อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

อุโมงค์รถไฟถ้ำขุนตาน

 

       อุโมงค์รถไฟถ้ำขุนตาน ชื่อนี้ไม่ค่อยแพร่หลาย แต่หลายท่านรู้จักชื่อถ้ำขุนตานเป็นอย่างดี  ถ้ำขุนตานไม่ได้เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่เกิดขึ้นโดยมนุษย์เพื่อใช้ในกิจการรถไฟ  ถ้ำขุนตานตั้งอยู่  ณ บ้านขุนตาน หมู่ที่ ๘ ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน  ห่างจากตัวจังหวัดลำพูนประมาณ ๔๐ กิโลเมตร  

              สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการดำเนินกิจการรถไฟในประเทศไทย ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยเริ่มเดินรถจากกรุงเทพฯ สู่ บางประอิน พระนครศรีอยุธยาต่อมาได้ขยายเส้นทางสู่ สถานีกรุงเก่าหรือพระนครศรีอยุธยาในราว พ.ศ. ๒๔๔๑ สถานีแก่งคอยสระบุรี และต่อมาได้มีการสร้างทางแยกจากเส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา  ที่สถานีชุมทางบ้านพาชี  สู่เส้นทางสายเหนือโดยสามารถเปิดเส้นทางถึงสถานีปากน้ำโพ นครสวรรค์ ในปีพ.ศ. ๒๔๔๘และในปีนั้นได้มีการสำรวจเพื่อเจาะอุโมงค์รถไฟทะลุผ่านเข้าไปในดอยงาช้างของเทือกเขาขุนตานที่เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางจากลำปางสู่ลำพูน  การสำรวจใช้เวลา ๒ ปี

             การเจาะอุโมงค์ขุนตานเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๕๐ โดยมีวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ มร.อีมิล ไอเซ่น โฮเฟ่อร์ (MRMEILEISENIOFER) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง มร.อีมิล ไอเซ่น โฮเฟ่อร์ ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๔๔๖  มีความผูกพันกับการเจาะและก่อสร้างอุโมงค์ขุนตานเป็นอย่างมากแม้ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๑ จะถูกส่งตัวกลับประเทศเยอรมนี แต่หลังสงครามสงบลง ก็กลับมาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยซึ่งหลังจากเสร็จงานเจาะอุโมงค์ ขุนตาน  ก็พำนักอยู่ในเมืองไทยทั้งครอบครัว และเสียชีวิตในเมืองไทย  ดังนั้น  จึงได้มีการนำอัฐิมาบรรจุไว้เป็นอนุสรณ์ ณ บริเวณปากอุโมงค์ขุนตาน ทางด้านทิศเหนือ

             บริเวณที่จะมีการสร้างทางรถไฟในยุคนั้นเป็นดินแดนทุรกันดารเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ  อยู่ในบริเวณป่าทึบและโขดเขาสูงตระหง่าน  การก่อสร้างจึงต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรอย่างยิ่งจากนครลำปางที่ป็นหัวงาน  การเดินทางสู่บริเวณก่อสร้างต้องใช้วิธีเดินเท้าหรือขี่ม้าไป  การขนเครื่องมือเครื่องใช้ และวัสดุในการก่อสร้างต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุกไปในพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่มาก  ส่วนที่เป็นบริเวณโขดเขาใช้วิธีชักลากด้วยรอก การขุดเจาะก็มีความลำบากยิ่ง  เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรง มีไม่เพียงพอมักต้องใช้แรงคนเป็นส่วนใหญ่กรรมวิธีในการขุดเจาะเซาะดิน และหินออกมาเพื่อให้เกิดเป็นอุโมงค์นั้น เริ่มด้วยการเจาะรูเล็กๆเข้าไปก่อนโดยใช้สว่านชอนไชหรือใช้แรงคนตอกสกัดเมื่อมีรูลึกเข้าไป ตามความต้องการแล้วจึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ ฝังเข้าไปในรูนั้น แล้วจึงสอดใส่แก๊ปเข้าไปให้ทำหน้าที่จุดระเบิด  แก๊ปนี้มีสายชนวนต่อยาวออกไปเพื่อความปลอดภัยของคนจุดชนวนระเบิด การต่อแก๊ปเข้ากับสายชนวน ใช้วิธีเอาคีมบีบให้ติดกันซึ่งมักมีปัญหาบ่อยๆเพราะความมักง่ายของคนงานคือแทนที่จะเสียเวลารอคีมที่มีอยู่จำนวนจำกัดเพื่อใช้หนีบสายชนวนให้ติดกับแก๊ปคนงานมักจะนิยมใช้คีมธรรมชาติคือฟันในปากแทนคีมแก๊ปที่ระเบิดโป้งป้างขึ้นในปากเป็นประจำอาจจะทำให้คนงานถึงกับล้มตายเพียงไม่กี่ราย  แต่ว่ากันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนงานสร้างอุโมงค์ขุนตานจำนวนไม่น้อยฟันหลอหมดทั้งปาก

