เรือนแพ หนึ่งในเรือนไทยที่ใกล้สูญหาย

คนไทยที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเมืองบางกอก ที่เป็นเมืองหลวงมาแต่เดิมนั้น ในประวัติศาสตร์มีกล่าวถึงตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 1 มาแล้ว มักนิยมสร้างบ้านอยู่บนแพ ใช้ทั้งพักอาศัยและค้าขาย เพราะแม่น้ำเป็นศูนย์กลางของสังคมอีกแห่งหนึ่ง ในอดีตถือเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ทำให้สายน้ำคือชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน ชาวไทยบางส่วนยังคงเกิดและอาศัยอยู่ในเรือ ซึ่งสัญจรขนส่งสินค้า ล่องไปตามหัวเมืองใหญ่ต่างๆ แม้คนที่มาจากต่างเมือง แล้วเข้ามาค้าขายในเมืองบางกอก ก็นิยมสร้างเรือนแพ เพราะไม่ต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง การล่องเรือนำสินค้าไปขายยังต่างเมืองก็สะดวกมากนั่นเอง นักวิชาการบางท่านถึงกับเรียกชาวสยามว่าเป็นชาวน้ำ เพราะความผูกพันของคนไทยกับสายน้ำนั้นแนบแน่นจนแยกกันไม่ขาด












เรือน แพ หมายถึง เรือนที่สร้างอยู่ในน้ำ อยู่บนแพทั้งหลัง โดยมีลักษณะและส่วนประกอบโดยทั่วไปเหมือนกับเรือนไทยเดิม เพียงแต่การลอยอยู่ในน้ำอาศัยแพ ที่เป็นทุ่นลอยน้ำ เรือนแพจึงแยกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนตัวเรือน และส่วนแพที่เป็นทุ่นลอยน้ำ แพเป็นส่วนสำคัญที่รับน้ำหนักของเรือน ส่วนใหญ่จะใช้แพไม้ไผ่ ต่อมาใช้ถังน้ำมัน และวิวัฒนาการเป็นเรือเหล็กหนุน ซึ่งจะคงทนและรับน้ำหนักได้มากกว่า แพไม้ไผ่แบบเดิม ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่มัดรวมกันเป็นฟ่อนๆ ถ้าเป็นลูกบวบขนาดเล็ก ฟ่อนหนึ่งจะมี 40-50 ลำ หากเป็นลูกบวบขนาดใหญ่ จะมีประมาณ 60-100 ลำ ลูกบวบทำหน้าที่เป็นทุ่นให้แพ ลอยได้เหมือนเรือโป๊ะแต่ราคาถูกกว่ามาก ในขณะเดียวกันก็มีอายุการใช้งานไม่ยาวนักเพราะจะถูกคลื่นกระแทกตลอดเวลา เมื่อมีเรือแล่นผ่าน













ส่วน ลักษณะและโครงสร้างของเรือนแพคล้ายกับเรือนไทย ฝามีหลายแบบ เป็นฝากระแชงอ่อน หรือฝาขัดแตะ ซึ่งมีน้ำหนักเบาสามารถเปิดบานกระทุ้งได้ ส่วนด้านสกัดของเรือนเรียกฝาถัง ใช้ไม้กระดานเป็นแผ่นหน้ากว้างตั้งขึ้นเป็นฝา แต่ทำเป็นลิ้นเข้าไม้สนิทเสมือนเป็นแผ่นเดียวกันแบบจีน พบได้ในเรือนแพส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้ขโมยที่อาจพายเรือเข้ามาเทียบแพงัดฝาได้ง่าย หลังคาจะมุงจาก เนื่องจากน้ำหนักเบา ทนต่อการสั่นไหวจากคลื่น ถ้าใช้กระเบื้องคงจะหนักและร่วงหล่นได้ง่าย





เรือน แพในแม่น้ำลพบุรีสมัยเก่า




เรือนแพทั่วไป มักนิยมทำเป็นเรือนแฝด แต่มีขนาดไม่เท่ากัน เรือนใหญ่จะอยู่ด้านนอก เรือนเล็กจะอยู่ด้านใน ริมตลิ่ง คนที่มีฐานะดีหน่อยก็จะปลูกเป็นเรือนแฝดสามหลังเลยทีเดียว แต่ต่อมาการสร้างเรือนไทยแบบเรือนไทยเดิมนั้นค่อยๆลดลง ตามความเปลี่ยนไปของระบบเศรษฐกิจ การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ก็ต้องคะนึงถึงความรวดเร็ว และความประหยัด จึงมีเรือนรูปแบบอื่นมาแทนที่ อีกทั้งในเมืองบางกอก ซึ่งก็กลายเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ระบบการคมนาคมทางน้ำก็มีการพัฒนารูปแบบไป มีการคิดค้นเรือหางยาว ที่วิ่งเร็ว เสียงดัง เป็นศัตรูตัวฉกาจของเรือนแพ เพราะผ่านมาคราวใด เรือนแพก็มีอันต้องโยกคลอน ซัดเซไปตามแรงคลื่น ประชากรชาวแพทั้งหลายก็จำใจอพยพหนีคลื่น เข้าสู่คลองเล็กคลองน้อย พอนานๆเข้าก็เริ่มหนีขึ้นฝั่ง ยึดริมตลิ่งนั่นเองเป็นที่ปลูกสร้างกระท่อมริมคลอง








จน ปัจจุบัน ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ก็มีในต่างจังหวัดบ้าง ที่เป็นลักษณะชุมชนเรือนแพ เช่นที่ริมแม่น้ำสะแกกรังจังหวัดอุทัยธานี แถวหน้าวัดมหาธาตุที่จังหวัดพิษณุโลก แต่ที่เป็นเรือนแพแบบเรือนไทยเดิมก็มีเหลือน้อยเต็มที เป็นเรือนแบบสมัยใหม่ไปเกือบหมด ที่เมืองกาญจน์ก็มีเรือนแพเหมือนกัน แต่จะเป็นที่พักแบบรีสอร์ท ที่เห็นยังมีอยู่เกลื่อนกลาด อาละวาดอยู่ริมน้ำได้คงมีแห่งเดียวในประเทศไทย ต้องยกให้แพเธคแห่งเมืองกาญจนบุรีครับ สร้างกันใหญ่โต ระบบแสงเสียงสมบูรณ์ ไม่แพ้ดิสโก้เธคบนบกเลยเชียวครับท่าน



แพ เธคเป็นแพขนาดใหญ่ สร้างแยกจากแพพักผ่อน เป็นแพรื่นเริงโดยเฉพาะ




ถึงมีขนาดใหญ่ แต่ก็ลากจูงไปไหนได้สะดวก


แหล่ง รวมแพเธคก็อยู่หน้าเมืองนั่นแหละครับ เป็นที่ท่องเที่ยวของวัยโจ๋ที่นี่เพระไม่มีการจำกัดอายุนักท่องเที่ยวเหมือน สถานบริการทั่วไป


TraveLArounD

Credit: travelaround.bloggang.com travelaround
18 ก.ค. 53 เวลา 03:05 6,440 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...