รถสามล้อ สกายแล็บ

รถสามล้อ สกายแล็บ


ภาพจาก http://www.tourthai.com/gallery/images025/samlor009.jpg

…เช้ามืด วันของอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2524 เมื่อเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ประชาชนชาวเชียงคานต่างพากันแตกตื่นกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่มีลูกไฟขนาด ใหญ่ มีความสว่างกว่าแสงของดวงจันทร์พุ่งผ่านจนเกิดควันพวยพุ่งเป็นทางยาว แล้วระเบิดเหนือท้องฟ้าอำเภอเชียงคาน ส่งเสียงดังกึกก้องกัมปนาท จนได้ยินไปทั่วจังหวัดเลยและพื้นที่ใกล้เคียง...

…ประชาชนชาว เชียงคานต่างโจทก์จันกันไปต่างๆนาๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนถึงกับพนมมือสวดมนต์ หรือทำพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อ หวังปัดเป่าให้รอดพ้นจากภัยพิบัติที่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร แม้แต่คนหนุ่มสาวที่มีกำลังวังชาถึงขนาดไม่ยอมออกไปทำงานนอกบ้านเพราะกลัว วัตถุประหลาดจากท้องฟ้าหล่นใส่ เด็กเล็กๆที่กำลังงอแงถึงขนาดหยุดร้องหากขู่ด้วยเรื่องดังกล่าว...

ลือ กันว่า “สกายแลบตกที่เชียงคาน” …ในยุคสมัยนั้นประชาชนชาวเชียงคาน ยังมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน (ซึ่งยังคงเป็นเสน่ห์ที่ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน) ประกอบกับยังมีสื่อในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารน้อย ข่าวลือนี้จึงแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ฮือฮาและแตกตื่นกันอยู่พักใหญ่ จากหัวบ้านยันท้ายบ้านลามไปถึงหมู่บ้านใกล้เคียงเหมือนไฟลามทุ่ง แม้แต่สามล้อก็ยังเรียกสามล้อสกายแลบ

…ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศต่างๆในโลกนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ซึ่งผู้นำทั้ง 2 ค่าย ต่างก็แข่งขันกันเพื่อก้าวเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก โดยการแผ่ขยายลัทธิของตนรวมถึงเป็นตัวการสนับสนุนให้เกิดสงครามขึ้นใน ภูมิภาคต่างๆ เช่น เวียดนาม อัฟกานิสถาน การเผชิญหน้าในเรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงจนเป็นชนวน ให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 เพราะต่างก็มีไม่ทราบว่าอีกฝ่ายมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสงครามไปถึง ระดับใด ทำให้เกิดเป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เรียกว่า “สงครามเย็น”

…สงคราม เย็นนี้เอง เป็นเหตุให้ต้องมีการส่งเสริมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในระดับสูง ทำให้ต่างฝ่ายมุ่งวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านอวกาศ มีการศึกษาและปรับปรุงแผนการโคจรของดาวเทียมสื่อสารเพื่อสืบความลับและจาร กรรมข้อมูล โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียตได้ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศสปุตนิกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหน้า จึงริเริ่มจัดตั้งองค์การนาซ่าขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2501 เพื่อพัฒนาและศึกษาวิจัยด้านอวกาศอย่างจริงจัง โครงการอพอลโลเป็นโครงการที่สหรัฐอเมริกามีแผนนำมากู้หน้า โดยมีเป้าหมายในการนำมนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ จนกระทั่งในวันที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ.2506 ยานอพอลโล 11 ก็สามารถนำ นีล อาร์มสตรองมนุษย์อวกาศคนแรกลงเหยียบพื้นดวงจันทร์ได้เป็นผลสำเร็จ...

…แม้ จะประสพความสำเร็จในการส่งมนุษย์อวกาศเหยียบดวงจันทร์ แต่สหรัฐอเมริกาก็ต้องปิดโครงการอพอลโลลงก่อนกำหนด ในปี พ.ศ. 2515 เพราะสหภาพโซเวียตไม่ยอมแข่งขันในเรื่องนี้ แต่กับมุ่งพัฒนาไปในเรื่องสถานีอวกาศ ทำให้สหรัฐอเมริกาเปิดโครงการใหม่ด้านสถานีอวกาศและส่ง “สกายแลบ 1” ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่ทดลองและสถานีประจำการของมนุษย์ในอวกาศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อแข่งกับสถานีอวกาศซาลยุตของสหภาพโซเวียต...

…ตาม เป้าหมายแล้วสกายแลบจะต้องอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 10 ปี แต่เอาเข้าจริงๆ ภายหลังจากปฏิบัติงานได้เพียง 9 เดือน ก็ต้องหยุดการทดลองลง ปล่อยทิ้งให้สถานีอวกาศสกายแลบโคจรไปรอบๆโลกอย่างไม่มีจุดหมาย จนเมื่อเข้าใกล้ชั้นบรรยากาศจึงตกลงสู่พื้นโลกในอีก 6 ปีต่อมา บริเวณมหาสมุทรอินเดียและตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก (แม้แต่ผู้ผลิตรถสามล้อยังนำมาใช้เรียกแบบสามล้อในสมัยนั้นว่าสกายแลบ) และเป็นสาเหตุของข่าวลือเรื่องสกายแลบตกที่เชียงคาน เพราะเข้าใจว่าเป็นเศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศสกายแลบที่ยังคงหลงเหลืออยู่

…ภาย หลังเกิดปรากฎการณ์ ทีมสำรวจจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.ระวี ภาวิไล ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ แล้วสรุปว่าปรากฎการณ์ลูกไฟอำเภอเชียงคานนั้น แท้จริงเป็นอุกกาบาตไม่ใช่เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศสกายแลบแต่อย่างไร โดยทีมสำรวจสามารถเก็บรวบรวมชิ้นส่วนอุกกาบาตได้จำนวนถึง 31 ก้อน น้ำหนักรวม 367 กรัม ลูกใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักถึง 51.3 กรัม ลักษณะโครงสร้างเป็นอุกกาบาตเนื้อหิน (ชนิดของอุกกาบาต แบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ หิน เหล็ก และ เหล็กปนหิน) สันนิษฐานว่าอุกกาบาตเชียงคานน่าจะเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล ต้นกำเนิดของฝนดาวตกสิงโตหรือลีโอนิค ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงวันที่ 16-17 พฤศจิกายนของทุกปี















 

Credit: scimovie
15 ก.ค. 53 เวลา 21:06 13,932 3 64
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...