ตัวอย่าง?รามเกียรติ์ แอนิเมชัน?จากโครงการ๑๒ สิงหา เคียงคู่เคียงราษฎร์ซึ่งฉายให้ชมฟรี

โครงการ ๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์

ฉาย “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ให้ชมฟรีทั่วประเทศ

 

 

จัด ๓ กิจกรรมเฉลิมฉลองวันแม่เพื่อ “แม่ของแผ่นดิน” ในปีมหามงคลราชาภิเษกสมรสและบรมราชาภิเษก ครบ ๖๐ ปี กระทรวงการคลังจับมือ อสมท. และเอส เอฟ หนุนเต็มที่ร่วมเทิดทูน ธรรมราชา-ธรรมราชินีของชาวไทย เน้นคุณค่าของ “รามเกียรติ์” ทั้งด้านคุณธรรมและศิลปะ พร้อมอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้วในรูปแบบใหม่

มูลนิธิ ดินดีน้ำใส แห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงการคลัง และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เตรียมจัดกิจกรรมพิเศษในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๕ สิงหาคม ศกนี้ เพื่อให้คนไทยทั่วประเทศได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ตลอด ๗ วันของการดำเนินโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วย ๓ กิจกรรมหลัก ได้แก่ การจัดฉายภาพยนตร์ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” จากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ให้ผู้สนใจเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ ๑๔ แห่ง ทั่วประเทศ การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และการจัดทำแผ่นดีวีดี “รามเกียรติ์” แอนิเมชันและอินเตอร์แอคทีฟ เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่สำหรับแจกไปยังโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ต่างๆ กว่า ๓๒,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ

ม.ร.ว. สมลาภ กิติยากร เลขานุการในพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และประธานกรรมการ มูลนิธิ ดินดีน้ำใส แห่งประเทศไทย ในฐานะประธานโครงการ ๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์ กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย สำหรับ ๒ วโรกาสสำคัญ คือครบ ๖๐ ปี บรมราชาภิเษก และ ๖๐ ปี ราชาภิเษกสมรส โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นคู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อความสุขของคนไทยทั้งประเทศ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดินที่อยู่เคียงข้างราษฎรไทยตลอดมา เราจึงได้จัดโครงการเฉลิมพระเกียรตินี้ขึ้นเพื่อให้คนไทยได้ร่วมเฉลิมฉลอง โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลัง และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เช่น บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด จัดโรงภาพยนตร์เพื่อฉายรามเกียรติ์ แอนิเมชัน ให้ชมฟรีทั่วประเทศ”

ประธานโครงการฯ ให้รายละเอียดในการจัดทำ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ว่าเป็นเรื่องที่มีคุณค่าในหลายด้าน ทั้งวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และที่สำคัญคือการแฝงคุณธรรมต่างๆ โดยเฉพาะ “ทศพิธราชธรรม” หรือธรรมะสำหรับผู้ปกครอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงยึดมั่นมาโดยตลอดเช่นเดียวกับบูรพกษัตริย์ทั้งหลาย โดยคณะผู้ดำเนินโครงการฯ เชื่อว่าพระมหา กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาทรงให้ความสำคัญกับเรื่อง “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งมีความเชื่อมโยงอยู่ในเรื่อง “รามเกียรติ์” จากหลักฐานที่ปรากฏ และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีกุศโลบายในการถ่ายทอดด้วยการสอดแทรกคุณธรรมในการปกครองบ้านเมืองไว้ใน บทละคร “รามเกียรติ์” ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยอยู่ในช่วงที่ท้าวทศรถทรงสอนพระรามก่อนสละราชสมบัติให้ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังอีกด้วย และพระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์หลายพระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “รามเกียรติ์” นี้เช่นกัน ทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

“ในส่วนของภาพ จิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้งานทัศนศิลป์อันวิจิตรซึ่ง เป็นมรดกของชาติที่สำคัญนี้ยังคงดำรงอยู่ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม ทั้งนี้ งานศิลปะแขนงต่างๆ ของไทย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ความสำคัญ ในการอนุรักษ์และสืบสานมาโดยตลอด” ม.ร.ว.. สมลาภกล่าว






