007 รหัสเพชฌฆาต
โปสเตอร์จากบอนด์ภาค พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (Casino Royale)
จากนวนิยายสุดคลาสสิขจากปลายปากกาของ เอียน เฟลมมิ่ง นักเขียนนิยายสายลับชื่อก้องโลก
เอียน เฟลมมิ่ง ใช้ประสพการณ์จากชีวิตส่วนตัวที่เคยทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองแห่งกองทัพเรืออังกฤษมาเขียนเป็นนิยาย โดยตอนแรกถูกตีพิมพ์ขึ้น เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.
2495
ใบหน้าของบอนด์ตามความคิดของเฟลมมิ่ง
ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็น
สัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิด กฎหมาย ซึ่งในประเด็นนี้ ได้มีนักวิเคราะห์บางคนแสดงทัศนะว่า
เฟลมมิงน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสายลับชาวอังกฤษผู้หนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ได้ส่งสารลับมาถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ด้วยรหัส 00 ซึ่งมี
ความหมายว่า "สำหรับพระเนตรของพระองค์เท่านั้น" (For Your Eyes Only)
เจมส์ บอนด์ในรูปแบบต่างๆ
เนื้อเรื่องจากวรรณกรรมชิ้นนี้ ได้มีผู้ที่นำไปสร้างและดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ และสื่อบันเทิงชนิดต่าง ๆ มากมาย
จนถึงตอนนี้ (พ.ศ. 2552) เจมส์ บอนด์ ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไปแล้ว 22 เรื่อง สร้างเป็นภาพยนตร์อิสระอีก 2 เรื่อง และนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์
ของอเมริกาอีก 1 เรื่อง
ในบรรดาผลงานเหล่านี้ทั้งหมด ภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ผลิตโดยอีโอเอ็น โปรดักชัน ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ที่มีความเป็น “ทางการ” มากที่สุด โดยโป
รดิวเซอร์ผู้ที่ฝากผลงานในภาพยนตร์ชุดนี้ไว้มากที่สุดได้แก่ อัลเบิร์ต อาร์ “คับบี” บรอคโคลี และแฮรรี ซอลท์ซ์แมน โดยเขาทั้งสองได้ทำหน้าที่นี้จนถึงปีพ.ศ. 2518 พอ
มาถึงปีพ.ศ. 2538 (อีก 20 ปีต่อมา) บาร์บารา บรอคโคลี และไมเคิล จี วิลสัน บุตรสาวและบุตรชายบุญธรรมของอัลเบิร์ต อาร์ บรอคโคลี ก็ได้มาร่วมกันสืบทอดหน้าที่นี้
แทน
ช่วงแรก ลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ทั้งหมดนั้น เป็นของบริษัทของบรอคโคลีกับซอลท์ซ์แมนที่ชื่อ Danjaq โดยพวกเขาถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของดังกล่าวผ่าน
ทางอีโอเอ็น แต่ต่อมาเมื่อซอลท์ซ์แมนขายหุ้นในบริษัท Danjaq ของตนให้กับยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์ ไปในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 สิทธิ์ความเป็นเจ้าของก็ถูกแบ่งให้กับยู
ไนเต็ด อาร์ตติสทส์ ด้วยส่วนหนึ่ง
ส่วนในปัจจุบันนี้ ลิขสิทธิ์การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ได้เปลี่ยนมือมาเป็นของโคลัมเบีย พิคเจอร์ กับเอ็มจีเอ็ม (บริษัทแม่ของยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์) แล้ว
ภาพของผู้รับบท เจมส์ บอนด์ ทั้ง 6 คน มีรายชื่อดังนี้ แถวบนจากซ้ายไปขวา ฌอน คอนเนอรี่,จอร์จ ลาเซนบี้,โรเจอร์ มัวร์ แถวล่างจากซ้ายไปขวา ทิโมธี ดาลตัน,เพียร์ซ
บรอสแนน,แดเนี่ยล เคร็ก
ในส่วนของนักแสดงที่มารับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ชุดที่ผลิตโดยอีโอเอ็น เมื่อนับจากเรื่องแรกจนถึงปัจจุบัน ก็มีทั้งหมด 6 คนด้วยกัน ได้แก่
1. ฌอน คอนเนอรี่ (พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2510; พ.ศ. 2514)
2. จอร์จ ลาเซนบี้ (พ.ศ. 2512)
3. โรเจอร์ มัวร์ (พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2528)
4. ทิโมธี ดาลตัน (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2532)
5. เพียร์ซ บรอสแนน (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2545)
6. แดเนี่ยล เคร็ก (พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน)
