ชม 6 สีสุดอันตรายจากประวัติศาสตร์ ที่แม้จะงดงามแต่ก็เป็นพิษ และอาจคร่าชีวิตผู้ใช้ได้เลย

https://www.catdumb.tv/deadliest-colors-378/ 

ตลอดช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ พวกเราได้มีการนำวัตถุดิบมากมายมาผลิตสี ไม่ว่าจะเพื่อการย้อมผ้า วาดภาพ หรือทาสีอาคารบ้านเรือน ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในบรรดาสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้ในอดีต จะมีหลายๆ อย่างที่อันตรายมากกว่าที่เราคิด ว่าแต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่าในอดีตนั้น มนุษย์เรามีการใช้สีอะไรบ้างที่ “อันตราย” อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะในวันนี้ #เราได้นำเรื่องราวของ 6 สีสุดอันตรายจากประวัติศาสตร์มาให้เพื่อนๆ ได้ชม กัน แต่จะมีสีอะไรบ้าง และสีเหล่านั้นทำจากอะไร เราไปชมพร้อมๆ กันเลยดีกว่า 

สีสุดอันตรายที่ 1 : สีขาวที่ทำจากตะกั่ว 

นี่เป็นสีที่ทำจากวัตถุดิบอันตรายที่เรียกได้ว่าถูกใช้งานมากที่สุดอันหนึ่งของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ โดยเจ้าสีขาวเหล่านี้โดยมากแล้วจะทำขึ้นจากตะกั่วโลหะกับน้ำส้มสายชู และถูกใช้งานมาเป็นเวลายาวนานอย่างน้อยๆ ถึง 2,500 ปี

 

สีขาวตะกั่วมีหลักฐานการใช้งานมาตั้งแต่ช่วง 400-300 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีสูตรทางเคมีว่า 2PbCO3.Pb(OH)2 และสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการสูดดม ทางผิวหนัง และทางการบริโภค ซึ่งในกรณีที่สารตัวนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากผู้ใช้ก็อาจจะต้องพบกับอาการพิษตะกั่วรุนแรงได้เลย 

สีสุดอันตรายที่ 2 : สีแดงที่ทำจากตะกั่ว 

ในอดีตสีขาวไม่ใช่เพียงสีเพียงสีเดียวที่มนุษย์เราทำขึ้นจากตะกั่ว กลับกันตะกั่วบางชนิดก็อาจจะถูกนำมาใช้โดยมนุษย์ในฐานะสีแดงได้เช่นกัน โดยตะกั่วดังกล่าวจะมีสูตรทางเคมีว่า Pb3O4 และเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ในสมัยอียิปต์โบราณเลย

 

โดยสีแดงที่ทำจากตะกั่ว มักจะถูกใช้งานในเอกสารต่างๆ ในช่วงยุคกลาง และพบได้ตั้งแต่ในยุโรป จีน หรือแม้แต่ภาพวาดฝาผนังทางพุทธศาสนาจากอัฟกานิสถานเลย 

สีสุดอันตรายที่ 3 : สีเหลืองเนเปิลส์ 

นี่เป็นสีเหลืองซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า “Pb3(SbO4)2” ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมโลหะอันตรายสองชนิดอย่างตะกั่วกับพลวงเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้สีดังกล่าวอันตรายยิ่งกว่าสีจากตะกั่วล้วนๆ เสียอีก 

 

สีเหลืองเนเปิลส์ มีหลักฐานการใช้งานที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในประเทศอียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยมันมักจะถูกผสมลงไปในเครื่องประดับแก้ว และหายไปจากประวัติศาสตร์เป็นช่วงๆ ก่อนที่จะกลับมาได้รับความนิยมอย่างสูงในยุโรปช่วงปี 1750-1850 และหายไปโดยสมบูรณ์ในที่สุด 

สีสุดอันตรายที่ 4 : สีชาดผสมปรอท 

มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันเป็นอย่างดีว่าปรอทนับเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตามในสมัยก่อนคนเรากลับมักใช้ปรอทกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในฐานะยารักษา และการสกัดจากแร่ชินนาบาร์เพื่อนำมาทำสีแดงชาด จริงอยู่ว่าปรอทที่ได้มาจากชินนาบาร์นั้นจะมีพิษน้อยเทียบกับปรอทรูปแบบอื่นๆ แต่สุดท้ายแล้วสีแดงชาดที่ได้จากชินนาบาร์ก็นับว่ามีความอันตรายอยู่ดี โดยเฉพาะกับเด็กซึ่งอาจมีปัญหาทางพัฒนาการได้เมื่อโดนพิษปรอทบ่อยๆ

 

ส่วนประเทศที่มีการใช้สีชาดผสมปรอทมากที่สุดนั้น ก็ได้แก่ประเทศจีน โดยเฉพาะช่วงราชวงศ์ชางและราชวงศ์โจว เมื่อราวๆ 2000-1000 ปีก่อนคริสตกาลนั่นเอง 

สีสุดอันตรายที่ 5 : สีเขียวสารหนู 

ต่างไปจากสีทั้งสี่ด้านบน สีเขียวสารหนูไม่ใช่สีที่มีการใช้งานมาตั้งแต่โบราณ กลับกันมันเพิ่งถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 18 ด้วยการผสมอาร์เซนอลออกไซด์ เข้ากับโซเดียมคาร์บอเนตร้อนทำให้เกิดเป็นโซเดียมอาร์เซไนท์ และผสมคอปเปอร์ซัลเฟตเพื่อให้กลายเป็นสีเขียวที่มีสูตรทางเคมีว่า AsCuHO3

 

สีเขียวสารหนูเป็นที่นิยมในอดีตมากนอกจากความสดและทนทานของมัน ทำให้มันถูกนำไปใช้ในแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ภาพวาด เสื้อผ้าหรือแม้แต่ของเล่นเด็ก แถมในยุโรปเองเรายังมีหลักฐานการใช้สีพวกนี้ถึงยุค 1960 เลย แม้ว่ามันจะเป็นพิษก็ตาม 

และสีสุดอันตรายที่ 6 : สีส้มแดงยูเรเนียม 

เช่นเดียวกับสีเขียวสารหนู สีส้มแดงยูเรเนียมไม่ได้มีการใช้งานในยุคโบราณ และเพิ่งจะถูกผลิตออกมาในศตวรรษที่ 20 เท่านั้น โดยแทนที่จะใช้เพื่อวาดภาพ ในเวลานั้นสีส้มแดงยูเรเนียมจะถูกใช้งานในงานเซรามิกเสียเป็นส่วนใหญ่

 

สีส้มแดงยูเรเนียมมีต้นกำเนิดมาจากในปี 1936 จากการที่บริษัทเซรามิกทำการใช้ยูเรเนียมออกไซด์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครทราบถึงความน่ากลัวของกัมมันตรังสีในการผลิต และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปี 1972-1973 และเป็นสาเหตุให้หลายกลุ่มในเวลานั้นต้องเป็นโรคอย่างเนื้องอกหรือมะเร็งจากกัมมันตรังสีโดยไม่รู้ตัวเป็นจำนวนมากเลย 

ที่มา. https://www.ancient-origins.net/history-ancient-traditions/deadly-pigments-0012572

 

Credit: https://www.ancient-origins.net/history-ancient-traditions/deadly-pigments-0012572
#สีต้องห้าม
THEBOxrun
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
17 ก.ย. 62 เวลา 15:39 1,221
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...