ประวัติกิจการแพทย์ตำรวจ และสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ประวัติกิจการแพทย์ตำรวจ และสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กิจการแพทย์ตำรวจได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441   รัฐบาลได้เปลี่ยนโรงพยาบาล สำหรับรักษาหญิงโสเภณีที่หลังวัดพลับพลาไชย ซึ่งสร้างปี พ.ศ.2440 มาเป็นโรงพยาบาลตำรวจสำหรับพลตระเวน เพื่อรักษาตำรวจที่เจ็บป่วยพิสูจน์บาดแผลและชันสูตรพลิกศพ เพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่างๆ โดยมีชนชาติอังกฤษ ม.อีริก เชนต์เจ สองสัน มาเป็นเจ้ากรมกองตระเวน ได้ชวนแพทย์ชาวต่างชาติมาช่วยทำการรักษา ประชาชนทั่วไปจึงนิยมมากและเรียกกันว่า “โรงพยาบาลวัดโคก” ต่อมาจึงได้มีแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชมาร่วมคือ ร.ต.อ.ชุนแพทย์ พลตระเวน (ต่อมาเลื่อนเป็นหลวงบริบาลเวชกิจ) ร.ต.ท.ขุนเจน พยาบาล (เจน บุษปวณิช) ต่อมาได้เป็นหัวหน้าแผนกแพทย์และเลื่อนยศเป็น พ.ต.ท.หลวงเจน พยาบาล พ.ศ.2458 กรมกรองตระเวนและกรมตำรวจภูธรรวมกันเป็น “กรมตำรวจ” โรงพยาบาลวัดโคก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลกลาง” และถูกโอนไปสังกัดกองสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจได้จัดตั้งสถานพยาบาลใหม่เรียกว่า “ กองแพทย์กลางกรมตำรวจ” ตั้งอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โดยมี พ.ต.ท.หลวงเจน พยาบาล เป็นหัวหน้ากองทำหน้าที่เช่นเดิม เมื่อต้องการรับรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ก็ส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลกลาง

 

พ.ศ.2458 กรมกรองตระเวนและกรมตำรวจภูธรรวมกันเป็น “กรมตำรวจ” โรงพยาบาลวัดโคก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลกลาง” และถูกโอนไปสังกัดกองสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจได้จัดตั้งสถานพยาบาลใหม่เรียกว่า “ กองแพทย์กลางกรมตำรวจ” ตั้งอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โดยมี พ.ต.ท.หลวงเจน พยาบาล เป็นหัวหน้ากองทำหน้าที่เช่นเดิม เมื่อต้องการรับรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ก็ส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลกลาง
พ.ศ.2477 กองแพทย์กลาง กรมตำรวจ ถูกลดฐานะเป็น “แผนกแพทย์กองกลาง กรมตำรวจ” เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและงบประมาณขณะนั้น


ภาพถ่ายทางอากาศของโรงพยาบาลตำรวจในอดีต

พ.ศ.2482 แผนกแพทย์กลาง ย้ายไปทำการอยู่ที่ตึกหลังใหม่ ภายในกรมตำรวจ ปัจจุบันนับเป็นที่ทำการของกองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสันติบาล
พ.ศ.2483 แผนกแพทย์กลางได้ถูกเปลี่ยนชื่อ แผนก 6 (แพทย์) กองปกครอง
พ.ศ.2490 แผนก 6 (แพทย์) ได้ถูกเปลี่ยนชื่อ แผนก 5 (แพทย์) กองปกครอง
พ.ศ. 2491 แผนก 5 (แพทย์) ถูกยกฐานะเป็น “กองแพทย์กรมตำรวจ” ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการจเรตำรวจ มี พ.ต.ท.ขุนทวี เวชกิจ (แม้น ทวีเวชกิจ) เป็นหัวหน้า ในระยะนี้เริ่มเป็นปึกแผ่นมากขึ้น แบ่งแผนกเป็นแผนกพยาบาล แผนกเวชภัณฑ์


ผุ้ก่อตั้ง: พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์


ตึกชาติตระการโกศล นับเป็นอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลตำรวจ ภาพถ่ายพร้อมโปสเตอร์ภาพยนตร์การกุศลให้กับรพ.ตำรวจ 6ตุลา 250

