เมื่อสัตว์ทำผิดกฎหมายของคน?? โอ้พระเเจ้า!!!!!

 

 

"ความยุติธรรม บางครั้งก็เป็นความอยุติธรรมเช่นกัน"

 


 




        ประเพณี กฎหมายพิสดารของคนเรา ที่ตัดสิน ลงโทษ สัตว์นั้นมีมาช้านานแล้ว ถ้าจะสาวไปถึงเรื่องเก่าๆ คงจะเป็นตรากฎหมายในคัมภีร์ไบเบิลถือได้ว่าเป็นหลักฐานเก่าที่ถูกจารึกมาก ที่สุดแล้ว



ในพระคริสต์ธรรมเดิม หรือ "โอลด์ เทสตาเม้นท์" บทที่ว่าด้วยเอ็กโซโดระบุว่า


"ถ้า โคขวิดผู้ใดตาย จงเอาหินขว้างโคนั้นให้ตาย แล่เนื้อของมันอย่ากินมันเลย แต่เจ้าของนั้นหามีโทษไม่ หากโคนั้นเคยขวิดคนมาก่อน และมีผู้มาแจ้งความให้เจ้าของทราบ แต่เจ้าของมิได้กักขังมันไว้ มันจึงขวิดชายหญิงถึงตาย จงเอาหินขวางโคนั้นเสีย แล้วจึงลงโทษให้เจ้าของนั้นตายตกตามกันไปด้วย…"


ยังมีกฎหมายประกาศให้สัตว์อื่นๆ ให้ทราบอีก(ถ้าสัตว์นั้นทราบภาษาคนนะ) เช่น คศ.1864 รัฐ สภาแห่งเวิร์มส์ ออกกฎหมายประกาศว่า ผึ้งรังไหนออกมาไล่ต่อยทำร้ายมนุษย์นั้น ท่านให้จัดการรมควันทำลายรังที่ผึ้งตัวนั้นสังกัดอยู่ให้สิ้นซาก ผลคือกฎหมายนั้นจึงเป็นช่องว่างของอาชีพตีผึ้งเอาน้ำหวานโดยชอบธรรมเลย ฮ่าๆๆ



 

นี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง………..

 

 


                ฝรั่งเศสตอนคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักบุญเบอร์นาร์ด กำลังเทศน์ในโบสถ์อยู่นั้น

จู่ๆ มีแมลงวันฝูงหนึ่งมาร่วมฟังเทศน์ร่วมกับคนซะด้วยสิ แต่แทนที่จะสำรวม กับทำเสียงดังหึ่งๆ และเที่ยวตอมคนในโบสถ์ จนนักบุญเบอร์เนาร์ดเกิดอาการโมโห รำคาญใจอย่างยิ่ง ท่านเลยประกาศกลางที่ประชุมให้ตัดแมลงวันฝูงนั้นออกจากศาสนาในโบสถ์นั้น ทันที


 

เอาเข้าไป………..

สัตว์ อีกหลายชนิดที่เป็นจำเลยสู่ตราชั่งธรรมของมนุษย์อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ๆ ที่คนเราไม่รีรอลงโทษมันอย่างประณีตบรรจง เช่นกัน   


  ในปี ค.ศ.1639

ม้าตัวหนึ่งถูกตัดสินประหารในศาลแห่งหนึ่งในเมืองดียองข้อหาพยศสะบัดคนขี่จนกระเด็นตกจากหลังคอหักตายบนพื้น

 

 ในปี ค.ศ.1471


ไก่ ตัวหนึ่งถูกนำมาขึ้นศาลเป็นจำเลยฐานที่ไปไข่บนหลังคาบ้านที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คำตัดสินคือ ให้จัดการประหารฐาน "กระทำวิปริตผิดวิสัยไก่" แล้วเอาตัวมันไปย่างไฟด้วยการตรึงกางเขนก่อนนำไปฝัง เพราะถือว่า ไก่ตัวนี้อาจเป็นปีศาจจำแลงร่างมา……

