7 สิ่งอันตรายในเทพนิยาย ที่ชี้นำเด็กไปสู่แนวคิดผิด ๆ ในสังคม

https://petmaya.com/7-dangerous-messages-in-fairy-tales

เรื่องราวในเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านมักแฝงข้อความบางอย่างไว้ให้เราได้ขบคิดกัน นอกจากเรื่องราวที่สวยงามและภาพการ์ตูนแสนน่ารัก คุณอาจไม่เคยสงสัยมาก่อนว่า ชาร์ล แปโร ผู้เขียนเรื่องซินเดอเรลล่า ได้แต่งเรื่องนี้ไว้โดยเแฝงแง่มุมในตอนจบด้วยกัน 2 รูปแบบ หนึ่งคือแสดงให้เห็นว่าความดีสำคัญกว่ารูปลักษณ์ภายนอก และสองคือแรงผลักดันและความฉลาดคือสิ่งสำคัญ แต่คุณจำเป็นต้องมีแม่ทูนหัวหรือพ่อทูนหัวไว้ช่วยคุณในการใช้ชีวิต ซึ่งอาจจะสื่อถึงพลังของเครือข่ายและสัมพันธภาพที่ยิ่งใหญ่กว่าเวทมนตร์ใด ๆ 

แต่ในทางกลับกัน เทพนิยายมากมายหลายเรื่องก็มีส่วนชี้นำสิ่งผิด ๆ ให้กับเด็ก โดยที่ผู้ใหญ่อย่างเราเองไม่เคยสังเกตมาก่อน ส่วนจะมีอะไรบ้าง วันนี้เ่พชรมายาขอพาทุกท่านไปชมกัน

 

1. การเป็นคนดีไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นแม่บ้าน 

                 

ใช่แล้ว ข้อความนี้สามารถเห็นได้ชัดในนิทานเรื่องสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ซินเดอเรลล่า และโฉมงามกับเจ้าชายอสูร ในนิทานมักบอกเล่าถึงธรรมเนียมของตัวละครในเทพนิยาย ว่าการที่ทำงานบ้านหมายถึงการทำดี และตัวละครที่ไม่ดีคือคนที่ทำอะไรไม่เป็น มันกลายเป็นค่านิยมผิด ๆ ที่กำหนดว่าผู้หญิงที่ดีต้องสนใจในงานบ้านเป็นหลัก 

2. การแต่งงานไม่ใช่รางวัลสูงสุดของชีวิต

                   

เรื่องราวในเทพนิยายมักเรียงฉากสำคัญไว้ดังนี้: “มีปัญหา — ผจญภัย — ได้รางวัล” 

รางวัลสำหรับพระเอกคือความรักที่สมหวัง ความยุติธรรม ยศฐาบรรดาศักดิ์ หรือความร่ำรวย ในขณะนางเอกมักจบลงที่การแต่งงาน ที่คือการชี้นำให้เด็กผู้หญิงหลายคนมีเป้าหมายสูงสุดในชีวิตก็คือ “การแต่งงาน” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การแต่งงานเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของชีวิตคู่เท่านั้น 

3. บางครั้งตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

                      

เคียรา ไนท์ลีย์ เคยสารภาพกับนักข่าวว่า เธอปกป้องลูกสาวโดยไม่ให้ลูกของเธออ่านและดูเทพนิยายบางเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหญิง โดยเธอให้เหตุผลว่า ตัวละครในเรื่องไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง และเอาแต่เฝ้ารอให้ผู้ชายและเวทมนตร์วิเศษมาช่วยจากปัญหา ตัวอย่างเช่นซินเดอเรลล่าที่รับใช้แม่เลี้ยงในบ้านของตัวเธอเอง ไม่เคยแม้แต่จะยืนหยัดต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เธอโชคดีที่ได้นางฟ้าแม่ทูนหัวมาช่วยไว้ แต่ในชีวิตจริงเราจะไปหานางฟ้าจากไหนกัน เคียรากล่าวเสริมว่าเธอให้ลูกสาวดูเรื่อง Moana และ Frozen 

4. มีแต่คุณเท่านั้นที่กำหนดคนที่จะมาจุมพิตคุณได้

                    

นักแสดงสาว คริสเทน เบลล์ บอกว่า มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคุยกับลูกสาวเธอถึงตอนจบของสโนวไวท์ สำหรับเธอมันเป็นเรื่องแปลกมากที่เจ้าชายจะไปจุมพิตสโนไวท์ที่อยู่ในสถานะไร้การป้องกันตัวอย่างสิ้นเชิง มันเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่งและลูกของเธอรวมทั้งเด็กสาวคนอื่นควรคำนึงถึงเรื่องนี้ โดยเฉพาะสโนไวท์ที่มีอายุเพียงแค่ 14 ปีเท่านั้น 

