รถราง : ระบบขนส่งมวลชนในอดีต
คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่คง คุ้นเคยกับรถไฟฟ้า ทั้งลอยฟ้า และใต้ดิน กันพอสมควร เพราะเปิดให้บริการมาหลายปีแล้ว แต่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่เคยทราบ ว่าเมื่อก่อนนี้ สมัยเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว กรุงเทพฯเคยมียังมีรถรางไฟฟ้า ที่เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบนี้มาก่อน และมีก่อนใครในเอเชียเสียด้วย แต่การดำเนินการ ก็ไม่ได้ต่อเนื่อง เพราะระบบดังกล่าวมีข้อเสียหลายประการ ที่สำคัญ กระแสความนิยมแพ้รถยนต์ ที่วิ่งได้เร็วกว่า โก้กว่า เมื่อใช้ทางวิ่งบนถนนเหมือนกัน รถรางจึงกลายเป็นระบบล้าสมัยและเกะกะ สุดท้ายจึงต้องกลายเป็นอดีต
รถ รางในสมัยแรกๆ ยังไม่มีรถยนต์เป็นคู่แข่ง มีแต่รถลาก ซึ่งวิ่งช้ากว่า
สภาพ บ้านเมืองของกรุงเทพฯในอดีต ยังมีพลเมืองไม่มาก จึงสงบน่าอยู่ รถราก็เพิ่งจะมีวิ่งหลังจากรถรางที่มีมาก่อน ระบบขนส่งสาธารณะ ก็มีรถเมล์โดยสารจาก 20 บริษัทเอกชน กับ 2 รัฐวิสาหกิจ ที่วิ่งคู่ขนานไปกับรถยนต์ พื้นที่ถนนจำนวน 1 ช่องทางใช้เป็นที่วางรางรถราง ซึ่งรถยนต์ ก็สามารถวิ่งทับไปได้ ถ้ารถรางยังไม่มา
รถ ราง ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนรถเหมือนกับระบบรถไฟฟ้าในปัจจุบัน แต่จะจ่ายผ่านสายไฟฟ้าที่อยู่ด้านบน ตามเสาไฟฟ้า ผ่านหัวจ่ายที่เป็นท่อนเหล็กที่หมุนได้ อยู่บนหลังคารถราง ซึ่งระบบนี้ ก็ยังมีใช้อยู่ในหลายๆประเทศทางยุโรป เพียงแต่ทันสมัยกว่ามาก การที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนนี่เอง รถรางจึงมีการไฟฟ้านครหลวง เป็นเจ้าของสัมปทานรถรางมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนยุบเลิกสัมปทานรถรางทั้งหมดเมื่อ 1 ตุลาคม 2511
รถ รางวิ่งช้ามาก ความเร็วสูงสุดเท่าที่รถรางทำได้ก็คือประมาณ 45 กม./ชม.เท่านั้น ต่างจากรถไฟฟ้า BTS ยุคปัจจุบันที่วิ่งด้วยความเร็วถึง 80 กม./ชม.เลยทีเดียว เพราะเทคโนโลยี่ในสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้านัก อีกทั้งระบบการวางราง ที่ใช้พื้นที่บนถนน จึงทำให้ไม่สามารถ ทำความเร็วได้ เพราะอันตราย ไม่เหมือนระบบในปัจจุบัน ที่มีการแยกระบบรางอย่างเด็ดขาด จึงมีความปลอดภัยสูง
รถรางสมัยนั้นมี 7 สายหลักๆ คือ
1) สายบางคอแหลม วิ่งจาก เจริญกรุง – บางคอแหลม - ถนนตก ค่าโดยสาร 25 สตางค์ , 50 สตางค์
2) สายสามเสน วิ่งจาก บางกระบือ – สามเสน - ถนนวิทยุ ค่าโดยสาร 25 สตางค์ , 50 สตางค์
3) สายบางซื่อ วิ่งจาก บางซื่อ - เกียกกาย ค่าโดยสาร 10 สตางค์ , 20 สตางค์
4) สายดุสิต วิ่งจาก บางลำพู – ผ่านฟ้า -ท่าเตียน– วัดเลียบ ค่าโดยสาร 15 สตางค์ , 30 สตางค์
5) สายหัวลำโพง วิ่งจาก เทเวศร์ – สะพานดำ - หัวลำโพง ค่าโดยสาร 10 สตางค์ , 20 สตางค์
6) สายสีลม วิ่งจาก สีลม – ศาลาแดง - ประตูน้ำ ค่าโดยสาร 15 สตางค์ , 30 สตางค์
7) สายปทุมวัน วิ่งจาก ยศเส – สนามกีฬาแห่งชาติ - ประตูน้ำ ค่าโดยสาร 15 สตางค์ , 30 สตางค์