พ.ศ. 2495 แผนกพยาบาล ได้รับการยกฐานะเป็น โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.พต.) ขึ้นต่อ “กองแพทย์” เปิดอย่างเป็นทางโดย พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจสมัยนั้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2459 โดยมีตึก ชาติตระการโกศล และตึกโอวปุ้นโฮ้ว รับผู้ป่วยได้ 50 เตียง โดยมี พ.ต.อ.ก้าว ณ ระนอง เป็นนายแพทย์ผู้อำนายการ และ พ.ต.ท.แสวง วัจนสวัสดิ์ เป็นหัวหน้ากองแพทย์ ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก มีอาคารทำการ 2 หลัง คือ ตึก “ชาติตระการโกศล” 2 ชั้น (ปัจจุบันได้ถูกรื้อและสร้างแทนด้วย “ตึกเฉลิมพระเกียรติ ร.9” มี 15 ชั้น) และ”ตึกพิบูลสงคราม” มี 3 ชั้น (ปัจจุบันได้ถูกรื้อและสร้างแทนด้วย “ตึกมงคลกาญจนาภิเษก” มี 19 ชั้น) มีจำนวนเตียงทั้งหมด 150 เตียง โรงพยาบาลได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอันมาก จนทำให้ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้เพียงพอ พ.ศ.2496 จึงได้เปิดตึก “พิบูลสงคราม” เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2496 รับผู้ป่วยได้ 150 เตียง

พ.ศ.2497 จึงได้เปิดตึก “ละเอียดพิบูลสงคราม” เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 1497 เป็นตึกผ่าตัดและที่ทำการกองแพทย์

์พ.ศ. 2503 กิจการกองแพทย์ตำรวจเจริญรุดหน้ามาโดยลำดับ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กรมตำรวจได้มีคำสั่งตั้ง พ.ต.อ.อุทัย ศรีอรุณ เป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการ พ.ต.อ.บรรจง สถิรแพทย์ เป็นรองผู้อำนวยการ และ พ.ต.ต. แสวง วัจนสวัสดิ์ เป็นหัวหน้ากองแพทย์ และให้กองแพทย์ตำรวจ ไปขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ


ตึกพิบูลย์สงคราม


ตึกตวงสิทธิ์อนุสรณ

พ.ศ. 2507 วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เปิดตึกคนไข้พิเศษทางศัลยกรรม ขนาด 34 เตียง ชื่อตึก “ตวงสิทธิ์อนุสรณ์” พ.ศ. 2507 โรงพยาบาลได้รับอนุมัติให้มีการวางแผนขยายเตียง เพื่อให้รับ ผู้ป่วยได้ถึง 1,500 เตียง ในระยะเวลา 15 ปี พ.ศ. 2510 วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2510 โรงพยาบาลตำรวจ เปิด “ตึกรุจิรวงศ์” เพื่อรับคนไข้พิเศษทางอายุรกรรม และ “ตึกศรีวิกรณ์ 1-3 “ สร้างโดยเงินบริจาคเพื่อให้เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือบุคคลสำคัญ

พ.ศ. 2511 วันที่ 10 มกราคม 2511 โรงพยาบาลตำรวจ เปิด “ตึกบุญพินิจ” และ วันที่ 23 สิงหาคม 2511 เปิด “ตึกทองหล่อทรงสะอาด” เป็นตึกทำการของงานเวชศาสตร์ฟื้นฟ


ตึกศรีวิกรณ์ 1-3


ตึกอำนวยการ

ูพ.ศ. 2512 วันที่ 26 ธันวาคม 2512 โรงพยาบาลตำรวจ เปิด “ตึกอำนวยการและอุบัติเหตุ” เป็นอาคาร 5 ชั้น สร้างด้วยเงินบริจาค จากสำนักงานสลากกินแบ่ง และเงินทุนรุจิรวงศ์ เวลาต่อมา โรงพยาบาลตำรวจ ต้องขยายเตียงจาก 150 เตียง เป็น
200 เตียง ในปี พ.ศ. 2510
260 เตียง ในปี พ.ศ. 2521
300 เตียง ในปี พ.ศ. 2523
400 เตียง ในปี พ.ศ. 2524
500 เตียง ในปี พ.ศ. 2525
680 เตียง ในปี พ.ศ. 2529
800 เตียง ในปี พ.ศ. 2532
850 เตียง ในปี พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2522 กองแพทย์ได้รับการยกฐานะเป็น “สำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.)” ตั้งแต่ 26 เมษายน 2522 มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น 4 กองบังคับการ และ 1 งาน คือ
กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.)
โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.)
วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ (วพ.)
สถาบันนิติเวชวิทยา (นต.)
งานโรงพยาบาลดารารัศมี (ดร.)