ด้าน ดร. มั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการฯ นี้ว่า “ความสำคัญของโครงการ ๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์ คือเป็นครั้งแรกที่นำเสนอรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของเนื้อหาในเรื่องรามเกียรติ์ ที่แฝงคุณธรรมและข้อคิดต่างๆ อันเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทั้งยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ระลึกถึงคุณค่าของภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นต้นแบบในการนำมาพัฒนาเป็นภาพยนตร์ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ในครั้งนี้ รวมถึงการจัดทำแผ่นดีวีดีที่เพิ่มรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ สำหรับแจกไปยังโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ นับว่าเป็นการร่วมช่วยกันอนุรักษ์งานศิลปะที่สำคัญในอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเทคโนโลยีตามยุคสมัย”

นายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การให้ความรู้กับผู้บริโภคไปพร้อมๆ กับการปลูกฝังและกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีจิตสำนึกที่ดีเพื่อตนเองและสังคม เป็นภารกิจประการหนึ่งของ อสมท. ที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมของโครงการ ๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์ ในครั้งนี้ การจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง“รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ก็จะเป็นอีกสื่อหนึ่งที่ช่วยปลุกจิตสำนึกที่ดีให้ผู้ชมร่วมตามรอยพระยุคลบาท ต่อไป พวกเราทุกคนควรน้อมนำหลักธรรมต่างๆ ไปประพฤติปฏิบัติตาม บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ยินดีสนับสนุนโครงการที่มีประโยชน์ โดยเตรียมนำ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ไปออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เพื่อให้ประชาชนที่พลาดโอกาสชมทางโรงภาพยนตร์สามารถติดตามรับชมและร่วมเฉลิม พระเกียรติทั่วประเทศในลำดับต่อไปด้วย”
ในส่วนของรายละเอียดนั้น


นาย พูนผล อัศวเหม ผู้อำนวยการ โครงการ ๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์ กล่าวว่า “คณะผู้ดำเนินโครงการฯ เลือกเรื่องรามเกียรติ์เพราะเป็นเรื่องที่โดดเด่นในการสื่อให้เห็นถึงความ สำคัญของการมีผู้ปกครองประเทศที่มีคุณธรรม อันนำมาซึ่งความสุขสงบร่มเย็น และทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นปัญหา อุปสรรค และวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปด้วยดี ด้วยความตระหนักว่าพวกเราโชคดีอย่างยิ่งที่ได้อยู่ใต้ร่มพระบารมีของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี นาถ ผู้ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา
โครงการ ๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์


ประกอบด้วย ๓ กิจกรรมด้วยกัน ได้แก่

การจัดฉายภาพยนตร์ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ภาคปฐมบท ความยาว ประมาณ ๓๕ นาที ให้ผู้สนใจเข้าชมฟรี ๗ วัน ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๕ สิงหาคม ศกนี้ ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ ๑๔ แห่ง ทั่วประเทศ จำนวน ๑๘ โรงภาพยนตร์ รวม ๗ วัน วันละ ๒ รอบ เวลา ๑๐.๑๕ น. และ ๑๓.๓๐ น. โดยบริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด ร่วมสนับสนุน การจัดทำภาพยนตร์รามเกียรติ์ แอนิเมชันนี้ เป็นผลงานของมืออาชีพที่มีประสบการณ์ระดับนานาชาติ โดยใช้ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นต้นแบบ ใช้เวลาดำเนินการกว่า ๒ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ถึงปัจจุบัน

กิจกรรม ที่ ๒ คือการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และนิทรรศการภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “รามเกียรติ์” วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เดอะมอลล์ บางกะปิ ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๕ สิงหาคมนี้ เช่นกัน ส่วนกิจกรรมที่ ๓ คือการผลิตดีวีดี “รามเกียรติ์” ทั้งในรูปแบบแอนิเมชันและอินเตอร์แอคทีฟ สำหรับเผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานครและกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า ๓๒,๐๐๐ แห่ง ในลำดับต่อไป เพื่อให้แพร่กระจายไปยังกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาในวงกว้างให้มากที่สุด โดยคาดว่าจะจัดส่งให้ได้ภายในเดือนกันยายน ศกนี้”


 



โครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์”


