รถจักรไอน้ำแห่งสยามประเทศ


ในบรรดารถจักรไอน้ำที่มีการสั่งนำเข้ามาใช้งานในเมืองไทยนับแต่อดีตนั้น นับว่ามีหลากชนิดและหลายผู้ผลิต แม้นในยุคสุดท้ายของรถจักรไอน้ำไทยส่วนใหญ่จะนิยมสั่งรถจักรไอน้ำจากผู้ผลิต ในญี่ปุ่นก็ตาม แต่ในยุคต้น ๆ ของกิจการรถไฟนั้น รถจักรที่ได้รับการยอมรับมากทั่วโลกเป็นอันดับต้น ๆ คือรถจักรไอน้ำที่ผลิตจากประเทศอังกฤษ,อเมริกา และเยอรมันนี เนื่องจากประเทศเหล่านี้ นับเป็นผู้นำและมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพลังงานไอน้ำมาก

ในมุมมองของ ผู้ที่พิศมัยในรถจักรไอน้ำ โดยเฉพาะภาพลักษณ์ในเชิงศิลปะ นอกจากจะมองในแง่ของความงดงามด้านการออกแบบแล้ว ยังคงมองในเรื่องของภาพที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง บึกบึน อดทนในรูปลักษณ์อีกด้วย



วันนี้ ผมใคร่ขอแนะนำ รถจักรไอน้ำชนิดหกล้อ แบบที่เรียกกันว่า ซิกซ์ คัพเปลอร์ (Six Coupler)

รถ จักรไอน้ำ แบบ ซิกซ์ คัพเปลอร์ เป็นรถจักรไอน้ำที่มีการจัดวางล้อ แบบ 0-6-0 นั้นคือ มีเฉพาะล้อกำลังจำนวน 6 ล้อ ล้วน ๆ โดยไม่มีล้อลำเลียงรวมอยู่ด้วย
ซิกส์คัพเปลอร์ ในหลาย ๆ ผู้ผลิตนั้น ส่วนใหญ่มักยึดเอารูปแบบและรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสาเหตุอันเนื่องมากจากระบบการจัดรูปแบบวางล้อที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่สามารถออกแบบรูปลักษณ์ให้แตกต่างมากมายนัก

สำหรับ ซิกซ์ คัพเปลอร์ ประเทศไทย มีการสั่งนำเข้ามายัง 2 แหล่งผู้ผลิต คือ ประเทศอังกฤษ และประเทศเยอรมนี โดยแบ่งออกเป็นการใช้งานบนราง 2 ประเภท คือ รางขนาด 60 เซนติเมตร


รถจักรไอน้ำ ซิกส์ คัพเปลอร์ รุ่นเลขที่ 9 - 10 เป็นรถจักรไอน้ำที่ผลิตโดย บริษัท เพคเก็ต แอนด์ ซันส์ ในประเทศอังกฤษ (Peckett & Sons)







รถจักรไอน้ำ ซิกส์ คัพเปลอร์ รุ่นเลขที่ 51-54 และ 55-56 เป็นรถจักรไอน้ำที่ผลิตโดย บริษัท แฮนด์เชล แอนด์ ซัน (Henchel & Sohn,) รางขนาด 1 เมตร





รถ จักรไอน้ำ ซิกส์ คัพเปลอร์ รุ่นเลขที่ 57-62 และ 63 เป็นรถจักรไอน้ำที่ผลิตโดย บริษัท บรูช อิเลคทริคอล เอนจิเนียริ่งในประเทศอังกฤษ (Brush Electrical Engineering) รุ่นนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกจากแบบเดิม โดยเฉพาะไฟส่องที่มีขนาดใหญ่ และโดดเด่นขึ้นกว่าแบบเดิมมาก


รถ จักรไอน้ำ ชนิดนี้ ในภายหลังได้ถูกนำใช้สำหรับการทำงานด้านสับเปลี่ยนรถแทนการวิ่งทำขบวนรถ แม้นไม่โดดเด่น หรือดุดัน ทว่า การได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน แบบผุ้ปิดทองหลังพระของการรถไฟ ก็ต้องถือว่า นี่คือ สุดยอดแห่งความทรงจำของรถจักไอน้ำแห่งสยามอีกรุ่นหนึ่งเช่นกัน


Credit: http://www.locosiam.com
15 ก.ค. 53 เวลา 22:06 5,697 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...