http://www.catdumb.com/bad-mathematic-is-genius-339/
ในสมัยเรียน หลายๆ คนอาจเคยกังวลกับวิชาคณิตศาสตร์ เพราะมันคือหนึ่งในวิชาที่ยากที่สุดและเวลาสอบทีไรคะแนนที่ออกมามันช่างน้อยนิดเสียเหลือเกิน แต่อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะจากการศึกษาในมหาวิทยาลัย Zurich Technical University บอกว่าการไม่เก่งคณิตศาสตร์อาจไม่ได้แปลว่าคุณไม่ฉลาด แต่คุณอาจมีความเป็นอัจฉริยะแฝงอยู่ในตัว
ศาสตราจารย์ Elsbeth Stern บอกว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด ทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถดูออกได้ว่าอันไหนเยอะกว่า อันไหนน้อยกว่า แต่เหตุผลหลักที่ทำให้หลายๆ คนไม่เก่งคณิตศาสตร์คือความผิดพลาดของระบบการศึกษา ที่ไม่สามารถทำให้พวกเขานำคณิตศาสตร์เหล่านั้นมาใช้ในชีวิตจริงได้
Elsbeth พูดว่า “สิ่งสำคัญคือ เรามักจะขาดความเข้าใจในเรื่องของแนวความคิดโดยรวม แม้แต่นักเรียนที่ฉลาดที่สุดก็มักจะไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลเชิงลึกที่ควรได้รับออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แตกต่างออกไปจากในห้องเรียน” นั่นหมายความว่าการที่เราไม่สามารถทำคณิตศาสตร์ได้ อาจเป็นเพราะการศึกษาที่ไม่ดึงดูดหรือเรียกความสนใจของเรา หรือระบบการสอนที่ขาดความประสิทธิภาพ
Elsbeth กล่าวเสริมอีกว่า “บ่อยครั้งที่เด็กถูกสอนให้ท่องจำการคำนวณต่างๆ และไม่สามารถที่จะเข้าใจถึงรากฐานที่แท้จริงของคณิตศาสตร์ได้” “ในการทดลองก่อนหน้านี้ยังบอกอีกว่า หากมีการสอนให้นักเรียนเรียนเรื่องการบวกและคูณไปพร้อมๆ กัน แทนที่จะเรียนทีละอย่างไป จะช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจหลักการของการคำนวณได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในอนาคตได้ดีมากกว่าเดิม”
ภาพนี้ไม่รองรับสำหรับที่นี่ ขอโทษด้วยนะครับ
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมีความสามารถติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่สิ่งที่สำคัญคือแรงจูงใจและความพยายาม โดย Malcolm Gladwell เคยพูดถึงทฤษฎีที่เรียกว่า “กฎ 10,000 ชั่วโมงเอาไว้” อธิบายไว้ว่า หากเราใช้เวลาพยายามฝึกฝนอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งรวม 10,000 ชั่วโมงแล้ว เราก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ กล่าวคือทุกคนสามารถเก่งได้ทุกด้าน อยู่ที่ว่าเรามีความสุขและจะใช้เวลากับสิ่งไหนเท่านั้นเอง ไม่สำคัญว่าเราฉลาดแค่ไหน แต่สำคัญที่ว่าเราชอบมันมากขนาดไหนเท่านั้นเอง
หากใครอยากกลายเป็นอัจฉริยะในเรื่องไหน ก็อย่าลืมออกไปทำมันให้เต็มที่ด้วยนะ
https://www.indy100.com/article/bad-at-maths-school-genius-natural-talent-education-system-practice-research-8105496