กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

 

 

 

 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี่นำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์อเมริกัน เอ็ดวิน ฮับเบิล ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญๆ มากมาย มันเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์การนาซ่าและองค์การอวกาศยุโรป เป็นหนึ่งในโครงการหอดูดาวเอกของนาซ่าที่ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมป์ตัน กล้องรังสีเอ็กซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

การที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้มันมีข้อได้เปรียบเหนือกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลก นั่นคือภาพไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีแสงพื้นหลังท้องฟ้า และสามารถสังเกตการณ์คลื่นอัลตราไวโอเลตได้โดยไม่ถูกรบกวนจากชั้นโอโซนบนโลก เช่น ภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือภาพถ่ายวัตถุในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา

 


โครงการก่อ สร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเริ่มต้นมาตั้งแต่ ค.ศ.1923 กระทั่งได้รับอนุมัติทุนสร้างช่วง ค.ศ.1970 แต่เริ่มสร้างได้จริงในปี 1983 และการสร้างก็เป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาเทคนิค และอุบัติเหตุกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ที่สุดกล้องขึ้นสู่อวกาศ 24 เมษายน ค.ศ.1990 แต่ส่งขึ้นไปไม่นานก็พบว่ากระจกหลักมีความคลาดทรงกลม อันเกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพในการผลิต ทำให้ภาพถ่ายที่ได้สูญเสียคุณภาพไปอย่างมาก ภายหลังจากการซ่อมแซมในปี 1993 กล้องจึงกลับมามีคุณภาพเหมือนดังที่ตั้งใจไว้ และเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่สำคัญ ทั้งเป็นเสมือนฝ่ายประชาสัม พันธ์ของวงการดาราศาสตร์

 


กล้องฮับเบิลเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวเดียวที่ถูกออกแบบมาให้นักบินอวกาศสามารถเข้าไปซ่อมแซมในอวกาศได้ จนถึงวันนี้มีภารกิจซ่อมบำรุงทั้งหมด 5 ภารกิจ ดังนี้ ภารกิจที่ 1 ซ่อมแซมปัญหาด้านภาพในปี 1993 ภารกิจที่ 2 ติดตั้งเครื่องมือ 2 ชิ้นใหม่ในปี 1997 ภารกิจที่ 3 แบ่งเป็น 2 ภารกิจย่อย ได้แก่ ภารกิจ 3A ซ่อมแซมเร่งด่วนในปี 1999 และภารกิจ 3B ติดตั้งกล้องสำรวจขั้นสูงในเดือนมีนาคม ค.ศ.2002 อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบียในปี 2003 ภารกิจซ่อมบำรุงที่ 5 ซึ่งมีกำหนดการในปี 2004 ก็ถูกยกเลิกไปเพราะเรื่องความปลอดภัย นาซ่าเห็นว่าภารกิจที่ต้องใช้คนนั้นอันตรายเกินไป แต่ก็ได้ทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง

 

และในวันที่ 31 ตุลาคม 2006 ไมก์ กริฟฟิน ผู้บริหารของนาซ่าจึงเปิดไฟเขียวให้กับภารกิจซ่อมบำรุงฮับเบิลครั้งสุดท้าย โดยใช้กระสวยอวกาศแอตแลนติสขนส่งลูกเรือ ภารกิจนี้มีกำหนดการในเดือนตุลาคม 2008 ทว่าในเดือนกันยายนได้ตรวจพบข้อผิดพลาดบางประการกับตัวกล้อง ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการซ่อมบำรุงออกไป จวบจน 11 พฤษภาคม 2009 กระสวยอวกาศแอตแลนติสนำยานซ่อมบำรุงขึ้นปฏิบัติการครั้งสุดท้าย เพื่อซ่อมแซมและติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่มเติม


การซ่อมครั้งนี้จะทำให้กล้องฮับเบิลสามารถใช้งานได้อย่างน้อยจนถึงปี 2014 ซึ่งเป็นปีที่จะมีการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ เพื่อใช้งานแทนต่อไป กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ มีความสามารถสูงกว่ากล้องฮับเบิลมาก แต่จะใช้สำรวจคลื่นช่วงอินฟราเรดเท่านั้น และไม่สามารถทดแทนความสามารถในการสังเกตสเปกตรัมในช่วงที่ตามองเห็นและช่วงอัลตราไวโอเลตของฮับเบิลได้ ยังมีรายละเอียดอีกมาก อ่านได้ที่ th.wikipedia.org/wiki/ เสิร์ช กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

 

Credit: http://www.khaosod.co.th
17 ก.ค. 53 เวลา 23:18 6,693 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...