https://www.catdumb.tv/burn-to-be-339/
กลายเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์งานวิจัยน่ารู้สำหรับสาวๆ เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพบริเวณจุดซ่อนเร้นที่สอดคล้องกับการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก… นั่นก็เพราะในงานวิจัยล่าสุดนี้พบว่า การที่มีคนทำออรัลเซ็กส์ให้ (เรียกทั่วๆ ไปก็คือ การเบิร์น การลงลิ้น การเลียจิ๋ม นั่นแหละ) อาจทำให้เกิดโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้!!
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Bacterial Vaginosis (BV) หรือ “โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย” กันก่อนดีกว่า… โดยปกติแล้ว บริเวณช่องคลอดของผู้หญิงจะมีแบคทีเรียที่ดีที่เรียกว่า Lactobacilli อยู่ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยให้ช่องคลอดมีภาวะเป็นกรด มีค่า pH ต่ำ
แต่บางครั้งค่าความสมดุลก็อาจลดลง ส่งผลให้แบคทีเรียชนิดอื่นเติบโต และอาจนำไปสู่การเป็นโรค BV ได้ จากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การใส่ห่วงอนามัย หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอด เป็นต้น
BV ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
แม้ว่าอาการของโรคจะไม่รุนแรง ส่วนมากคือทำให้เกิดการตกขาวผิดปกติ หรือทำให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์คล้ายกลิ่นคาวปลา ถึงอย่างนั้นมันก็อาจส่งผลให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นที่จะได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรืออาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอื่นๆ ตามมาได้ด้วย
หากใครรู้สึกว่าตัวเองมีอาการของโรคดังกล่าว จึงควรปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
แล้วโรค BV มาเกี่ยวข้องกับการออรัลเซ็กส์ได้อย่างไร?
วารสาร PLOS Biology ได้ตีพิมพ์งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่พบว่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรคเหงือกและคราบหินปูนในช่องปาก อาจทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค BV ได้ ดอกเตอร์ Amanda L. Lewis หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงกันของการทำออรัลเซ็กส์ในผู้หญิง กับการเกิดโรค BV
จากการทดลองในตัวอย่างช่องคลอดของมนุษย์และในหนูทดลอง จึงพบว่าแบคทีเรียในช่องปากที่ชื่อ Fusobacterium Nucleatum สามารถช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค BV ได้
กล่าวคือ การเลียจิ๋มอาจทำให้เกิดโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มันก็ยังคงเป็นแค่ความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเลียแล้วต้องเป็นโรคเสมอไป ทั้งนี้ทางทีมนักวิจัยก็จะทำการศึกษาหาสาเหตุเบื้องลึกของการเกิดโรคที่ว่านี้ต่อไป
ที่มา. https://journals.plos.org/plosbiology/article?id=10.1371/journal.pbio.3000788