ทั้งเย็น....ทั้งแข็ง

 

 
 
มีชาวจีนชื่อ ไซซิง เปิดเผยเรื่องราวของการทำความเย็นว่า มีมาตั้งแต่ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้กล่าวถึงการเก็บน้ำแข็งไว้ห้อง ชาวกรีกและชาวโรมัน ได้รู้จักการนำหิมะมาอัดให้แน่นและหุ้มฉนวนที่ทำจากหญ้า ดิน และมูลสัตว์ ไพนี่และเอลเดอร์ ยังได้พูดถึงการเจ็บป่วยเมื่อได้ดื่มน้ำเย็น และจักรพรรดิอิเนโรได้กล่าวถึงการทำเครื่องดื่มแช่เย็น ชาวอียิปต์ และเอสโทเนียนส์รู้จักการทำน้ำแข็ง โดยใช้น้ำใส่ภาชนะแล้วนำไปวางไว้กลางแจ้งในคืนที่อากาศเย็นและท้องฟ้าแจ่มใส น้ำในภาชนะจะคายความร้อนโดยการแผ่รังสีไปยังบริเวณรอบๆ จนอุณหภูมิน้ำต่ำลงถึงจุดเยือกแข็ง

 

คริสต์ศักราช 1806 ชาวอเมริกันชื่อ เฟรอเดอริกทรูดอร์ ได้มีการบรรทุกน้ำแข็งที่้เกิดขึ้นตามธรรมชาติลงเรือจำนวน 130 ตันเพื่อส่งขายยังหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แต่น้ำแข็งได้ละลายเป็นจำนวนมาก เพราะว่าไม่รู้จักวิธีการเก็บน้ำแข็ง เมื่อไปถึงหมู่บ้านที่เกาะอินเดียตะวันตก ทรูดอร์ได้ทำไอศกรีมขาย ทำให้เป็นที่แตกตื่นกันมาก แต่ว่าทรูดอร์ก็ประสบกับการขาดทุนไปเป็นจำนวนมาก เพราะว่าเขายังไม่รู้จักการเก็บน้ำแข็งนั้นเอง

 

ต่อมาคริสต์ศักราช 1849 ทรูดอร์ได้ขยายอุตสาหกรรมการผลิตน้ำแข็ง โดยส่งน้ำแข็งออกขายยังหลายประเทศ เช่น อเมริกาใต้ เปอร์เชีย หมู่เกาะอินเดีย เป็นต้น เขาได้สร้างที่เก็บน้ำแข็งโดยขี้เลื่อยของต้นสนหุ้มท่อไม่ให้น้ำแข็งละลาย ทำให้เขามีกำไรเป็นจำนวนมาก เขาส่งน้ำแข็งขายถึง 150000ตัน และปี ค.ศ. 1864 เขาได้ส่งน้ำแข็งไปขายรวมทั้งสิ้น 53 ประเทศ เขาได้ล้มเลิกกิจการไปเมื่อมีการจัดตั้งโรงงานอุสาหรรมน้ำแข็งขึ้น

 

ค.ศ. 1790 โทมัส ฮาริสและจอห์น ลอง ได้มีการจดทะเบียนเครื่องทำความเย็นเป็นเครื่องแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ และอีก 3 ปีต่อมา จอคอม เปอร์กิ้น ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นชนิดอัดไอเป็นเครื่องแรก โดยที่ตัวเครื่องอัด ( COMPRESSOR) ใช้มือโยก ใช้น้ำหล่อเย็นที่เครื่องควบแน่น และใช้ลิ้นแบบถ่วงน้ำหนักเป็นตัวควบคุมการไหลของสารทำความเย็น และใช้สารทำความเย็นชนิด อีเทอร์

 

ค.ศ. 1851 ดร. จอห์น กอรี่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องทำน้ำแข็ง โดยมีการใช้อากาศเป็นสารทำความเย็น แต่ก็ประสบปัญหามากมาย และที่อุณหภูมิสูงยังได้เกิดระเบิดอีกด้วย ศาสตราจารย์ เอซี ทวินนิ่ง ชาวอเมริกัน ได้มีการปรับปรุงโดยใช้ซัลฟูริกอีเทอร์ และประสบความสำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1853 โดยดร. เจม ฮาริสัน ชาวออสเตรเลียเมื่อปี 1860 ได้ติดตั้งเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่สุดเป็นเครื่องแรกของโลก