              ในครั้งนั้น การขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานใช้วิธีทันสมัยเช่นที่การเจาะอุโมงค์ใหญ่ๆในปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ กล่าวคือ มีการเจาะเป็นสองช่องอยู่ข้างบนและข้างล่างเพื่อความสะดวกในการขนดินและหินออกจากอุโมงค์ และทำการขุดจากปลายอุโมงค์ทั้งสองข้างเข้าไปบรรจบกันตรงกลางซึ่งต้องมีการคำนวณ อย่างแม่นยำเพื่อให้บรรจบกันพอดี  สำหรับหินที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ไม่สะดวกในการระเบิดให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ก็ใช้วิธีเอาไฟสุมให้ก้อนหินร้อนจัดแล้วราดน้ำลงไป ตามรอยที่ต้องการหินนั้นก็จะแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ เมื่อขุดเจาะลึกๆ เข้าไปไม่มีอากาศหายใจเพียงพอก็มีการสูบอากาศจากภายนอกเข้าไปช่วย ในการหายใจภายในอุโมงค์ การขนดินและหินที่ขุดเจาะออกมานอกอุโมงค์ส่วนใหญ่ใช้แรงคนขนออกมาเพราะเป็นอุโมงค์ที่มีความลึกไม่มากนักแต่ก็เป็นภาระอันหนักมิใช้น้อยการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานต้องใช้เวลาถึง ๘ ปี จึงทะลุถึงกันได้ในป ีพ.ศ. ๒๔๕๘ ระหว่างนั้นมีปริมาณหินที่ขุดเจาะขนออกมาทั้งสิ้นกว่า ๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรออกมาถมลำห้วยบริเวณปากถ้ำจนกลายเป็นที่ตั้งของตัวสถานีรถไฟขุนตานที่ราบเรียบในปัจจุบัน

  มีขบวนรถผ่าน หรือ จอด ดังนี้

เที่ยวขึ้น

ขบวนรถ

ต้นทาง - ปลายทาง

ต้นทางออก

เวลาเข้า-ออก

ปลายทางถึง

เร็ว 109

กรุงเทพ - เชียงใหม่

14.30

03.44

05.00

ด่วนพิเศษ 1 (นครพิงค์)

กรุงเทพ - เชียงใหม่

18.00

05.18

06.30

ด่วนพิเศษ 11 (ดีเซลรางปรับอากาศ)

กรุงเทพ - เชียงใหม่

19.20

-

07.30

ด่วนพิเศษ 13

กรุงเทพ - เชียงใหม่

19.35

08.06

09.20

ด่วน 51

กรุงเทพ - เชียงใหม่

22.00

11.11

12.25

ท้องถิ่น 407

นครสวรรค์ - เชียงใหม่

05.00

13.33

14.45

เร็ว 101

กรุงเทพ - เชียงใหม่

05.50

18.36

19.45

ด่วนพิเศษ 9 (ดีเซลรางปรับอากาศ)

กรุงเทพ - เชียงใหม่

08.30

-

20.20

Credit: http://supphakitpotaset.clipmass.com
27 ก.ค. 53 เวลา 11:48 7,236 3 42
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...