ทำไมบริษัทขายยางรถยนต์ “มิชลิน” ต้องมาทำไกด์รีวิวอาหาร “มิชลินสตาร์” ด้วยล่ะ!?

http://www.catdumb.com/michelin-guide-007/

ถ้าหากพูดถึงบริษัท มิชลิน สิ่งหนึ่งที่จะผุดขึ้นมาในหัวของพวกเราเลยนั่นก็คือตุ๊กตาสีขาวหน้ารถ 10 ล้อ เฮ๊ยย!! ไม่ใช่บริษัทผลิตยางระดับโลกต่างหากล่ะ แต่ทว่าถ้าหากคุณเป็นแฟนของหนังเรื่อง Burnt หรือชื่นชอบเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารล่ะก็ อาจจะคุ้นเคยกับหนังสือมิชลินไกด์ บุ๊ก กันเป็นอย่างดี และแน่นอนว่าชื่อที่เหมือนกันซะขนาดนี้คงไม่ใช่ความบังเอิญแน่ๆ แต่บริษัทมิชลิน และมิชลินไกด์ บุ๊ก และเรื่องยางกับอาหารนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร วันนี้ เรา จะพาทุกคนไปหาคำตอบเอง

จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์อันยาวนาน

อย่างที่เราทราบกันดีว่ามิชลินนั้นคือชื่อของบริษัทผลิตยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1889 โดยจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทางมิชลินนั้นหันมาสนใจเกี่ยวกับการทำหนังสือไกด์บุ๊กแนะนำอาหารนั่นก็คือในช่วงปี 1900 ทางบริษัทผู้ผลิตมีนโยบายที่ต้องการเพิ่มปริมาณการจำหน่ายยาง จึงเลือกที่จะใช้ตัวไกด์บุ๊กเป็นสิ่งที่แนะนำให้ลูกค้าอยากที่จะขับรถออกไปนอกบ้าน มิชลินไกด์บุ๊กเล่มแรกถูกตีพิมพ์ออกมาทั้งสิน 35,000 ฉบับ โดยภายในหน้ากระดาษกว่า 400 หน้าอัดแน่นไปด้วยข้อมูลต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นการแนะนำการเปลี่ยนยาง สถานที่ตั้งจุดบริการน้ำมัน โรงแรมที่พักรวมถึงร้านอาหาร และแจกให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ฟรีๆ

แน่นอนว่านี่อาจจะฟังดูเหมือนเรื่องตลก แต่ในสมัยที่ทั่วฝรั่งเศสมีรถยนต์เพียงแค่ 3,000 คัน นี่ก็ถือเป็นแผนการกระตุ้นการใช้รถยนต์ได้ดีทีเดียว และมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของตำนานหนังสือแนะนำร้านอาหารที่น่าเชื่อถือมากที่สุดเล่มหนึ่ง!!

แผนโปรโมตอาจจะไม่ได้ผล!!

แน่นอนว่าการที่บริษัทผลิตยางจะมาแนะนำอะไรแบบนี้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว และยิ่งการแจกฟรีก็ยิ่งทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้ามากเท่าไหร่ มันถูกนำไปใช้ในจุดประสงค์อื่นๆ ที่ไม่ใช่การออกไปตามหาร้านดังๆ อย่าที่ทางบริษัทตั้งใจ ดังนั้นในปี 1920 ทางมิชลินจึงได้มีการจัดทำไกด์บุ๊คใหม่ใหม่และทำการจำหน่ายเป็นครั้งแรก!!

กาลเวลาเริ่มทำงาน

สมุดแนะนำของมิชลินฉบับเรียกเก็บเงินครั้งแรกนั้นได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าอย่างมาก โดยในปีแรกที่เปิดตัวฉบับใหม่นั้นสามารถจำหนายได้มากกว่า 100,000 เล่มเลยทีเดียว จากการสั่งสมประสบการณ์จัดทำหนังสือแนะนำมามากกว่า 20 ปี มิชลินไกด์บุ๊กนั้นเปรียบเสมือนคัมภีร์ของผู้ชื่นชอบการทานอาหาร โดยพวกเขาเริ่มคิดระบบการให้คะแนนดาวกับร้านอาหารต่างๆ ในปี 1926 ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นระบบการให้ดาวแบบ 3 ดาวในปี 1931 และในปีเดียวกันนั้นก็มีการเปลี่ยนปกจากสีฟ้า มาเป็นปกสีแดงอย่างที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันในปัจจุบันอีกด้วย

การจัดอันดับและมาตรฐานของการให้ดาว

การที่จะเป็นหนังสือไกด์บุ๊กระดับโลกนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่มาเพราะโชคช่วย แต่ทางมิชลินเองนั้นจะมีมาตรฐานการให้คะแนนที่เข้มงวดและเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร

โดยหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการให้คะแนนนั้นจะยึดหลัก 5 ประการ คือ

1. คุณภาพของวัตถุดิบ

2. ความชำนาญและเทคนิควิธีการในการประกอบอาหาร

3. อัตลักษณ์ของเชฟที่สะท้อนอยู่ในอาหาร

4. ความคุ้มค่าสมราคา และ

5. ความเสมอต้นเสมอปลายของคุณภาพและรสชาติอาหาร

อีกหนึ่งที่สำคัญของเกณฑ์การประเมินนั่นก็คือผู้ตรวจสอบของมิชลินนั้นจะไม่มีการเปิดเผยตัว และไม่มีการบอกกับทางร้านล่วงหน้าก่อน เพื่อให้การคิดคะแนนมีความเป็นกลางมากที่สุด ในแต่ละปีจะมีเพียงไม่กี่ร้านเท่านั้นที่จะได้ดาวมิชลินนี้ไปครอง ซึ่งในบรรดารายชื่อร้านอาหารต่างๆ ที่อยู่ในมิชลินไกด์บุ๊กนั้นมีร้านที่ได้รับดาวมิชลินเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ส่วนสำหรับพวกเราชาวไทยนั้นก็อาจจะมีโอกาสได้ลิ้มลองรสชาติของร้านอาหารไทยได้ที่ดาวมิชลินกับเค้าด้วยนะ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ก็เพิ่งมีการประกาศคู่มือแนะนำร้านอาหารและที่พักระดับโลกอย่างมิชลิน ไกด์ฉบับกรุงเทพฯ หรือ MICHELIN Guide Bangkok ซึ่งจะมีร้านใดที่ได้ดาวมิชลินไปครองบ้างนั้นก็สามารถติดตามได้ที่แฟนเพจ Michelin Guide Thailand ได้เลย…

ที่มา http://www.straitstimes.com/lifestyle/food/a-short-history-of-the-michelin-guide-how-the-michelin-tyre-company-founded-a-foodie

Credit: http://www.straitstimes.com/lifestyle/food/a-short-history-of-the-michelin-guide-how-the-michelin-tyre-company-founded-a-foodie
13 ธ.ค. 60 เวลา 04:51 984
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...