กินเนื้อและเลือดควายสด ๆ ตำนานวัดพระธาตุดอยคำกับประเพณีเลี้ยงดง

 

 

พระธาตุดอยคำ
 "พระธาตุดอยคำ" เคยเป็นที่อยู่อาศัยของ ยักษ์ ๒ ผัวเมีย ชื่อ จิคำและตาเขียวมาก่อน ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ – ย่าแสะ” ปู่แสะ ย่าแสะมีลูก ๑ คน ชื่อว่า “สุเทวฤๅษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ”

 

รูปปั้นปู่แสะ และ ย่าแสะ
 ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ในระมิงคนคร มียักษ์ ๓ ตน พ่อ แม่ ลูก ซึ่งมีเชื้อสายมาจากชนเผ่าลัวะ มีนิวาสสถานอยู่ที่หลังดอยคำ

         จากตำนานวัดดอยคำ เรียบเรียงโดย คุณสุทธวารี  สุวรรณภาชน์ พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้กล่าวว่าในยุคที่ชนเผ่าลัวะทั้งหลายแห่งระมิงคนคร กำลังประสบกับความเดือดร้อนอันเนื่องจากยักษ์ ๓ ตน ที่ดำรงชีพด้วยการกินเนื้อมนุษย์ พระพุทธองค์จึงทรงทราบด้วยญาณอันวิเศษของพระองค์ จึงได้ทรงเสด็จสู่ระมิงคนครเพื่อแสดงธรรมโปรดยักษ์ทั้ง ๓ ตน และบรรเทาความเดือดร้อนของชาวเมืองระมิงค์

         เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงนิวาสสถานของ ๓ ยักษ์ พ่อ แม่ ลูก ที่ดอยคำ  ทันทีที่ยักษ์ทั้งสามเห็นพระพุทธองค์มาถึง ก็หมายมั่นเตรียมจะจับกินเป็นอาหาร แต่พระพุทธองค์ทรงทราบถึงวิสัยของยักษ์ทั้งสามดี จึงแผ่พระเมตตาไปยังยักษ์ทั้งสามเหล่านั้น

ด้วยพระบารมีและ บุญญาธิการของพระองค์ ทำให้กระแสจิตของยักษ์ทั้งสามอ่อนลง และเข้ามาก้มลงกราบแทบพระบาทของพระพุทธองค์  และพระพุทธองค์จึงแสดงธรรมโปรดยักษ์ทั้งสาม ปรากฏว่ายักษ์ผู้เป็นลูกยอมปฏิบัติตามและสมาทานศีล ๕ ได้

ส่วนยักษ์จิคำและตาเขียวผู้เป็นพ่อแม่ ไม่สามารถจะรับศีล ๕ ได้ เพราะยังต้องยังชีพด้วยการฆ่ามนุษย์และสัตว์เป็นอาหาร และขออนุญาตกินเนื้อมนุษย์ปีละ ๒ ครั้ง  แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต จึงต่อรองขอกินเนื้อสัตว์แทน

 

อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี
 ส่วนยักษ์ผู้บุตรนั้นได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระองค์จึงทรงอนุญาตและได้แสดงธรรมให้ฟัง  ยักษ์ผู้บุตรนั้นอยู่ในสมเพศได้ไม่นาน ก็ขออนุญาตพระองค์ลาสิกขา และไปบวชเป็นฤๅษีถือศีลอยู่ที่หุบเขาอุจฉุบรรพต (ดอยสุเทพ) ชื่อ “สุเทวฤๅษี”

เมื่อยักษ์ผู้บุตร ได้ลาสิกขาออกมาและไปบวชเป็นพระฤๅษีอยู่หลังดอยสุเทพ ยักษ์ผู้เป็นพ่อชื่อ จิคำ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ปู่แสะ ก็ไปถือศีลดำรงชีพอยู่บริเวณใกล้ ๆ กับวัดฝายหิน เชิงดอยสุเทพ ส่วนยักษ์ผู้เป็นแม่ชื่อ ตาเขียว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่าแสะ ได้อยู่ดูแลรักษาถ้ำดอยคำและพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจนสิ้นชีวิต

 

 

ประเพณีเลี้ยงดง
 ประเพณีเลี้ยงดง  หมายถึงการเลี้ยง ผีปู่แสะย่าแสะ บรรพบุรุษของลัวะ โดยปกติจะจัดขึ้นที่บริเวณป่าเชิงเขาดอยคำเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ  โดยชาวบ้านจะช่วยกันบริจาคเงินสมทบ เป็นทุนจัดงาน

 

 

 

ในวันเช้าตรู่ของงานชาวบ้านจะพากันจูงควายดำที่มีเขาเพียงหู (ยาวเท่าหู) เข้าไปยังบริเวณพิธีในป่า ซึ่งชาวบ้านจะเรียกว่า“ดงหอ” เพื่อทำการ ฆ่าควายแล้วนำมาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ (ปู่แสะย่าแสะ)

 

 

 

 

เมื่อวิญญาณของ บรรพบุรุษเข้าสิงผู้ทำหน้าที่เข้าทรงแล้ว จิต (วิญญาณ) ของผู้เข้าทรงก็จะเปลี่ยนเป็นผีบรรพบุรุษทันที  โดยจะขอกินเนื้อและเลือดควายสด ๆ อย่างไม่ขยะแขยง  ประเพณีเลี้ยงดงนี้ ถือว่าเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวลัวะ

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
.ดังนั้นชาวลัวะในตำบลนี้ จึงจัดพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษทุกปี ๆ ละครั้ง ในวันจัดงานเลี้ยงดง บริเวณป่าจะเต็มไปด้วยผู้คนที่สนใจ และสื่อมวลชนเข้ามาดูและทำข่าวอย่างคับคั่งทุกปี  ชาวลัวะคิดว่าการอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีเลี้ยงดงนี้ จะทำให้พวกเขาโชคดีและมีความสุขตลอดไป

 

 

 

 


 

 

 

 

Credit: http://atcloud.com/stories/86442
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...