              ในยุคกลางของยุโรปนั้นมีสัตว์จำนวนมากที่เดือดร้อนเพราะกฎหมายพอๆ กับคนที่ต้องเคร่งคัมภีร์ในสังคมเช่นกัน…

ปี 1394

หมู ตัวหนึ่งถูกตัดสินแขวนคอในมอร์มังดี ข้อหาไปกัดเด็กทารกคนหนึ่งตาย แถมเขมือบเด็กเป็นอาหารอีก จนชาวบ้านนำแม่หมูตัวหนึ่งกับลูกหมูอีก 6 ตัว ขึ้นศาล โดยตั้งข้อหาว่าเป็นอาชญากรรม ศาลตัดสินประหารชีวิตแค่แม่หมูตัวเดียว ส่วนลูกหมูอีก 6 ตัว นั้น ศาลสั่งไว้ชีวิต ปล่อยให้เจ้าของไปเลี้ยงต่อ เพราะถือว่าเป็นหมูเยาวชนมีอายุน้อย กระทำการรุมฆ่าคนตายเพราะแม่มันไม่ดี สอนลูกทำเกินกว่าเหตุ

                อย่างนี้ก็มี……..?!

      ปี ค.ศ.1519

ที่ เมืองสเตลวิโอ ทางเหนือของอิตาลี ศาลได้รับการยื่นฟ้องจากโจทย์กล่าวหาตัวตุ๋นฝูงหนึ่งเป็นจำเลยว่าเป็น อาชญากรรมระรานพืชผลในไร่นาของคน โดยการเที่ยวไชชอนอยู่ใต้ดิน คำตัดสินแรกของศาลคือให้ตุ่นเหล่านี้ปรากฏตัวต่อศาล สำแดงความสำนึกผิดในการกระทำของตน และขอขมาพร้อมกับทำทัณฑ์บนต่อศาลว่าหนหน้าจำเลยจะไม่ทำเช่นนี้อีก

                 แน่นอน ไม่มีตุ่นตัวไหนปรากฏตัวต่อศาลตามที่นัดไว้ ศาจจึงประกาศทำการพิจารณาคดีไปข้างเดียว(…….) ผลการตัดสินคือให้จำเลย(ตุ่น)อพยพครอบครัวทั้งหมดออกไปจากที่ของโจทก์ภายใน 14 วัน ที่ศาลให้เวลาย้ายบ้านตั้ง 14 วัน ก็เพราะว่า "จำเลยมีลูกเล็กเด็กแดงที่จะต้องเป็นภาระในการอพยพไปหาที่ทำกินใหม่ลำบากอยู่สักหน่อย"

                  ………………..เป็นคดีที่ต๊องจริงๆ

                  บางคดีที่สัตว์ทำผิดกฎหมายก็อุตสาห์มีคนเข้ามาเป็นทนายแก้ต่างกับพวกสัตว์อีก เช่น

   ค.ศ.1499

มี หมีป่าออกอาละวาดตามหมู่บ้านคนเยอรมันทางตอนใต้ แต่เมื่อขึ้นศาลมีอันต้องเลื่อนการพิจาณาคดีหนึ่งสัปดาห์ เพราะศาลต้องพิจารณาคดีว่าจะ ให้หมีตัวอื่นมานั่งเป็นคณะลูกขุนพิจารณาคดีโทษจำเลยหรือไม่………..