พ.ศ. 2535 เปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 308 เตียง เป็นห้อง ไอ.ซี.ยู. หอผู้ป่วยพิเศษ และสามัญ ดาดฟ้าเป็นลาดจอดเฮลิคอปเตอร์
ดำเนินการก่อสร้าง โดยมูลนิธิ รพ.ตำรวจ เป็นผู้จัดหาเงินบริจาค ค่าก่อสร้าง ธนาคารทหารไทย จัดสร้างให้ 7 ชั้น วงเงิน 36 ล้านบาท ต่อมา ขยายเป็น 15 ชั้น ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น และอุปกรณ์ต่างๆประมาณ 200 ล้านบาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิดอาคาร 16 ม.ค. 2535 ได้เปิดดำเนินการเป็นบางส่วนแล้ว ถึงชั้น 12 จะทยอยเปิด ตามอัตรากำลังพล


อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9


อาคารบำบัดน้ำเสีย-ที่จอดรถ-หอพัก

พ.ศ. 2536 พต. ทำการรื้อตึกพิบูลสงคราม และตึกละเอียดพิบูลสงคราม เพื่อทำการก่อสร้างอาคารบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งชั้นบนเป็นที่จอดรถ เริ่มสร้างวันที่ 3 กันยายน 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2538 ด้วยงบประมาณ 172 ล้านบาท พ.ศ. 2534 พต. ทำการรื้อถอนตึกรังสีและทันตกรรม ตึกโอวบุ้นโฮว้ ตึกไกลมานนท์ เพื่อทำการก่อสร้างตึกเฉลิมพระเกียรติราชินี เริ่มสร้างวันที่ 1 มีนาคม 2537 แล้วเสร็จวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ด้วยเงินงบประมาณ 175 ล้านบาท


ตึกเฉลิมพระเกียรติราชินี


อาคารมงคลกาญจนภิเษก

พ.ศ. 2538 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 พต. ทำการก่อสร้างอาคารมงคลกาญจนภิเษก ตรงบริเวณด้านหลังตึกเฉลิมพระเกียรติ ด้วยเงินงบประมาณ 293 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นตึกผู้ป่วยศัลยกรรม และออร์โธปิดิกส์ ดังนี้ ชั้นที่ 2-3-4 เป็นห้องผ่าตัด ชั้นที่ 5-6-7 เป็นสำนักงานแพทย์ วิสัญญี ศัลยแพทย์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 8-9-10 เป็นตึกผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ 11-12-13 เป็นตึกผู้ป่วยพิเศษ และในวันเดียวกันได้ทำการก่อสร้างอาคารที่พักพยาบาลในบริเวณด้านหลังของโรงพยาบาลตำรวจตรงตำแหน่งหอพักเก่า เป็นอาคารสูง 14 ชั้น สามารถใช้เป็นที่พักพยาบาลได้จำนวน 704 คน ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 137 ล้านบาท


หอพักพยาบาล

บรรณานุกรม:
1.อนุสรณ์ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด "ตึกพักพยาบาล" 2508
2.อนุสรณ์ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด "ตึกรุจิรวงศ์ และ ตึกศรีวิกรม์1-2" 2510
3.อนุสรณ์ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด "ตึกอำนวยการและอุบัติเหตุโรงพยาบาลตำรวจ" 2512
4.อนุสรณ์ในพิธีเปิด "ตึกคุณวิศาล" 2521
5.อนุสรณ์ในพิธรับมอบและเปิดลานจอดเฮลิคอปเตอร์ศูนย์ส่งกลับ 2525
6.อนุสรณ์อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ร.๙ โรงพยาบาลตำรวจ 2535 
7.โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยเพื่อถวายเป็นราชสักการะและเฉลิมพระเกียรติ์พระบรมราชินีนาถ   2539
8.โครงการก่อสร้างอาคารศัลยกรรม (มงคลกาญจนภิเษก) 2536
9.โครงการพัฒนาปรับปรุงอาคารหอพักพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ 2537


Credit: http://www.policehospital.go.th/main/view.php?group=1&id=96
15 ก.ค. 53 เวลา 22:22 5,099 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...