นอก จากประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางแล้ว ประวัติศาสตร์ของรถรางยังมีเรื่องการปราบจลาจลอีกด้วย จากการที่รัฐบาลในสมัยนั้น ต้องการต่อสู้กับมาเฟียจีน ที่เราเรียกว่า อั้งยี่ โดยในปี ค.ศ. 1889 รถรางไฟฟ้าใช้ในการขนทหารเพื่อเข้าไปปราบปราบพวกอั้งยี่ ที่ย่านคนจีนแถบชุมชนจีน (เดี๋ยวนี้เรารู้จักกันว่าเป็นเขตยานนาวา) ตอนนั้นพวกอั้งยี่แตกเป็นสองฝ่าย และเกิดสงครามระหว่างกลุ่มมาเฟียขึ้น โดยมีถนนเจริญกรุงเป็นสนามรบ เหตุการณ์ต่อสู้เริ่มขึ้นกันในคืนวันที่ 19 มิถุนายน 1889 ทั้งสองพวก กั้นสังกะสีและใช้เฟอร์นิเจอร์ขวางถนนไว้
อั้งยี่ ทั้งสองฝ่าย ตะลุมบอนกันด้วยอาวุธทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ มีด และปืน การต่อสู้กัน มีตั้งแต่กลางคืนไปจนยันสว่าง มีคนตายอย่างน้อย 20 คน และบาดเจ็บอีกเป็นร้อย กว่าเหตุการณ์จะสงบลงได้ ก็ด้วยกำลังสนับสนุนของทหาร เพราะเกินกำลังของตำรวจท้องที่ ที่จะจัดการได้ การสู้รบยังดำเนินต่อมาอีก 2 วัน
ปฏิบัติการของทหาร ต้องอาศัยการยกกำลังผ่านเข้ามาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และในวันที่ 21 มิถุนายน 1889 ทหารได้เข้ามาโดยใช้รถรางขนส่งนำกำลังทหาร เข้ามาคุมแนวหน้าของพวก อั้งยี่ โดยยกกำลังทหารไปที่สถานีหลักเมือง โดยใช้กำลังทหารเป็นร้อยๆ นาย พร้อมกำลังอาวุธครบมือ คนขับรถรางเสียสละ เสี่ยงขับรถรางนำกำลังทหารเข้าสู่สนามรบ ทันทีที่เห็นทหารยกกำลังเข้าไปพวกอั้งยี่ ก็หันปากกระบอกปืนเข้าระดมยิงใส่เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ยกกำลังเข้าล้อมปราบ ใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมงในการล้อมปราบ พวกอั้งยี่ ซึ่งนับเป็นสงครามกลางเมืองย่อยๆ เลยทีเดียว พวกอั้งยี่ถูกยิงตายไปกว่า 10 คน บาดเจ็บ 20 กว่าคน และถูกจับมากกว่า 800 คน นับว่าในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ รถรางนับเป็นพระเอกตัวจริงเลยทีเดียว
น่า เสียดาย ที่การดำเนินงานของรถราง ต้องหยุดลง อาจด้วยหลายๆสาเหตุ ความจำเป็นในช่วงเวลานั้น ทำให้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ต้องขาดตอนไปหลายสิบปี กว่าจะเริ่มต้นใหม่ได้ก็เลยทำยาก และต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ จากภาษีอากรของประชาชนไปมาก และไม่ทันต่อความเจริญของกรุงเทพฯ ปล่อยให้ประเทศขาดดุลการค้า โดยเฉพาะน้ำมัน ปีละหลายหมื่นล้าน และยิ่งล่าช้าไปเท่าไร งบประมาณก็จะยิ่งบานปลายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
จึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่า เพื่อนบ้านหลายๆประเทศ ที่เคยยากจนล้าหลัง ต้องส่งคนมาดูงานที่บ้านเรา เดี๋ยวนี้เขาเจริญไปไกล ถึงไหนๆแล้ว !!!
TraveLArounD
ข้อมูล จาก
exteen.com โดย noom4100
http://noom4100.exteen.com/20061118/entry
arunsawat โดย เสลา
http://www.arunsawat.com/board/index.php%3Ftopic%3D4278.0&h=350&w=858&sz=71&hl=th
และ 2bangkok.com