ความ เป็น มา

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีมหามงคล ครบ ๖๐ ปี สำหรับ ๒ วโรกาสสำคัญสำหรับปวงชนชาวไทย คือ บรมราชาภิเษก และราชาภิเษกสมรส โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็น คู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขของคนไทยทั้ง ประเทศ
ตลอด ๖o ปี ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคียงคู่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอย่างสมพระเกียรติ ทรงห่วงใยอาณาประชาราษฎร์มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทรงแบ่งเบา พระราชกรณียกิจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแบบอย่างที่ดีในความเป็น “ภรรยา” และ “แม่” ผู้ประเสริฐ ทั้งการอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ราษฎรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิ โครงการป่ารักน้ำ โครงการศิลปาชีพ เป็นต้น โดยโครงการพระราชดำริต่างๆ นับร้อยนับพันโครงการนั้นล้วนเป็นส่วนเสริมกันและกัน ทรงเป็น “แม่ของแผ่นดิน” ที่อยู่เคียงข้างราษฎรไทยตลอดมา
สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม เช่นเดียวกับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงร่วม ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม อย่างแท้จริง ทำให้ประชาชนชาวไทยภาคภูมิใจอย่างยิ่งว่าเรามีพระมหากษัตริย์และและพระ ราชินีผู้ทรงเป็น “ธรรมราชา” และ “ธรรมราชินี” ที่ควรค่าแก่การเทิดทูนและเป็นแบบอย่างสืบไป

วัตถุประสงค์

• เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ในฐานะที่ทรงเป็น “แม่ของแผ่นดิน” คู่พระบารมี มาตลอด ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรมเช่นกัน
• เพื่อเป็นสื่อในการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายสนใจในเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่มีคุณค่าทั้งในด้านวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ (จากจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) และแฝงคุณธรรมสำหรับผู้ปกครอง คือ “ทศพิธราชธรรม” ที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรีทรงใช้เป็นหลักในการปกครองแผ่น ดินไทยให้สงบร่มเย็นตลอดมา
• เพื่อร่วมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “รามเกียรติ์” ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยจัดทำเป็นสื่อรูปแบบใหม่

กลุ่ม เป้าหมาย

นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

กิจกรรม ใน โครงการฯ

๑. การจัดฉายภาพยนตร์ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน” ภาคปฐมบท ให้ผู้สนใจเข้าชมฟรี เพื่อเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ ๑๔ แห่ง ทั่วประเทศ จำนวน ๑๘ โรงภาพยนตร์
- ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ รวม ๗ วัน
- วันละ ๒ รอบ เวลา ๑๐.๑๕ น. และ ๑๓.๓๐ น. ทุกโรงภาพยนตร์ที่จัดฉาย
รอบ ละประมาณ ๓๐๐ ที่นั่ง/ โรงภาพยนตร์ จำนวน ๑๘ โรงภาพยนตร์ จาก ๑๔ แห่ง
รวม ๗ วัน จะมีจำนวนผู้ชมประมาณ ๗๕,๖๐๐ คน
(จำนวน โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงภาพยนตร์)
๒. การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “รามเกียรติ์” ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ที่บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เดอะมอลล์ บางกะปิ
- ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
๓. การผลิตดีวีดี “รามเกียรติ์” ทั้งในรูปแบบแอนิเมชัน และอินเตอร์แอคทีฟ
- สำหรับเผยแพร่ไปยังโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า ๓๒,๐๐๐ แห่ง
- จัดส่งภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๓

จัดโดย
มูลนิธิ ดินดีน้ำใส แห่งประเทศไทย

ผู้สนับสนุนโครงการฯ
กระทรวง การคลัง

ผู้ ร่วม สนับสนุนโครงการฯ
๑. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
๒. บริษัท เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด


 

โรงภาพยนตร์ใน เครือ เอส เอฟ ๑๔ แห่ง ทั่วประเทศ

                 (๑๘ โรงภาพยนตร์)

ที่จัดฉายภาพยนตร์ “รามเกียรติ์” แอนนิเมชั่น


๑. เอส เอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า ดิ เอ็มโพเรียม โรงที่ ๔ และ ๕
๒. เอส เอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว โรงที่ ๔ และ ๗
๓. เอส เอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า เซ็นทรัล พลาซ่า แจ้งวัฒนะ โรงที่ ๔
๔. เอส เอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า เซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต โรงที่ ๖
๕. เอส เอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยาบีช โรงที่ ๕
๖. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ โรงที่ ๗ และ ๘
๗. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เดอะมอลล์ บางกะปิ โรงที่ ๑๓ และ ๑๔
๘. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เดอะมอลล์ บางแค โรงที่ ๕
๙. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน โรงที่ ๖
๑๐. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เซ็นทรัล พลาซ่า รัตนาธิเบศร์ โรงที่ ๑
๑๑. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เซ็นทรัล พลาซ่า รามอินทรา โรงที่ ๔
๑๒. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เดอะมอลล์ ท่าพระ โรงที่ ๑
๑๓. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เซ็นทรัล พลาซ่า ขอนแก่น โรงที่ ๗
๑๔. เอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ เซ็นทรัล พลาซ่า ชลบุรี โรงที่ ๔