นอกจากนี้ ก็ยังมีนักแสดงท่านอื่น ๆ อีกที่มารับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในผลงานที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็น ซึ่งได้แก่
* แบร์รี เนลสัน ได้แสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์ชุด ฉายทางโทรทัศน์ของอเมริกาช่องซีบีเอส เรื่อง ไคลแม็กซ์! ชื่อตอน คาสิโน โรแยล (พ.ศ. 2497)
* บ็อบ ฮอลเนสส์ รับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในละครวิทยุของแอฟริกาใต้เรื่อง มูนเรเกอร์ (พ.ศ. 2499)
* เดวิด นิเว็น, วูดดี อัลเลน, และปีเตอร์ เซลเลอร์ ทั้งสามคนได้แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ (คือเป็นสายลับสามคนที่ใช้ชื่อเจมส์ บอนด์ เหมือนกันหมด) ใน คาสิโน โรแยล
เวอร์ชันภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็น (พ.ศ. 2510) โดยลักษณะของเจมส์ บอนด์ ในเรื่องนี้จะเน้นไปที่ความตลกมากกว่ามาดเท่ ๆ และเสน่ห์ที่ดึงดูดเพศตรงข้าม
ผลิตโดยโคลัมเบียพิคเจอร์ส
โปสเตอร์เจมส์ บอนด์ ตอน Casino Royale แสดงโดย ดาเนียล เคร็ก
* และ คริสโตเฟอร์ คาเซโนเว แสดงเป็นบอนด์ในตอนหนึ่งของสารคดีช่องบีบีซีชื่อ ออมนิบัส: เดอะ บริทิช ฮีโร่ (พ.ศ. 2516)
* นอกจากนั้น โรเจอร์ มัวร์ และฌอน คอนเนอรี สองนักแสดงที่รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ชุดของอีโอเอ็น ก็ยังเคยแสดงบทบาทเดียวกันในรายการโทรทัศน์
และภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็นมาแล้ว โดยในช่วงฤดูร้อนปีพ.ศ. 2507 โรเจอร์ มัวร์ เคยแสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ในตอนหนึ่งของรายการตลกทางโทรทัศน์ชื่อ เมนลี
มิลลิเซ็นท์ (ดำเนินรายการโดย มิลลิเซ็นท์ มาร์ติน) ซึ่งต่อมาการแสดงในตอนนี้ของเขาได้ถูกนำมาบันทึกเอาไว้ในส่วนพิเศษของดีวีดีภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เรื่อง Live
And Let Die (พยัคฆ์มฤตยู 007) ที่นำมาผลิตใหม่ ส่วนในปีพ.ศ. 2526 คอนเนอรีก็กลับมารับบทเจมส์ บอนด์ อีกครั้งในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ที่ไม่ได้ผลิตโดย
อีโอเอ็นเรื่อง Never Say Never Again (พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์) ซึ่งเป็นการผลิตใหม่(Remake) ของภาพยนตร์เรื่อง Thunderball (ธันเดอร์บอลล์ 007) ที่
เคยออกฉายมาครั้งหนึ่งแล้วในปีพ.ศ. 2508
ส่วนภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ (ของอีโอเอ็น) เรื่องที่ 21 นั้น มีชื่อว่า Casino Royale หรือในชื่อไทย 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก ผู้ที่แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ใน
เรื่องนี้คือ ดาเนียล เคร็ก ได้มีการจัดฉายรอบปฐมทัศน์ไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางจะเริ่มฉายถัดจากวันนั้นไปหนึ่งวัน
ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มฉายวันแรกในวันที่ 16 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน
นอกจากวรรณกรรมและภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ ยังได้กลายมาเป็นวีดีโอเกม หนังสือการ์ตูน การ์ตูนที่นำเสนอเป็นตอนในหนังสือพิมพ์ และยังถูกนำมาล้อเลียนในสื่อ
ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
การถ่ายทำในประเทศไทย ในเรื่อง เพชฌฆาตปืนทอง
เจมส์ บอนด์กับประเทศไทย
ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เคยเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย 2 ครั้ง โดยครั้งแรกคือการถ่ายทำตอน เพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun)
สถานที่ถ่ายทำคือเกาะพีพีเลและเกาะตะปูในจังหวัดพังงา ซึ่งหลังจากที่ภาพยนตร์ชุดนี้ออกฉาย ได้ทำให้สถานที่แห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์สถาน
ที่ท่องเที่ยวไปในตัว จนเกาะทั้งสองเกาะนี้ถูกเรียกว่า "เกาะเจมส์ บอนด์" (James Bond Island) และครั้งที่ 2 คือ ตอน พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (Tomorrow
