ลูกช้างไทยถูกทารุณกรรม
เพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว
เหตุใดลูกช้างเชือกนี้
ส่งเสียงกรีดร้อง ?.......
ช้างพังเชือกนี้ชื่อ
พังเหมี่ยว มีอายุเพียง 3
ปีเท่านั้น
แต่ถูกพรากมาจากแม่ของเธอ
ชาวบ้านดึงลูกช้างที่กำลังดิ้นรนให้เข้าไปในลังไม้เล็ก
ๆ
ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวลูกช้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ขาหน้าและขาหลังของเธอถูกมัดด้วยเชือกเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหว
ลังไม้มีขนาดเล็กมากเธอจึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
และเธอจะถูกขังอยู่ในลังไม้นี้เป็นเวลานานอีกหลายวัน
โดยไม่ได้กินอาหาร ดื่มน้ำ
หรือแม้แต่นอนหลับ
ชาวบ้านผลัดเปลี่ยนกันเฆี่ยนตีเธอบนขาทั้งสองข้าง
บนเนื้ออ่อนระหว่างเล็บเท้า
และทั่วร่างกายอย่างไม่ปราณี
ภาพนี้จะเห็นชายคนหนึ่งฟันคมตะขอจมลึกลงในศรีษะลูกช้างพัง
ก่อนแทงไม้แหลมลงในบาดแผลนั้น
ความเจ็บปวดสุดที่เธอจะทนทานได้
เธอรู้สึกอ่อนเพลียอย่างที่สุด
เนื้อตัวเต็มไปด้วยเลือดและรู้สึกสับสน
คุณเพิ่งได้เห็นพิธีกรรม
"ผ่าจ้าน"
ซึ่งเป็นพิธีกรรมฝึกหัดช้างในประเทศไทย
เพื่อที่จะนำช้างมาใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
โดยปกติแล้ว
พรานที่ล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมายจะฆ่าแม่ช้างเพื่อขโมยและนำลูกช้างมาฝึกให้เชื่อง
ตามคำกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยว่า
“
พรานล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมายจำเป็นต้องฆ่าแม่ช้าง
เพราะช้างมีความผูกพันทางจิตใจที่แน่นแฟ้นและไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ลูกของตน …
ลูกช้างจะไม่ตามช้างอื่นๆ
ไปกับฝูงแต่ยังคงดูดนมแม่ของตนที่ตายไปแล้ว
”
ทารุณกรรมที่น่าสะพรึงกลัวที่กระทำกันอยู่เป็นประจำและแพร่หลายใน
ค่าย “ ฝึกหัด ” ลับต่างๆ
ในประเทศไทย
ลูกช้างที่ยังไม่อดนมแม่เหล่านี้
ได้ถูกลากไปจากแม่ของตน
ซึ่งทำให้ต้องดิ้นรนและกรีดร้อง
ลูกช้างได้ถูก
นำมากักขังไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว
ถูกเฆี่ยนตีอย่างเมามัน
และถูกตอกด้วยตะปูเป็นเวลารั้งละหลายๆ
วัน พิธีการ “ ฝึกหัด ”
เหล่านี้ทำให้ลูกช้างได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส
รวมทั้งความชอกช้ำทางจิตใจ
หรือบางครั้งทำให้ถึงแก่ความตาย
คำกล่าวของนักท่องเที่ยวรายหนึ่งที่เพิ่งไปประเทศไทยมารายงานว่า:
สิ่งที่เราได้เห็นมาจากบางท้องที่เป็นภาพที่สะเทือนใจ
และการทารุณต่อช้างสามารถเห็นได้ชัด
ช้างที่ " ไม่ได้ใช้งาน"
จะถูกล่ามโซ่ไว้กลางแสงแดดที่ร้อนจัด
ซึ่งไม่มีร่มเงาให้ใช้กำบังแต่อย่างใด
ช้างพังที่กำลังตั้งท้องเชือกหนึ่งถูกล่ามด้วยโซ่สั้นๆ
ในกลางแจ้งที่ไม่มีร่มเงา
เพื่อช้างเชือกนั้นจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ในค่ายช้างแห่งหนึ่งเราสามารถเห็นประจักษ์แก่ตา
ที่ผู้ฝึกช้างได้เฆี่ยนตีช้างของเขาอย่างเหี้ยมโหด
ผลก็คือ
ช้างเชือกนั้นมีเลือดไหลออกมาจากบาดแผลบนศีรษะ
แห่ง อีกแห่งหนึ่งที่บริเวณหู
ที่ค่ายช้างอีกแห่งหนึ่ง
มีช้างหลายเชือกที่มีบาดแผลสดๆ
บนศีรษะ และ/หรือ ที่หู
เรารู้สึกเศร้าสลดใจเมื่อเห็นวิธีการที่ผู้ฝึกช้างปฏิบัติต่อช้างของตน
ทำไมต้องล่าลูกช้างป่า ?
