นิทานโบราณคดี

เข้าเว็บไซต์ http://www.prince-damrong.moi.go.th อรรถาธิบายสรุปความดังนี้ "นิทานโบราณคดี" พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2487 เป็นเรื่องราวต่างๆ ที่ทรงรับรู้จากการเดินทางไปตรวจราชการต่างจังหวัดช่วงที่ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (2435-2457) และจากการทูลถามเรื่องเก่าๆ เมื่อทรงร่วมโต๊ะเสวยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยนิทาน 22 เรื่อง แยกเป็น เนื้อหาที่หนึ่ง เรื่องที่ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด ประกอบด้วย

 

 

 

 

นิทานเรื่องที่ 1-พระพุทธรูปประหลาด คือพระพุทธรูปที่ทรงนำมาจากเมืองทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์ ที่เชื่อกันว่าไม่ว่าประดิษฐานอยู่ที่ไหนจะนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาท

นิทานเรื่องที่ 2-เรื่องพระครูวัดฉลอง เมืองภูเก็ต ที่ชาวบ้านแก้บนด้วยการปิดทองคำเปลวที่หน้าแข้งท่าน

 

นิทานเรื่องที่ 4-ห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณบุรี ทรงอธิบายว่า เป็นเพราะมีความเชื่อว่าเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณบุรีไม่ชอบเจ้า ความอัปมงคลที่เมืองสุพรรณจะทำให้เจ้านายเสียพระจริต การเสด็จไปตรวจราชการที่สุพรรณบุรีของพระองค์จึงเป็นการทำลายความเชื่อในหมู่เจ้านายแต่โบราณ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่สุดก็เสด็จฯ ไปสุพรรณบุรีตามคำกราบทูลเชิญของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ

นิทานเรื่องที่ 5-เรื่องแปลกที่เมืองชัยปุระในอินเดีย

 

นิทานเรื่องที่ 6-ของแปลกที่เมืองพาราณสี

 

นิทานเรื่องที่ 11-โจรแปลกประหลาด ทรงเล่าเกี่ยวกับโจรทิมผู้มีความสามารถในการจักสานอย่างประณีต และมีความจงรักภักดี กับโจรจันทร์เป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของโจร และมีกิริยามารยาทสุภาพอ่อนน้อม

 

นิทานเรื่องที่ 19-เมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน 2 องค์ ในรัชสมัย ร.4 คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อหาที่ 2 เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในหัวเมืองห่างไกลของไทย ประกอบด้วย

 

นิทานเรื่องที่ 3-เสือใหญ่เมืองชุมพร เป็นเรื่องของเสือที่ดุร้ายตัวหนึ่งแถบเมืองชุมพร

นิทานเรื่องที่ 7-สืบพระศาสนาในอินเดีย ทรงเล่าการเสด็จไปยังสถานที่สำคัญๆ

นิทานเรื่องที่ 10-ความไข้เมืองเพชรบูรณ์ ให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ คำอธิบายเกี่ยวกับเมืองโบราณต่างๆ

นิทานเรื่องที่ 16 และ 17-ล้านช้าง และแม่น้ำโขง ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จไปตรวจราชการที่มณฑลอุดรและมณฑลอีสาน

เนื้อหาที่ 3 เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างความเป็น "ชาติ" การจัดระบอบการปกครองเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การสร้างความ "ทันสมัย" ในยุคที่สังคมไทยก้าวเข้ายุคสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองและสังคม ประกอบด้วย

นิทานเรื่องที่ 8-เจ้าพระยาอภัยราชา สะท้อนจากการแสวงหาบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อเข้ามาทำงานในโครงสร้างใหม่ หลังการปฏิรูปทางการเมือง พ.ศ.2445

นิทานเรื่องที่ 14-โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นโรงเรียนฝึกอบรมลูกผู้ดีให้เป็นมหาดเล็กและเข้ารับราชการ

นิทานเรื่องที่ 12 และ 13-เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและการตั้งโรงพยาบาล สะท้อนภาพความห่วงใยของรัฐบาลที่มีต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงการตั้งศิริราชพยาบาล

นิทานเรื่องที่ 22-เทศาภิบาล อธิบายเหตุผลและขั้นตอนของการจัดการปกครองหัวเมืองด้วยระบบเทศาภิบาล ซึ่งองค์ผู้นิพนธ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบนี้ เนื้อหาเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย

 

นิทานเรื่องที่ 18-ค้นเมืองโบราณ ทรงตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองอู่ทอง ก่อให้เกิดการถกเถียงคัดค้านในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสมัยใหม่ต่อมา

 

นิทานเรื่องที่ 15-อั้งยี่ นอกจากจะให้ความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอั้งยี่แล้ว ยังสะท้อนรัฐประศาสนโยบายของรัฐไทยที่ใช้วิธีการอะลุ้มอล่วย ยืดหยุ่น อย่างแยบยลเข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในที่สุด นิทานเรื่องที่ 9-หนังสือหอหลวง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐไทยสมัยก่อนมีลักษณะควบคุมความรู้ของสามัญชน

 

 

 

Credit: น้าชาติ
18 ก.ค. 53 เวลา 10:58 4,893 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...