5. ถ้าไม่มีใครได้ยินคุณ ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีเสียง 

                           

ในเรื่อง Little Mermaid แอเรียลยอมสละทุกสิ่งและเสี่ยงภัยอันตรายทุกทางเพื่อไปหาเจ้าชายที่เธอเพิ่งเห็นเพียงสองสามครั้ง ซึ่งในต้นฉบับของเทพนิยายเรื่องนี้ แอเรียลเองก็มีจุดจบอันแสนเศร้าอีกด้วย 

ในเรื่องนี้ นางเงือกน้อยยอมสละเสียงของตัวเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแสดงความคิดและปัญญา เพื่อเอาชนะใจของเจ้าชาย ซึ่งมันไม่ใช่พฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสาวที่จะพึงกระทำ 

6. เด็กผู้หญิงจะเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำลง

                 

มีการศึกษาที่พบว่าเด็กสาวที่ชอบดูการ์ตูนเกี่ยวกับเจ้าหญิงมักเป็นคนไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่อโตขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ใคร ๆ ก็อยากเป็นตัวละครที่ตัวเองใฝ่ฝัน แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นเหมือนเจ้าหญิงในเทพนิยายที่ถูกแต่งขึ้น แม้เด็กสาวจะต้องดูแลเสริมแต่งตัวเองมากมายแค่ไหนก็ตาม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เด็กผู้หญิงเหล่านี้จะเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำลง 

7. รูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าใครเป็นคนดีหรือคนเลว

                            

ในนิทาน ตัวร้ายมักมีรูปโฉมที่อัปลักษณ์และน่ากลัว ซึ่งแตกต่างตัวจากตัวละครเอกเช่นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงอย่างมาก นี่คือการชี้นำที่ไม่ถูกต้องในสังคม ในซินเดอเรลล่าฉบับพี่น้องกริมม์ หน้าตาของพี่สาวต่างมารดาของเธอเป็นคนหน้าตาสวยงามแต่มีนิสัยชั่วร้ายแฝงไว้ ซึ่งมันแตกต่างจากเวอร์ชั่นในเรารับชมในหน้าจอ เรื่องนี้ทำให้นักจิตวิทยาเป็นห่วงว่า การ์ตูนเหล่านี้จะมีอิทธิพลชี้นำเด็กไปในทางที่ผิด โดยสรุปแค่ว่า คนหน้าตาไม่ดี พิกลพิการคือคนไม่ดี และยกย่องคนสวยหล่อแทน 

แล้วการ์ตูนเรื่องไหนที่เรียกว่า “ปลอดภัย” 

การ์ตูนถูกสร้างมาเพื่อความบันเทิง และสอนเด็กให้รู้จักการมีเพื่อน ช่วยผู้อ่อนแอ ให้ความรัก ไม่ยอมแพ้และสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องราวในสังคม ชีวิต รวมไปถึงความเข้าใจในพฤติกรรมของตัวละคร มันควรไม่มีการชี้นำอะไรที่ผิดเพี้ยนจากชีวิตจริงถึงรูปร่างหน้าตารวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต การ์ตูนด้านล่างมีเนื้อหาที่ค่อนข้างเป็นกลางและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่เราอยากแนะนำให้เด็กได้ดู ได้แก่ 

Finding Dory [6+], Moana [6+], Kung Fu Panda [0+], Zootopia [6+], The Dog Who Stopped the War [6+], Song of the Sea [6+], Toy Story [6+], WALL·E [0+], Inside Out [6+], Coco [12+] 

แล้วคุณเห็นด้วยกับเหตุผลด้านบนหรือไม่ ที่เทพนิยายมีผลกับชีวิตเราในทางที่ผิดเพี้ยน แล้วคุณชอบเทพนิยายหรือนิทานเรื่องไหน บอกเราได้ในคอมเมนต์ 

ที่มา. https://brightside.me/wonder-films/7-dangerous-messages-in-popular-fairy-tales-and-ways-to-protect-your-kids-from-them-797575/

 

 

 

 

 

 

 

 

Credit: https://brightside.me/wonder-films/7-dangerous-messages-in-popular-fairy-tales-and-ways-to-protect-your-kids-from-them-797575/
#การ์ตูน
TheBookvariety
เด็กกองถ่าย
14 มิ.ย. 63 เวลา 12:34 719
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...