รอบ ฉาย
เวลา ๑๐.๑๕ น. และ ๑๓.๓๐ น. สำหรับทุกโรงภาพยนตร์
ระหว่าง วันที่ ๙ – ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ รวม ๗ วัน

เรื่องย่อ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน”

(ภาคปฐมบท)

กำเนิดรามเกียรติ์

มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่อ นนทก มีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาที่มาเฝ้าพระอิศวร (พระศิวะ) ณ เชิงเขาไกรลาส ถูกเหล่าเทวดาลูบหัวทุกวันจนหัวล้าน ด้วยคับแค้นใจจึงไปเฝ้าพระอิศวรทูลขอนิ้วเพชร ชี้ไปที่ใครผู้นั้นต้องตาย เมื่อพระอิศวรให้พรแล้วจึงกลับไปล้างเท้าเทวดาตามเดิม เมื่อถูกเหล่าเทวดาข่มเหงรังแกอีกก็ใช้นิ้วเพชรชี้เทวดาล้มตายไปเป็นอันมาก เหล่าเทวดาจึงไปทูลฟ้องพระอิศวรให้พระนารายณ์ไปปราบ โดยแปลงกายเป็นนางอัปสรผู้มีรูปโฉมงดงามหลอกร่ายรำยั่วยวนจนนนทกหลงกลรำตาม และลืมตัวทำท่าเอานิ้วเพชรชี้ที่ต้นขาตนเองล้มลง นางอัปสรจึงสำแดงตนเป็นพระนารายณ์เหยียบอกนนทกไว้ นนทกว่าพระนารายณ์กลัวตนจึงต้องแปลงร่างมา ก่อนฆ่านนทกตายพระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ มี ๑๐ หัว ๑๐ หน้า และ ๒๐ มือ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีคทาและธนูเป็นอาวุธ (ทศกัณฐ์) ส่วนพระองค์จะเกิดเป็นมนุษย์ (พระราม) แล้วกลับมาต่อสู้กันอีกครั้ง และจะปราบให้ได้เช่นกัน

"ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ ลงไปอุบัติเอาชาติ ใหม่
ให้สิบเศียรสิบพักตร์ เกรียงไกร เหาะเหินเดินอากาศได้ในอัมพร
มี มือยี่สิบซ้ายขวา ถือคฑาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไป ราญรอนชีวี"

หมายเหตุ: ให้ข้อคิดว่าผู้มีพลังอำนาจมากมาย เพียงใด แต่หากขาดคุณธรรมแห่งการปกครองก็ไม่สามารถเอาชนะบุคคลธรรมดาที่เป็นคนดีได้



