เริ่มกันอันแรก The UAE pavilion ออกแบบโดย Santiago Calatrava คล้ายนกเหยี่ยว ทำจาก คาบอน ไฟเบอร์
ต่อกันด้วยของประเทศ Iran ออกแบบโดย Shift Process Practice เพื่อสื่อถึงงานฝีมือยอดเยี่ยมล้อตาม ตามประเพณี และ วัฒนธรรม ของประเทศ
สำหรับของสหราชอาณาจักร UK ออกแบบโดย Es Devlin Studio เป็นการเดินทางสู่ UK ในอวกาศ และ ปัญญาประดิษฐ์
เครือข่ายแท่งอลูมิเนียมแขวคล้ายเมฆ บนท่อนซุง ของออสเตรเลีย ออกแบบโดย bureau^proberts ด้านในเต็มไปด้วย วัฒนธรรม และ นวัตกรรม กว่า 60,000 ปีของประเทศออสเตรเลีย
บูธแหวกแนวจากประเทศ ปากีสถาน ออกแบบโดย Al Jabal Engineering เต็มไปด้วยกำแพงแห่งสีสรร ความงามตามฤดูกาลเพื่อที่จะสื่อถึงการพบประสบการณ์ใหม่ๆ ได้จากเประเทศนี้ นักออกแบบ Rashid Rana ได้นำเสนอได้ครอบคลุมถึง ประเพณีดั้งเดิม และ ประวัติศาสตร์ของประเทศได้เป็นอย่างดี
อันนี้อย่างงามจากประเทศรัสเซีย ออกแบบโดย Tchoban SPEECH เป็นโดมขนาดยักษ์ รายล้อมด้วยสายไฟที่เต็มไปด้วยสีสรร
ความลงตัวสไตล์อาหรับ และ ลวดลายญี่ปุ่น (Japanese Asanoha patterns) จากประเทศ ญี่ปุ่นสื่อถึงวัฒนธรรมผสานระหว่าง ญี่ปุ่น และ ตะวันออกกลางได้เป็นอย่างดี
มาดูของสวิสกันบ้าง ดูแล้วรู้เลยว่าเป็นของสวิส ทั้งสีบูธ และ รูปทรงหลายมิติที่มีธงชาติติดอยู่ ออกแบบโดย architects OOS ได้แสดงถึง ทัศนียภาพ ของประเทศอันยอดเยี่ยม
สเปนก็ไม่ยอมน้อยหน้า กับออกแบบโดยใช้รูปทรงธรรมดา มาจัดเรียงอย่างสวยงาม แฝงรายละเอียดมากมาย ออกแบบโดย Amann-Canovas-Maruri ออกแบบให้เป็นรูปกรวย มีความเชื่อมโยงกับประเทศอาหรับ
บูธที่ออกแบบโดย สถาปนิกนาม Marco Pestalozza นี้ เป็นของประเทศคูเวต แสดงถึง Landscape ของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยมีหอกักเก็บน้ำ เพื่อสื่อถึงอนาคตของประเทศที่อุดมสมบูรณ์
ดูรู้เลยว่าเป็นของประเทศ เยอรมัน ในธีม "Campus Germany" คล้ายกับหมวกบัณฑิตจบการศึกษาตอนจบรับปริญญาออกแบบโดย Facts And Fiction and LAVA
บูธของ Baden-Württemberg เป็นรัฐนึงอยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมัน เป็นบูธเดียวของรัฐ ที่ไม่ได้เป็นประเทศ สร้างโดย NÜSSLI Adunic
Egypt ก็ต้องนึกถึงปิรามิด ซึ่งถูกนำมาใช้ในการออกแบบด้วย บูธนี้ได้รับการออกแบบโดย Egyptian Hazem Hamada
ประเทศ Saudi Arabia ออกแบบโดย Boris Micka เป็นบูธใหญ่อันดับ 2 ของงาน รองจากของประเทศ UAE เป็น เพิงเชิดพร้อมกับรูปทรงสี่เหลี่ยม มีชื่อเรียกว่า "Heritage" บูธนี้ได้รับรางวัล the LEED Platinum Certificate ด้วย
มาถึงอันสุดท้ายที่นำมาให้ดูนั้นไม่ได้เป็นบูธของประเทศอะไรเลย แต่งานออกแบบจัดว่าเยี่ยมยอด the Al Wasl Plaza เป็นหัวใจของงาน Expo 2020 ปีนี้เลย โดยชื่อ Al Wasl ที่ใช้นั้นเป็นชื้่อในประวัติศาสตร์ของ Dubai มีความหมายว่า "connection" ทำจากเหล็กรวมได้ความยาวทั้งสิ้น 13.6 กม. ออกแบบโดย Adrian Smith + Gordon Gill Architecture
ปิดท้ายกันด้วยของประเทศไทย มีการนำเสนออาคารแสดงประเทศไทย หรือ “อาคารศาลาไทย” (Thailand Pavilion) ที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “การขับเคลื่อนสู่อนาคต” (Mobility for the Future) โดยมี “บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ” เป็นผู้คว้าสิทธิ์บริหาร อาคารศาลาไทย ด้วยมูลค่าการจัดงานทั้งสิ้น 887 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานกว่า 25 ล้านคน