ขบวนการล่าช้างป่าเริ่มต้นจากนายทุนมีใบสั่งซื้อไปยังพรานล่าช้าง
ข้อมูลจากกองทุนสัตว์ป่าโลก
รายได้จากการล่าลูกช้างป่าอยู่ที่
20,000 บาทต่อตัว
เพื่อนำมาขายในราคาตัวละ 100,000 -
150,000 บาท
แล้วแต่ความสดของลูกช้างป่าตัวนั้นๆ
กรณีที่ช้างบาดเจ็บจะได้ราคาน้อยลงไปอีก
เมื่อล่าได้แล้วก็นำมาขายต่อยังตลาดหลายๆ
กลุ่ม
โดยเฉพาะกลุ่มนายทุนเจ้าของปางช้าง
โรงแรม
หรือรีสอร์ท ซึ่งให้ราคาสูง
และสั่งเป็นจำนวนมากกว่าตลาดกลุ่มอื่น
กฤษฎาให้ข้อมูลว่า
บริเวณที่มีการนำลูกช้างป่ามาขายอยู่แถบตะวันตก
เริ่มแต่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ลงไป
อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ,
อ.เมือง ประจวบคีรีขันธ์ ,
อ.เมือง ระนอง
และแถบชายแดนไทย-มาเลเซีย
อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
แต่แหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่ด่านสิงขร
อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
โดยผู้รับซื้อช้างนอกเหนือจากโรงแรม
ปางช้างเอกชนชื่อดังซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
ยังมีกลุ่มฝึกช้าง จ.ชัยภูมิ
เพื่อนำไปฝึกแสดงละครช้างเร่
หรือกลุ่มช้าง จ.สุรินทร์
บุรีรัมย์ นำไปเดินเร่ร่อน
โดยนายทุนส่วนมากเป็นนักการเมือง
, นักการเมืองท้องถิ่น ,
หัวคะแนนนักการเมือง
เป็นผู้ปล่อยเงินกู้โดยใช้บ้าน
และที่ดินเป็นประกัน
ช้างเร่ร่อน 90%
เป็นของนายทุน
แล้วนำมาปล่อยให้ควาญเช่าตัวละ
4 - 5 หมื่นบาท
การให้อาหารช้างเร่ร่อนไม่ได้ช่วยให้ช้างอยู่รอด
แต่เป็นการช่วยให้นายทุนอยู่ดีกินดี
และควาญช้างก็ไม่ต้องทำงานหนักเพื่อปากท้อง
แล้วท้ายที่สุดมันยังเป็นการช่วยกันทรมานช้างอย่างไม่รู้สึกตัว
ใครจะคิดว่าความรู้สึกรักสงสารอันละเอียดอ่อนของมนุษย์
จะกลายเป็นหนทางหากินของนายทุน
ทั้งยังเป็นการลดจำนวนสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยอย่างไม่รู้ตัว