ภาค ปฐมบท

ท้าว ทศรถ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา มีพระมเหสี ๓ องค์ คือ นางเกาสุริยา นางไกยเกษี และนางสมุทรเทวี ครองราชสมบัติมานานหลายปีแต่ยังไม่มีโอรส จึงทำพิธีกวนข้าวทิพย์ซึ่งส่งกลิ่นหอมไปถึงกรุงลงกา ทศกัณฐ์ใช้ให้นางยักษ์กากนาสูรแปลงร่างเป็นอีกาขโมยข้าวทิพย์ โดยโฉบไปได้เพียงครึ่งก้อน ส่วนข้าวทิพย์ที่เหลือนั้น ท้าวทศรถแบ่งให้มเหสีทั้งสาม ซึ่งต่อมาได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรส โดยนางเกาสุริยาประสูติพระราม นางไกยเกษีประสูติพระพรต นางสมุทรเทวีประสูติพระลักษมณ์และพระสัตรุต
ฝ่ายทศกัณฐ์นำข้าวทิพย์ ครึ่งก้อนให้นางมณโฑผู้เป็นมเหสีกินจึงตั้งครรภ์พระธิดา แต่ขณะที่ ประสูตินั้นพระธิดาร้องว่า "ผลาญราพณ์" ๓ ครั้ง พิเภกและโหรอื่นๆ ทำนายว่าเป็นกาลีบ้านกาลีเมือง ทศกัณฐ์จึงให้นำพระธิดาใส่ผอบลอยน้ำไป พระฤาษีชนกซึ่งเดิมเป็นราชาแห่งเมืองมิถิลาพบเข้าก็เก็บไปฝังดินฝากแม่พระ ธรณีไว้ จนเวลาล่วงไปถึง ๑๖ ปี จึงขุดนางขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่า “สีดา” และกลับไปครองเมืองมิถิลาเช่นเดิม จากนั้นได้จัดพิธียกศรเพื่อหาคู่ครอง ให้นางสีดา พระรามยกศรได้จึงได้อภิเษกกับนางสีดาและพานางกลับไปอยู่ที่กรุงอโยธยา
ต่อ มา ท้าวทศรถดำริจะยกราชสมบัติให้พระราม จึงสอนหลักทศพิธราชธรรมในการปกครองบ้านเมือง แต่นางไกยเกษีทูลขอกรุงอโยธยาให้พระพรต โอรสของตน และขอให้พระรามออกเดินป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เนื่องจากครั้งหนึ่ง ท้าวทศรถไปช่วยปราบปฑูตทันตยักษ์ที่ยกทัพขึ้นไปรุกรานสวรรค์ ในเหตุการณ์ครั้งนั้นนางไกยเกษีมเหสีได้ร่วมเดินทางไปด้วย โดยได้ช่วยเหลือท้าวทศรถให้รอดพ้นจากอันตรายและสามารถเอาชนะกองทัพของยักษ์ ได้ ท้าวทศรถจึงประทานพรว่าจะให้ทุกสิ่งที่นางปรารถนา จึงต้องรักษาสัจจวาจา ซึ่งพระรามก็ยินยอมเพราะเห็นว่าสัจจะแห่งราชาผู้เป็นบิดาของตนนั้นจำเป็น ต้องรักษาไว้ไม่ให้เสื่อมเสีย โดยพระลักษมณ์กับนางสีดา ขอตามเสด็จไปด้วย ก่อนออกเดินทางพระลักษมณ์ได้กล่าวขอให้พระรามทบทวนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพระรามมีอำนาจและเป็นที่รักของประชาชนเหนือใคร สามารถช่วงชิงบัลลังก์คืนได้ทันที แต่พระรามกลับกล่าวว่า “ลักษมณ์เอ๋ย เราต้องจากไปเพื่อรักษาธรรมะและสัจจะแห่งบิดา”
(จบภาคปฐมบท)

หมาย เหตุ : การกระทำของพระรามในการรักษาสัจจวาจาของพระบิดาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทรง ครองทศพิธราชธรรมตั้งแต่เริ่มปฐมบทครบทุกข้ออย่างสมบูรณ์

หลัก ทศพิธ ราชธรรมที่ท้าวทศรถ (พระราชบิดา) ทรงสอนพระราม (พระราชโอรส)ก่อนสละราชสมบัติให้

จากบทละครพระราชนิพนธ์เรื่อง “รามเกียรติ์” ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (เล่ม ๑)

“เมื่อ นั้น พระบิตุรงค์องค์พระจักรกฤษณ์
จึ่งเรียกพระรามมานั่งชิด ทรง ฤทธิ์มีราชบัญชา
พ่อจะให้ ครองสมบัติ สืบวงศ์จักรพรรดินาถา
จงตั้ง อยู่ในทศธรรมา เป็นตราชูโลกทั้งไตรดาล
เจ้าจงเลี้ยงเสนาพลากร ให้ถาวร ดั่งร่มพฤกษาศาล
เอาความ สัตย์สุจริตเป็นประธาน คือรากแก้วกิ่งก้านดอกใบ
อัน ฝูงสัตว์จตุบาททวิบาท จะเกลื่อนกลาดมาพึ่งอาศัย
จง เอาเมตตานั้นแผ่ ไป ดังกลิ่นดอกไม้อันตระการ
จะ หอมขจรทุกประเทศ เย็นเกศไปทั่วทิศาศาล
ทาน นั้นต่างผลโอฬาร หว่านให้บำเหน็จโดยตรา
แก่หมู่เสนีรี้พล ประชาชน ยาจกถ้วนหน้า
ตัดโลภเอา ความกรุณา เป็นปัญจมหานที
ไหลมาไม่ รู้สุดสิ้น อาบกินเป็นสุขเกษมศรี
อย่า เบียด เบียนไพร่ฟ้าประชาชี ให้มีความเดือดร้อนเวทนา
น้ำเย็นฝูงปลาก็ อาศัย ปักษาพึ่งไม้ใบหนา
ป่า กว้างย่อมมีมฤคา พากันมาอยู่สำนัก
จง แผ่เดชาวรายศ ให้ปรากฏเกียรติไปทั้งไตรจักร
แก่มนุษย์เทวัญคนธรรพ์ ยักษ์ ลูกรักจงฟังพ่อสอนไว้”