 

 

 

 

    น้ำแข็งเข้ามาในประเทศไทย

 

 

  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินเมล์รับส่งสินค้าระหว่างสิงคโปร์กับกรุงเทพฯ ใช้เวลา 15 วัน ในบรรดาสินค้าจากสิงคโปร์ยามนั้นมีของแปลกอย่างหนึ่ง คือ "น้ำแข็ง" 

บรรจุหีบกลบด้วยขี้เลื่อยส่งเข้ามาถวาย จากนั้นก็แพร่หลายในหมู่เจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 

 

โดยผู้ที่สั่งน้ำแข็งเข้าเมืองไทยยุคนั้น คือ พระยาพิสนธ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เจ้าของเรือเจ้าพระยา

นำเข้าน้ำแข็งเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ สินค้าหรูหราจากยุโรป

 

พ.ศ.2411 มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ 

รัชกาลที่ 4 ทรงเชิญนักปราชญ์จากยุโรป พร้อม เซอร์แฮรี่อ็อต ผู้ว่าการเมืองสิงคโปร์ 

เป็นพระราชอาคันตุกะมาดูสุริยุปราคา โดยจัดการที่พัก อาหารการกิน ตามแบบอย่างอารยประเทศสมบูรณ์แบบทุกประการ 

 

เป็นการแสดงให้เห็นว่าสยามไม่ได้เป็นเมืองป่าเถื่อนอย่างที่ฝรั่งเข้าใจกัน การรับรองครั้งนั้น น้ำแข็ง มีส่วนเสริมสร้างการดื่มของพระราชอาคันตุกะอย่างสำคัญ ถึงกับเซอร์แฮรี่อ็อต บันทึกความประทับใจไว้ความว่า 

 

          "พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดอาหารเลี้ยงแขกเมือง นำเอาพ่อครัวฝรั่งเศสเข้ามาให้รู้จักพร้อมด้วยชาวอิตาลีหนึ่งคน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน จัดการเลี้ยงดูอย่างฟุ่มเฟือยบริบูรณ์ ของอร่อยที่หาไม่ได้ในแถบนี้ก็จัดหามาจากสิงคโปร์ การทำกับข้าวก็ทำอย่างประณีต มีทั้งเหล้าและไวน์ต่างๆ น้ำแข็งก็บริบูรณ์ อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องการอีก"

 

 

ต่อมา พ.ศ.2448 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ดำเนินธุรกิจเรือเมล์รุ่งเรือง

เช่นเดียวกับกิจการโรงน้ำแข็งซึ่งเป็นโรงน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศไทย 

ตั้งขึ้นที่สะพานเหล็กล่าง ถนนเจริญกรุง ชื่อว่า "น้ำแข็งสยาม" 

แต่กลับเป็นที่รู้จักกว้างขวางในชื่อ โรงน้ำแข็งนายเลิศ 

นับแต่นั้นน้ำแข็งก็แพร่ขยายไปสู่หัวเมืองใหญ่ๆ รอบนอกกรุงเทพฯ

 

แต่น้ำแข็งยุคนั้นยังไม่สะอาดเท่าที่ควร 

เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองมาทำให้ใส ที่ดีหน่อยก็ใช้น้ำบาดาล 

แต่ไม่มีการกรองฆ่าเชื้อโรคแต่ประการใด เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย 

ต่างยิ่งกับยุคหลังที่ขั้นตอนการทำน้ำแข็ง

เริ่มจากสูบน้ำบาดาลลึก 150 เมตร

กรองฆ่าเชื้อ รินน้ำใส่ลงในซองน้ำแข็ง หย่อนซองน้ำแข็งลงบ่อ 

ใส่หลอดดูดอากาศออก ทำให้แข็งตัวช้าๆ ที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส 

ได้น้ำแข็งซองหนัก 71 กิโลกรัม ล้างน้ำแข็ง 

ตรวจคุณภาพ ส่งโม่น้ำแข็ง คัดแยกขนาดต่างๆ บรรจุถุง ตรวจสอบคุณภาพ 

เก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส 

 

 

 

 

 

 

Credit: http://supphakitpotaset.clipmass.com
22 ก.ค. 53 เวลา 09:03 5,166 3 42
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...