http://www.catdumb.com/crook-london-railings-777/
ในแต่ละเมืองแต่ละประเทศนั้นมักมีที่มาและประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่ ซึ่งบางอย่างอาจไม่เคยได้รับการเปิดเผย จนบางทีแม้แต่คนในพื้นที่เองก็ยังไม่รู้เลย อย่างในลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมีรั้วเหล็กที่ถูกทำให้งอในบางจุด แน่นอนว่าหลายคนอาจจะสังเกตเห็น แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้เลยว่าทำไมมันถูกทำให้เป็นแบบนี้
จนเมื่อ Jim Wheble จากสำนักข่าว BBC London News เดินทางไปยังถนนที่มีรั้วเหล็กงอดังกล่าว และได้บอกคนที่เดินผ่านไปผ่านมาเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของรั้วลักษณะนี้
Wheble อธิบายว่ารั้วดังกล่าวนี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นรั้วทั้งหมดซะทีเดียว แต่มันสร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้เป็นเตียงฉุกเฉิน โดยรั้วส่วนที่มีลักษณะทรงโค้งงอตามแนวเสานั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นเปลหามคนเจ็บ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นประมาณ 2-3 นิ้ว และถูกนำมาใช้เป็นรั้วบนถนนหลังสิิ้นสุดสงคราม
นอกจากนี้ Wheble ยังได้พาผู้ชมโฟกัสที่ส่วนเล็กๆ ของรั้ว และตั้งข้อสังเกตว่ามันถูกใช้พาเด็กๆ ที่ได้รับบาเจ็บออกจากเศษหินหรืออิฐในช่วงสงคราม
แล้วเชื่อว่ามั้ยว่าเมื่อผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมารู้ความจริงนี้จาก Wheble ทุกคนถึงกับร้อง ‘ว้าว’ เพราะพวกเขาไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน แม้แต่คนในพื้นที่เองก็ตาม พิธีกรรายพูดต่อไปว่าในช่วงที่เกิดสงคราม ผู้เชี่ยวชาญในทีมรัฐบาลของสหราชอาณาจักรได้คาดการณ์ถึงสถานการณ์หรือหายนะที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว
ดังนั้นพวกเขาจึงต้องสร้างเตียงฉุกเฉินนับพันเตียง เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันและทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
Wheble ได้สัมภาษณ์ Ian Kikuchi นักประวัติศาสตร์ที่ Imperial War Museum เขาบอกว่าผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้บาดเจ็บประมาณ 100,000 รายในช่วง 2-3 เดือนแรกของสงคราม แต่โชคดีที่การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในเวลานั้นไม่ได้เกิดขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกรุงลอนดอนก็ยังเป็นเรื่องน่าเศร้าอยู่ดี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลอนดอนถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง โดยการโจมตีทางอากาศของเยอรมัน อย่างไรก็ตามการโจมตีไม่สามารถทำลายกำลังใจของชาวอังกฤษได้ หรือแม้แต่การทิ้งระเบิดก็ไม่สามารถทำลายอาวุธสงครามของอังกฤษได้เหมืือนกัน ดังนั้นราวเหล็กเหล่านี้จึงกลายเป็นอนุสรณ์แห่งความกล้าหาญและการฟื้นตัวในสถานการณ์ที่ยากลำบากชาวกรุงลอนดอนในช่วงสงครามนั่นเอง
Hidden history of London railings – BBC London News
ที่มา https://www.providr.com/crook-london-railings/