Never Dies) โดยถ่ายทำกันที่ตึกสินสาธร ย่านธนบุรี โดยในฉากแอ๊คชั่นที่บอนด์กับนางเอกต้องกระโดดลงมาจากยอดตึก นักแสดงแทนตัวเอกฝ่ายหญิงนั้น เป็นนัก
ศึกษาสาวชาวไทยเอง
ในราวปี พ.ศ. 2534 "รายการท็อปเท็น" ทางช่อง 9 เคยนำเสนอซีรีส์สั้น ๆ เกี่ยวกับเจมส์ บอนด์ โดยนักแสดงชาวไทยที่รับบทเจมส์ บอนด์ คือ ธานินทร์ ทัพมงคล
ผลงานชุดเจมส์ บอนด์
นวนิยาย
นวนิยายเรื่องยาวชุดเจมส์ บอนด์ ทั้ง 14 เรื่องนี้ เป็นผลงานการประพันธ์ของเอียน เฟลมมิ่ง ทั้งหมด
ลำดับ ชื่อเรื่อง ปีที่ออกตีพิมพ์
1 Casino Royale พ.ศ. 2496
2 Live And Let Die พ.ศ. 2497
3 Moonraker พ.ศ. 2498
4 Diamonds Are Forever พ.ศ. 2499
5 From Russia With Love พ.ศ. 2500
6 Dr. No พ.ศ. 2501
7 Goldfinger พ.ศ. 2502
8 For Your Eyes Only (เรื่องสั้น) พ.ศ. 2503
9 Thunderball พ.ศ. 2504
10 The Spy Who Loved Me พ.ศ. 2505
11 On Her Majesty's Secret Service พ.ศ. 2506
12 You Only Live Twice พ.ศ. 2507
13 The Man With The Golden Gun พ.ศ. 2508
14 Octopussy and The Living Daylights (เรื่องสั้น) พ.ศ. 2509
เรื่องสั้น
เรื่องสั้นชุดเจมส์ บอนด์ ทั้ง 9 เรื่อง ก็เป็นผลงานประพันธ์ของเอียน เฟลมมิง อีกเช่นกัน โดยลำดับที่ 1-5 จะรวมอยู่ในเล่ม For Your Eyes Only และลำดับที่ 6-9
จะรวมอยู่ในเล่ม Octopussy and The Living Daylights
ลำดับ ชื่อเรื่องภาษาไทย (ภาษาอังกฤษ) ปีที่ออกตีพิมพ์
1 ฟอรม อะ วิว ทู อะ คิล (From a View To a Kill) พ.ศ. 2503
2 ฟอร์ ยัวร์ อายส์ โอนลี (For Your Eyes Only) พ.ศ. 2503
3 ควอนตัม ออฟ ซอเลซ (Quantun of Solace) พ.ศ. 2503
4 ลิซิโค (Risico) พ.ศ. 2503
5 เดอะ ฮิลเดอแบรนด์ ราริตี (The Hildebrand Rarity) พ.ศ. 2503
6 อ็อคโตปุสซี (Octopussy) พ.ศ. 2509
7 เดอะ พรอเพอร์ตี ออฟ อะ เลดี (The Property of a Lady) พ.ศ. 2509
8 เดอะ ลีฟวิง เดย์ไลทส์ (The Living Daylights) พ.ศ. 2509
9 007 อิน นิวยอร์ก (007 In New York) พ.ศ. 2509
ภาพยนตร์
ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ทั้ง 22 เรื่องนี้ เป็นผลงานการผลิตโดยอีโอเอ็น โปรดักชัน และเป็นภาพยนตร์ซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอันดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
รองจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์
1 พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No)
2 เพชฌฆาต 007 (From Russia With Love)
3 จอมมฤตยู 007 (Goldfinger)
4 ธันเดอร์บอลล์ (Thunderball)
5 จอมมหากาฬ 007 (You Only Live Twice)
6 ยอดพยัคฆ์ราชินี (On Her Majesty's Secret Service)
7 เพชรพยัคฆราช (Diamonds Are Forever)
8 พยัคฆ์มฤตยู 007 (Live and Let Die)
9 เพชฌฆาตปืนทอง (The Man With The Golden Gun)
10 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก (The Spy Who Loved Me)
11 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ (Moonraker)
12 เจาะดวงตาเพชฌฆาต (For Your Eyes Only)
13 เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ (Octopussy)
14 พยัคฆ์ร้ายพญายม (A View to a Kill)
15 พยัคฆ์สะบัดลาย (The Living Daylights)
16 รหัสสังหาร (Licence to Kill)
17 พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก (GoldenEye)
18 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (Tomorrow Never Dies)
19 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก (The World Is Not Enough)
20 ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ (Die Another Day)
21 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (Casino Royale)
22 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก (Quantum of Solace)
ข้อมูลและบทความข้างต้น ขอขอบคุณวิกิพีเดีย ครับ