ทำไม? ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและญี่ปุ่น จึงเลือกที่จะไม่ฝังสายไฟฟ้าลงใต้ดิน

read:http://www.wtfintheworld.com/2017/09/20/why-not-underground-powerline/

เมื่อพูดถึงเรื่องสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เราก็มักจะนึกถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก่อนเป็นอันดับแรก และจะตามมาด้วยความสวยงามของการจัดการระบบสายไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันหลากหลายประเทศก็เริ่มที่จะนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินแล้ว (และในบ้านเราก็เริ่มทำแล้วในบางจังหวัด) แต่เพราะเหตุใด? ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและญี่ปุ่น จึงเลือกที่จะไม่ฝังสายไฟฟ้าลงใต้ดิน

ย้อนกลับไปดูสภาพของเมือง Jersey City หลังประสบกับพายุเฮอร์ริเคนแซนดี้ ในปี 2012

แต่ทว่าการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินนั้นยังไม่อาจสามารถทำได้ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่เราคิดว่าก็ประเทศเหล่านั้นน่าจะทำได้ แต่ด้วยเหตุใดที่ประเทศก้าวหน้า ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจึงไม่ทำ?

ก่อนอื่นเลยต้องเกริ่นว่าประเทศเหล่านี้อยู่ในโซนที่เกิดภัยภิบัติอยู่บ่อยครั้ง อย่างสหรัฐอเมริกาจะต้องเจอกับพายุเฮอร์ริเคนและแผ่นดินไหว ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นก็ต้องเจอพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวในทุกๆ ปี

แผนภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของสหรัฐอเมริกา สีแดงจะเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ตามมาก็คือความเสียหายต่อระบบสายส่งไฟฟ้า ซึ่งจะต้องทำการซ่อมแซมให้รวดเร็วที่สุด โดยเมื่อเทียบกันแล้ว แม้ว่าเสาไฟฟ้ากับสายไฟฟ้าที่อยู่เหนือพื้นดินจะเสียหายมากกว่า แต่สำหรับราคาการซ่อมนั้นถูกกว่าระบบสายไฟฟ้าฝังดินหลายเท่าตัว

ดังนั้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยพิบัติสูงยังคงใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินอยู่เหมือนเดิม

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายในการทำสายส่งไฟฟ้าลงดินจะแพงกว่าการทำสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินประมาณ 3 ถึง 10 เท่า

ราคาของระบบสายไฟฟ้าเหนือพื้นดินจะอยู่ที่ 285,000 ดอลลาร์ต่อ 1.6 กิโลเมตร ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจะอยู่ที่ 1,000,000 ดอลลาร์ต่อ 1.6 กิโลเมตร (ข้อมูลล่าสุดในปี 2015)

สำหรับประเทศญี่ปุ่นจะแพงกว่า 10 ถึง 20 เท่ากันเลยทีเดียว อยู่ที่ 530 ล้านเยนต่อ 1 กิโลเมตร

แผนภาพแสดงความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา

ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุที่ยังไม่มีการทำระบบสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ปลอดความเสี่ยงภัยพิบัติ อันเนื่องมาจากมีจำนวนประชากรอยู่อาศัยน้อย นั่นก็หมายความว่ามีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนระบบการจ่ายไฟฟ้าใต้ดินเนื่องจากเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า (แพงและไม่คุ้ม)

สภาพของเมืองนิวออร์ลีนส์ ในปี 2005 หลังเผชิญกับพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา

จากข้อจำกัดข้างต้น สหรัฐอเมริกาจึงเลือกที่จะใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินอยู่ เพราะสามารถซ่อมแซมได้ง่ายกว่า มีราคาที่ถูกกว่า สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างคงที่ แม้จะต้องเจอกับภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้งก็ตาม

สภาพของเสาไฟฟ้าที่ล้มลงในประเทศญี่ปุ่น จากเหตุแผ่นดินไหวในอดีต

แผ่นดินไหวในเมืองฮิโระชิมะ ปี 2014

และถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความล้ำสมัย มีเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดมากแค่ไหนก็ตาม แต่อย่าลืมว่าประเทศญี่ปุ่นก็ประสบกับแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินก็ยังคงมีอยู่ต่อไป

ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินก็ยังคงมีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ทีนี้รู้รึยังว่า ทำไมบ้านเราถึงยังใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าลงดิน?

ที่มา https://en.rocketnews24.com/2014/09/19/why-does-japan-have-so-many-overhead-power-lines/

https://www.mnn.com/earth-matters/climate-weather/stories/why-doesnt-america-bury-its-power-lines

 

 

Credit: https://en.rocketnews24.com/2014/09/19/why-does-japan-have-so-many-overhead-power-lines/
6 ธ.ค. 60 เวลา 04:42 16,121 1
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...