ทศพิธราชธรรม

ธรรม ๑๐ ประการ สำหรับผู้ปกครองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงบำเพ็ญและยึดมั่นในการปกครองแผ่นดินไทยและอาณาประชา ราษฎร์
ให้มีความสงบสุขร่ม เย็น ตลอด ๖๐ ปีที่ทรงครองราชย์
๑. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
๒. ศีล (ศีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมาย นิติราชประเพณี และในทางศาสนา
๓. บริจาค (ปริจฺจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
๔. ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
๕. ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อ ผู้อาวุโส และอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอกัน และต่ำกว่า
๖. การข่มกิเลส (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
๗. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น หรือแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
๙. ความอดทน (ขนฺติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการของกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย
๑๐. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ


จากวรรณคดี “รามเกียรติ์” สู่ภาพยนตร์ “รามเกียรติ์ แอนิเมชัน”

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญของไทยซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมีที่มาจากเรื่อง รามายณะ (เป็น ๑ ใน ๑๐ ปางที่พระนารายณ์อวตารมาปราบยุคเข็ญ โดยเป็นปางที่ที่มีชื่อว่า “รามาวตาร”) ที่ฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดียแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤตเมื่อประมาณกว่า ๒,๔๐๐ ปีมาแล้ว และแพร่หลายทั่วไปในเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพ่อค้าชาวอินเดียได้นำอารยธรรมและศาสนา ลัทธิพราหมณ์ฮินดูเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้เรื่องรามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคนี้ กลายเป็นเรื่องที่รู้จักกันดี ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรายละเอียดให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของ ประเทศนั้นๆ จึงผิดแผกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย ดังปรากฏว่าหลายๆ ชาติ เช่น ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีเรื่อง “รามเกียรติ์” เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น
เนื้อเรื่อง และสำนวนกลอนในเรื่องรามเกียรติ์มีความไพเราะ สอดแทรกคติธรรมและแง่คิดในด้านต่างๆ ไว้ตลอดทั้งเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความเป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้ปกครอง” คนหนึ่งที่อาจไม่มีความสามารถเก่งกาจเลอเลิศนัก แต่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและความดีงาม ซึ่งทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของเหล่าแม่ทัพนายกอง เสนามาตย์ และประชาชนทั้งหลาย คุณธรรมความดีงามที่ “ผู้นำ” นั้นยึดมั่นก็ส่งผลให้สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้น และนำไปสู่ความสุขสงบร่มเย็น ตลอดจนประสบความสำเร็จเสมอ

รามเกียรติ์ ฉบับต่างๆ ของไทย
วรรณคดี รามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ

กรุงศรีอยุธยา
• รามเกียรติ์บทพากย์ เชื่อกันว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บ้างก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความ ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในช่วงรัชสมัยของพระเพทราชาถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
• รามเกียรติ์บทละคร เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา

กรุงธนบุรี
• รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สำหรับให้คณะละครหลวงเล่น มี ๔ ตอน ได้แก่ ตอนพระมงกุฎ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน ตอนท้าวมาลีวราช ว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง และตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ

กรุงรัตนโกสินทร์
• รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และโปรดเกล้าฯ ให้นำเรื่องรามเกียรติ์จัดทำเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
• รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ และรามเกียรติ์คำพากย์ โดยทรงเลือกเป็นตอนๆ มีสำนวนกลอนที่ไพเราะที่สุด มุ่งให้เป็นบทละครรำสำหรับละครหลวงเล่น
• รัชกาลที่ ๔ ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับเล่นโขนหรือละครเป็นตอนๆ
• รัชกาลที่ ๕ แปลกกว่ารามเกียรติ์ฉบับก่อนๆ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงจารึกไว้ตามเสาพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรงตามภาพวาดที่อยู่ตามฝาผนังเป็นช่องๆ ไป นับร้อยนับพันบท
• รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร (คำพากย์และบทเจรจา) ที่ดัดแปลงจากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อให้เหมาะสมสำหรับใช้ในการเล่นโขน โดยมีเพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้ ๖ ชุดเท่านั้น คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ


นอกจากนี้ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่อง “บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์”
โดยทรงค้นคว้าหา ที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จาก

Credit: http://atcloud.com/stories/85820
17 ก.ค. 53 เวลา 12:48 4,156 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...