แม้จะผ่านไป 600 ปี แต่นาฬิกาดาราศาสตร์ในกรุงปราก ก็ยังไม่เคยหยุดเดินเลยแม้แต่วันเดียว

http://www.catdumb.com/the-worlds-oldest-astronomical-clock-093/

เพื่อนๆ รู้ไหมว่านี่เรากำลังรับชมภาพที่น่าตื่นเต้นของ หอนาฬิกาดาราศาสตร์ (Old Town Astronomical Clock) ที่ขึ้นชื่อได้ว่าสวยงามที่สุดในโลกอยู่นะ เรียกได้ว่ามันช่างน่าอัศจรรย์ และอลังการงานสร้างมากจริงๆ สำหรับหอนาฬิกาดาราศาสตร์แห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่ากลางกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ที่นอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังถือเป็นหนึ่งในจุดที่นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดที่จะบันทึกภาพถ่ายอันแสนประทับใจของหอนาฬิกา เพื่อเก็บเอาไว้เป็นที่ระลึกอย่างแน่นอน

ย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 15 มีตำนานหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาดาราศาสตร์ โดยตามตำนานเรื่องหนึ่งกล่าวว่าผู้ที่สร้างหอนาฬิกาดังกล่าวคือ อาจารย์ Hanuš ซึ่งผลงานชิ้นเอกของเขานี้ก็ได้สร้างความโดดเด่นให้กรุงปรากเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่พวกผู้ครองเมืองกลัวว่าเขาจะสร้างนาฬิกาในลักษณะเดียวกันในที่อื่นๆ อีก และมันก็อาจจะแย่งชื่อเสียงของกรุงปรากไป ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พวกเขาเริ่มคิดหาวิธีที่จะกำจัดความเป็นไปได้ดังกล่าว ด้วยการจ้างคนกลุ่มหนึ่งมาทำร้ายและทำให้อาจารย์ Hanuš ตาบอด

อย่างไรก็ตามตำนานเรื่องนี้ได้จบลงด้วยการเอาคืนของ Hanuš โดยเขาได้กลับไปยังหอนาฬิกาและใช้มือล้วงเข้าไปในจักรนาฬิกา พร้อมกับทำลายมันให้สิ้นซาก ก่อนที่นาฬิกาจะถูกชุบชีวิตขึ้นมาอีกครั้งในเวลา 100 ปีต่อมา

ทั้งนี้มีการเผยว่าตำนานของ Hanuš แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่นิทาน แต่ Hanuš นั้นมีตัวตนอยู่จริง และเป็นช่างทำนาฬิกาในกรุงปรากช่วงปี 1475 ถึง 1497 ซึ่งก็เป็นเวลาหลายปีที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเขาเป็นคนสร้างนาฬิกาดาราศาสตร์นี้ขึ้นมา

ขณะเดียวกันการค้นคว้าเมื่อเร็วๆ นี้ได้พบว่านาฬิกาเรือนนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1410 โดย Mikulas ร่วมด้วยนักดาราศาสตร์ และ Jan Sindel อาจารย์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น Hanuš ก็ได้บูรณะมันขึ้นใหม่ และนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 กลไกบอกเวลาก็ได้รับการซ่อมแซมและสร้างใหม่ขึ้นมาหลายครั้ง ต่อมาในปี 1865 นาฬิกาก็ถูกซ่อมใหม่อีก แต่ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของนาฬิกาก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม

หอนาฬิกาดาราศาสตร์ ถือเป็นนาฬิกาที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังขึ้นชื่อได้ว่าเป็นหอนาฬิกาที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลกที่ยังคงมีการใช้งานอยู่

ส่วนประกอบหลักของหอนาฬิกาได้แก่ วงกลมใหญ่ 2 วง โดยวงบนจะถูกเรียกว่า Astronomical Dial ที่คาดว่าน่าจะเป็นส่วนประกอบที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้นาฬิกามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนยุคกลาง โดยวงด้านนอกของนาฬิกาจะเป็นตัวอารบิกสมัยยุคกลางที่มีการแบ่งเวลา 24 ชั่วโมงใน 1 วัน ตามพระอาทิตย์ ส่วนวงในที่เป็นเลขโรมันคือเวลาในปัจจุบัน ขณะที่หน้าปัดที่เป็นสีฟ้าสื่อถึงสีของท้องฟ้า ถูกแบ่งเป็น 12 ส่วนตามสมัยบาบิโลนที่มีความสั้นยาวต่างกันตามฤดู

ในส่วนของวงกลมล่างเรียกว่า The Calendar Dial ประกอบด้วยวงกลมใหญ่ 1 วง และมีรูปหอคอยที่ประดับด้วย ลวดลายวงกลมเล็กๆ 12 วง แสดงถึงจำนวน 12 ราศี ส่วนวงกลมใหญ่ที่ล้อมนอกสุดของ The Calendar Dial บอกถึงเทศกาลสำคัญในเดือนนั้นๆ นั่นเอง

เป็นนาฬิกาที่มีความซับซ้อนและไม่เหมือนใครจริงๆ หากเพื่อนๆ คนไหนได้มีโอกาสไปเยือนกรุงปราก ก็อย่าลืมแวะไปชมความอลังการและเก็บภาพสวยๆ ของหอนาฬิกาดาราศาสตร์กันน้า

ที่มา https://www.thevintagenews.com/2017/09/28/obsessed-with-learning-the-secret-it-took-21-years-for-u-s-to-crack-russian-space-radio-frequency/

Credit: https://www.thevintagenews.com/2017/09/28/obsessed-with-learning-the-secret-it-took-21-years-for-u-s-to-crack-russian-space-radio-frequency/
#นาฬิกา
THEPOco
Associate Producer
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
2 ต.ค. 60 เวลา 14:08 1,074
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...