แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ (Jack The Ripper) จอมชำแหละพิสดาร (ตอนที่ 3 จบ)

  

    จิตรกรเป็นฆาตกร!

                6 ธันวาคม พ.ศ.2544

                แพ ทริเซีย คอร์นเวลล์ นักเขียนนิยายอาชญา ชาวอเมริกัน ได้ให้สัมภาษณ์ตัวจริงของแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ จากหลักฐานทั้งหมดเธอที่รวบรวมมาอย่างยากลำบาก

                "จากการศึกษาของเดี้ยน  เดี้ยนมั่นใจว่า นาย วอลเต้อร์ ริช้าร์ด ซิคเกิร์ต คือแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ แน่นอนค่ะ  ฟันธง.........."


                ใครคือ วอลเต้อร์ ริชาร์ด ซิคเกิร์ต

                  วอลเต้อร์ ริชาร์ด ซิคเกิร์ต เกิดที่มิวนิค ในเยอรมัน 31 พฤษภาคม 1860 บิดาเป็นช่างวาดภาพประกอบลงในนิตรสาร

                ต่อมาครอบครัวของเขาก็ย้ายมาปักหลักที่กรุงลอนดอน

                พฤษภาคม  ซิ คเกิร์ต ได้เป็นจิตรกรอย่างเต็มตัว เมื่อได้จิตรกร ชาวอเมริกาชื่อ เจมส์ แม็คนีลล์ เป็นผู้สอน จนกระทั้งผลงานที่ถนัด คือการใช้แสงเงา ในใบหน้าของบุคคลทำให้มีลักษณะกรีดเฉือน

                ในด้านการงานถือว่าดี  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซิคเกิร์ต นำภาพเขาแสดงในงานหลายครั้งและเป็นอาจารย์สอนศิลปะในลอนดอน จนมีชื่อเสียงในกรงลอนดอน

                ใน ด้านชีวิตคู่ ถือว่าไม่ค่อยดีนัก เขาหย่ากับภรรยาคนแรก และภรรยาคนที่สองตายก่อนวัยอันควร แต่เขาก็ได้คู่ชีวิตอีกครั้งในชีวิตปั้นปลาย

                เขาเสียชีวิตที่เมืองบ๊าธในวันที่ 22 มกราคม

                เท่า ที่ดูจากชีวิตและประวัติของ ซิคเกิร์ต แล้ว ไม่เห็นเค้าใด ๆ ที่บอกว่า ซิคเกิร์ต ส่อแววเป็นฆาตกรตั้งแต่เด็กเลยถึงแม้เขาจะมีปัญหากับชีวิตบ้างในหน้าที่การ งานและผู้หญิง แต่เขาก็อดทนและแก้ไขได้จนมีชื่อเสียงและประสบผลสำเร็จในชีวิต ไม่มีลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น ว่า ซิคเกิร์ต คือแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์      

               

               ทำไมต้อง ซิคเกิร์ต

                 สาเหตุที่เขาถูกสงสัยเพราะงานเขียนของเขา มีหลายคนเชื่อว่างานเขียนของเขามีแรงบันดารใจจากแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์

                แต่ทำไมเขาต้องฆ่าโสเภณีทั้ง ๆ ที่เขามีทั้งชื่อเสียงและเงินตรา

                คำตอบคงอยู่ที่ ........................

                โจเซ้ฟ กอร์แมน ซิคเกิร์ต เขาอ้างว่าเป็นลูกชายของซิคเกิร์ตนักจิตรกร เขาบอกว่า.........

                "ก่อนที่พ่อจะเสียชีวิต(1942) พ่อได้สารภาพก่อนตายว่า พ่อรู้เรื่องการวางแผนฆ่าโสเภณีที่รู้เรื่องความลับของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิคเตอร์"

                เจ้า ชายอัลเบิร์ต วิคเตอร์ ชอบปลอมตัวท่องราตรีและชักชวนเขามาเที่ยวด้วย พวกเขาได้รู้จักกับหญิงสาวชื่อแอนนี่ เอลิซาเบธ เจ้าชายผกพันรักใคร่ได้ไม่นาน แอนนี่ก็ต้องท้อง และเมื่อรู้ถึงพระราชินี พระองค์ทรงพิโรธมาก และแยกสองคนออกจากกัน และลบชื่อของ แอนนี่ เอลิซาเบธ

                และแมรี่ เคลลี่ก็รู้ความลับนี้ ! และต่อมาเธอและเพื่อนำความลับนี้มาต่อรองเรียกเงินจากรัฐบาล

                ถ้าความลับนี้เปิดเผยต่อภายนอก เรื่องจะบานปลายยิ่งกว่ารัฐประหาร!

                เซอร์ กัลล์นายแพทย์ประจำพระองค์พร้อมกับจอห์น เน็ต คนขับม้าได้วางแผนสังหารพวกผู้หญิงปากหอยปากปูและสอนบทเรียนที่มีค่าว่า นี้คือผลการเป็นศัตรูกับรัฐบาล ทั้งสองได้สร้างแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ขึ้นมา และต่อมาได้ขอร้องให้ตำรวจเข้ามาช่วยกลบเกลื่อนอาชญากรรรมและให้ทำเป็นเอาหู เป็นตาไปไร่ระหว่างที่เกิดฆาตกรรรม

                ซิ คเกิร์ต รู้สึกผิดมากในการมีส่วนร่วมการฆาตกรรรมนี้ มันอัดอั้นจนบอกใครไม่ได้ เขาจึงระบายความลับทั้งหมดในงานเขียนที่โด่งดังหลายภาพของเขา

                และหลังจากนั้นหลายฝ่ายได้มีการตรวจสอบคำพูดของ โจเซ้ฟ กอร์แมน ซิคเกิร์ต ก็พบว่า

                มีผู้หญิงชื่อ แอนนี่ ครุก อาศัยอยู่ในช่วงเวลานี้จริงและเธอกำเนิดลูกไม่มีพ่อในช่วงเวลานี้จริง

                แต่ หลาย ๆ ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ จนกระทั้ง แพทริเซีย คอร์นเวลล์ นักเขียนนิยายอาชญา กระโดดเข้าร่วมพร้อมหลักฐานว่าเขาคือฆาตกรไว้ท์แซ็พเพล

                แต่หลักฐานทั้งหมดก็โต้กลับโดยผู้เชี่ยวชาญว่าไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่า ซิคเกิร์ต  คือ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์

                จน บัดนี้เวลาก็ล่วงเลยมานานนับศตวรรษ ปริศนาทั้งหลายก็ยังไม่อาจไขกระจ่างได้ ยังคงเป็นม่านหมอกอันดำมืดในอดีตของอังกฤษที่ ณ ครั้งหนึ่งเคยมีฆาตกรใจโฉดนาม แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ อาศัยอยู่ แม้ว่าแฟ้มคดีของแจ๊คนั้นจะถูกปิดไปเมื่อปี ค.ศ. 1892 และ วายร้ายคนนี้ก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของอังกฤษอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ยังคงเหลือทิ้งไว้แต่ปมตำนานอันน่าสยองขวัญและลึกลับที่ผู้คนยังคงเล่า ขานต่อกันมาจนถึงปัจจุบันพร้อมกับคำถามที่ว่า "ใครคือ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ?"

 

3 ส.ค. 53 เวลา 22:10 4,712 2 46
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...