ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์ ช้างเผือกตามตำราคชลักษณ์นั้นแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท และมีลักษณะอันเป็นมงคล ๗ ประการ คือ มีตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อใหม่ ขนขาว ขนหางยาว และอัณฑโกศสีขาวหรือสีหม้อใหม่
คือ ๑.ช้างเผือกเอก เรียกว่า สารเศวตร หรือ สารเศวตพรรณ เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์และมีลักษณะพิเศษ คือ ร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ สีดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง
๒.ช้างเผือกโท เรียกว่า ปทุมหัตถี มีผิวสีชมพูดูคล้ายสีกลีบดอกบัวแดงแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก
๓.ช้างเผือกตรี เรียกว่า เศวตรคชลักษณ์ มีสีดุจใบตองอ่อนตากแห้ง เป็นช้างมงคล ใครผู้ใดพบเห็นช้าง ที่มีลักษณะดี เด่นไปจากช้างทั่วไปในป่า หรือที่ใดก็ตาม พระราชบัญญัติ รักษาช้างป่า ต้องทำการแจ้งให้ทางการทราบ
เพื่อที่ทางสำนักพระราชวังจะจัดตั้งผู้ชำนาญคชลักษณ์ ไปตรวจสอบ ดูลักษณะของช้าง ภายนอกจะต้องได้สัดส่วน ทั้งขนาดหัว ลำตัว หาง ขา หู ความโค้ง ของกระดูกสันหลัง ต่อไปดูที่สีผิวของตัวช้างว่ามีสีอะไร ถ้าเป็นลูกช้าง บางครั้ง จะแลไม่เห็นสีที่แท้จริงของตัวช้าง ต้องเอามะขามเปียกประมาณ 3-4 กิโลกรัม ใส่กระป๋องใหญ่ เคล้ากับน้ำ
ให้ละลาย แล้วนำมาทาตัวช้างให้ทั่ว หมักทิ้งไว้ข้ามคืน รุ่งเช้าจึงทำการล้างออก ก็จะแลเห็นสีที่แท้จริงของผิวช้าง การล้างนี้ ห้ามใช้ผงซักฟอก สบู่ เพราะในตัวช้างมีกลิ่นตัวอยู่ ถ้าใช้ผงซักฟอก หรือสบู่ล้าง อาจทำลายกลิ่นจริง ๆ ของช้างเสียหมด
นอกจากนี้ ไม่ควรใช้แปรงขนแข็ง มาขัดผิว เพราะจะทำให้ขนที่ผิวหลุดไปหรือผิวอาจเกิดแผลได้ ใช้กาบมะพร้าวถู ได้อย่างเดียว การตรวจคชลักษณ์ มีทั้งหมดด้วยกัน๑๑ประการ ถ้าตรวจพบเกินกว่าครึ่ง ไม่จำเป็นต้องครบทั้ง๑๑ประการและดูลักษณะนิสัย เห็นกิริยาของช้างว่าดี (เช่นการเดิน การนอนมีกิริยาเรียบร้อย การไม่กินน้ำ และอาหารร่วมกับช้างอื่น ๆ ฯลฯ) ก็สามารถตัดสินได้ว่าช้างดังกล่าว เป็นช้างสำคัญ
ช้างเผือกจะนับเป็นช้าง ช้างบ้านจะนับเป็นเชือก ช้างป่าจะนับเป็นตัว
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ตลอดเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์ ช้างเผือกช้างแรกที่มาสู่พระบารมีคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
ต่อจากนั้น ก็มีช้างเผือกใหม่อื่นๆ ได้ขื้นระวางสมโภชอยู่เรื่อยๆ จนถึงปี 2521 รวมทั้งสิ้น 10 ช้าง หลังจากนั้น แม้จะพบช้างเผือก และช้างสำคัญคู่พระบารมีอีกถึง 11 ช้าง ก็มิได้โปรดเกล้าฯให้มีพิธีขึ้นระวางอีก เพียงแต่ทรงรับช้างเหล่านั้นไว้เป็นช้างสำคัญ
ถ่ายที่โรงช้างต้น
ลงเล่นน้ำที่หัวหินทุกเย็น
เมื่อครั้งได้คุณพระมาใหม่ๆ
ตาของพระเศวตต้องตามตำราคชลักษณ์
ตาของช้างทั่วไป
Credit:
teenee.com