  ค.ศ.1521

หนู จำนวนหนึ่งทำลายข้าวบาร์เลย์ในไร่แห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อศาลออกหมายเรียกฝูงหนูมาปรากฏตัวพิจารณาคดีไต่สวน ปรากฏว่าเหล่าหนูไม่ปรากฏตัวต่อศาล(ของมันแน่อยู่แล้ว) ทำให้ทนายหัวแหลมชื่อบาร์โธโลมิว ชาสเซนี ออกมาแก้ตัวแทนเหล่าหนูแทน โดยอ้างว่าศาลมิได้ระบุให้แน่นอนว่าจำเลยลูกความของตนนั้น เป็นตัวไหนตัวไหนบ้าง เมื่อศาลได้ยินจึงออกหมายใหม่สั่งให้เรียกจำเลย(หนู)ทั้งหมดให้มาปรากฏตัว ซึ่งได้แก่บรรดาหนูที่อาศัยในละแวกนั้นทั้งบาง

                  แต่ ถึงยังไงจำเลย(หนู)ก็ไม่ปรากฏตัวต่อศาลสักตัว ฝ่ายทนายหนูจึงอ้างต่อศาลว่าที่ลูกความของตนไม่มาศาล เพราะถูกคุกคามโดยแมวฝ่ายโจทย์หรืออัยการ จึงขอให้อัยการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันต่อศาลว่าจำเลย(หู)จะปลอดภัยจากแมวของ ฝ่ายอัยการขณะมาที่ศาล แต่อัยการปฏิเสธวางหลักค้ำประกัน ทำให้คดีนี้ยุติในที่สุด

                 …………………..ต๊องพอๆ กัน

ค.ศ.1659

หนอน ผีเสื้อในอิตาลีจำนวนมาก ได้รับคำสั่งให้ปรากฏตัวต่อศาลในข้อหาบุกรุกทำลายทรัพย์สินชาวนา โดยศาลปิดหมายบอกกล่าวกับผีเสื้อตามต้นไม้ต้นหนึ่งในเขตหนึ่งๆ ที่มี 5 เขต ด้วยกัน ที่มีการฟ้องร้องว่าเกิดความเสียหาย โดยหมายศาลนั้นบอกถึงการตัดสินของศาลให้บรรดาหนอนผีเสื้อเหล่านี้ย้ายกลับไป ที่อยู่เดิมของตน ห้ามกินพืชไร่นาของชาวไร่ชาวนา

………………มันคงอ่านออกน่ะ


  ค.ศ.1709

ที่ เมืองมารายโฮในบราซิล อเมริกาใต้ ชุมชนบาทหลวงฟรานซิสร้องเรียนต่อศาลว่า พวกตนถูกรบกวนโดยปลวกที่กัดกินอาหารและเครื่องเรือน มีการออกหมายศาลเรียกปลวสกขึ้นต่อสู้ในศาล แน่นอนปลวกไม่มา คนที่เป็นทนายจึงอาสาว่าความแทนปลวก โดยเน้นให้ศาลเห็นใจปลวกที่เป็นสัตว์ขยันอดทน และมันอยู่ที่เดิมของมันอยู่ก่อนแล้วก่อนทีบาทหลวงตั้งถิ่นฐานอีก คดีนี้มีการพิจารณาอย่างยื้อเยื้อยาวนาน จนนั้นที่สุดศาลจึงมีคำสั่งให้ไกล่เกลี่ยกันเองในที่สุด

                   การ พิจารณาโทษลงโทษสัตว์ ก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อไม่นานมานี้(ปีไหนไม่ทราบหนังสือของคนเขียนหาย)ที่ศาลแห่งหนึ่งใน สวิตเซอร์แลนด์ ทำการตัดสินคดีฆาตกรรมรายหนึ่งที่มีชายคนหนึ่งกับหมาตัวหนึ่งตกเป็นจำเลย ศาลได้พิจารณาให้จำเลยคนจำคุกตลอดชีวิตฐานมีความผิด ส่วนหมาของจำเลยให้นำไปประหารเสียฐานเป็นตัวการให้โจทก์ตาย

                   กรรมของสัตว์จริงๆๆ

 

 

 


5 ส.ค. 53 เวลา 01:42 3,169 3 42
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...