (ISLAND)

 

รูปแบบหัวกับไหล่  (HEAD & SHOULDERS)

แบ่งเป็นหัวกับไหล่ที่จุดยอด  (HEAD & SHOULDERS TOP)

           

            บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้นจากแนวโน้มขึ้นเป็นลง ประกอบด้วย 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดจะเรียกว่า หัว (HEAD) ส่วนยอดที่ต่ำลงมาจะเรียกว่า ไหล่หรือบ่า (SHOULDERS) โดยปริมาณการซื้อขายในแต่ละยอดจะลดลงตามลำดับ และมีเส้นเชื่อมตรงฐานเรียกว่า เส้นคอ (NECKLINE) และเส้นนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวนอนเสมอไป แต่ไม่ควรจะเป็นเส้นที่ชันมากเกินไปเช่นกัน เมื่อราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นคอ (NECKLINE) พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าราคาจะมีแนวโน้มไปในทางลง จึงควรขาย ณ จุดนี้

 

          หัวกับไหล่ที่จุดต่ำ  (HEAD & SHOULDER BOTTOMS)

 

            มีลักษณะเหมือน  HEAD & SHOULDER TOPS  แต่กลับหัว และเมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้นคอ (NECKLINE) พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น แสดงถึงแนวโน้มของราคาหุ้นกำลังจะขึ้น จึงควรซื้อ ณ จุดนี้

          หัวกับไหล่แบบซ้ำซ้อน  (COMPLEX HEAD & SHOULDERS)

 

            เป็นรูปแบบที่ซับซ้อนซึ่งอาจจะมียอดอยู่ที่ไหล่ 2 ยอด ในแต่ละข้างหรืออาจจะมีหัวคล้ายกัน 2 หัว การดูแนวโน้มของราคาจะเหมือนกับ  HEAD & SHOULDERS ทั้ง 2 แบบข้างต้น คือ ถ้าเกิดตอนขาขึ้นและเป็นหัวตั้งให้ขาย เมื่อราคาทะลุเส้นคอ (NECKLINE) ลงมา ในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดตอนขาลงและเป็นหัวกลับ ให้ซื้อเมื่อราคาทะลุเส้นคอ (NECKLINE) ขึ้นไป

 

            *ข้อสังเกต หุ้นที่ทะลุผ่านเส้นคอ อาจจะทะลุขึ้นหรือลงไปได้ระยะทางอย่างน้อยเท่ากับระยะห่างจากส่วนหัวถึงเส้นคอ

 

รูปแบบ สองหัวหรือสามหัวที่จุดต่ำ และสองหัวหรือสามหัวที่จุดยอด

(DOUBLE/TRIPLE BOTTOMS & DOUBLE/TRIPLE TOPS)

          กรณีสองหัว  (DOUBLE TOPS)

 

            รูปแบบของราคาจะมีลักษณะคล้ายตัว M โดยจะมียอด 2 ยอดปริมาณการซื้อขายหุ้นในยอดแรก จะมากกว่าปริมาณการซื้อขายหุ้นในยอดที่ 2 หลังจากนั้นราคาจะลดลงและทะลุผ่านเส้นคอลงไป ซึ่งถือว่าเป็นจุดให้ขาย โดยระยะทางที่จะลงไปได้นั้นอาจจะลงไปได้อย่างน้อยเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดถึงเส้นคอ

          กรณีสามหัวที่จุดยอด  (TRIPLE TOPS)

 

            รูปแบบนี้จะมียอดอยู่ 3 ยอด โดยปริมาณการซื้อขายหุ้นจะลดลงในแต่ละยอดตามลำดับ โดยยอดแรกจะมีปริมาณการซื้อขายหุ้นมากที่สุด และในยอดที่ 3 ขณะที่ราคากำลังลดลงและตัดเส้นคอ ปริมาณการซื้อขายหุ้นจะเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มเป็นลง และควรขาย ณ จุดที่ราคาตัดเส้นคอลงมา

          กรณีสองหัวที่จุดต่ำ  (DOUBLE BOTTOMS)

 

            รูปแบบคล้ายตัว W มีลักษณะในทางกลับกันกับกรณีสองหัวที่จุดยอด (DOUBLE TOPS) โดยกรณีสองหัวที่จุดต่ำ (DOUBLE BOTTOMS) จะบอกถึงตลาดกำลังจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขึ้น จึงควรซื้อ ณ จุดที่ราคาตัดเส้นคอ (NECKLINE) ขึ้นมา

          กรณีสามหัวที่จุดต่ำ  (TRIPLE BOTTOMS)

 

            มีลักษณะในทางกลับกันกับกรณีสามหัวที่จุดยอด (TRIPLE TOPS) โดยให้ซื้อเมื่อราคาตัดเส้นคอ (NECKLINE) ขึ้นมา

รูปแบบจาน  (THE ROUNDING TURN)

 

ราคาหุ้นจะก่อตัวคล้ายรูปจานโดยแบ่งเป็น

Credit: การวิเคราะห์หลักทรัพย์
6 ส.ค. 53 เวลา 10:27 2,277 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...