"ในทางจิตวิทยาแล้ว เป็นเรื่องสำคัญมากที่ คนเราควรจะรับประทานอาหาร ที่หลากหลายเพื่อความผ่อนคลาย และความสุข อาหารที่ทานแล้วยิ้มได้"
เวลาที่เราดูข่าวหรือสารคดีเกี่ยวกับนักบินอวกาศของนาซาและรัสเซีย ที่ออกเดินทางไปกับกระสวยอวกาศและที่อาศัยอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งโคจร อยู่ในวงโคจรรอบโลก คุณเคยนึกสงสัยไหมว่านักบินอวกาศบนนั้นจะใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร อาหารพวกเขานั้นจะอร่อยไหม และเดี๋ยวนี้อาหารพวกเขาเป็นอย่างไร??
รู้ไหมว่าอาหารนักบินอวกาศนั้นถือได้ว่าเป็นงานค้นคว้าวิจัยที่ใช้ เวลายาวนานพอๆ กับโครงการด้านอวกาศเลยที่เดียว ในการศึกษาเรื่องโภชนาการสำหรับโครงการอวกาศ เพื่อให้อาหารมีคุณค่าและถูกปากนักบินมากที่สุด อีกทั้งต้องบรรจุในหีบห่อได้อย่างสะดวกไม่กินเนื้อที่ในการจัดเก็บ
ย้อนกลับไปในยุคอดีต ตอนที่โลกยังมีการคมนาคมที่แสนไม่สะดวกเสียเลย การเดินทางค่อนข้างล้าหลัง ไม่มีตู้เย็นหรืออาหารกระป๋อง ทำให้กระบวนการจัดหาอาหารเพื่อเดินทางไกลทั้งทางบกและทางทะเล ลำบากมากๆ เพราะว่าอาหารเน่าเสียง่าย และมีปริมาณไม่พอต่อการเดินทางในแต่ละครั้งเสมอ ส่งผลให้คนเดินทางประสบปัญหาการขาดสารอาหารเสมอ และเสี่ยงสถาวะขาดวิตามิน เช่น โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ที่เกิดจากการได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ
จนกระทั้งในเวลาต่อมามนุษย์ก็เริ่มค้นพบการถนอม อาหารโดยการทำให้แห้งเก็บในภาชนะไว้ในที่แห้วและเย็น การตากแดด การดอง แช่น้ำเกลือ จนกระทั้งพบวิธีการบรรจุกระป๋อง จนกระทั้งเทคโนโลยีล่าสุดในการถนอมอาหาร คือ การแช่เย็น และการแช่แข็งอย่างฉับพลัน (quick-freezing) ซึ่งทำ ให้สามารถคงสภาพของรสชาติและสารอาหารอยู่ได้
แต่วิธีการถนอมอาหารและการบรรจุอาหารดังนี้ไม่ เหมาะสำหรับใช้งานในอวกาศ เนื่องจาก มีข้อจำกัดบางประการที่ต้องคำนึงถึงในขั้นตอนการขนส่ง คือ น้ำหนักและปริมาตร นอกจากนั้นอุปสรรคที่ใหญ่กว่า คือ สภาวะไร้น้ำหนัก (ถ้าให้ถูกต้อง น่าจะเรียกว่าสภาวะความโน้มถ่วงต่ำ) ซึ่งถ้าเกิดหกออกมาเป็นเรื่องใหญ่แน่ เพราะมันอาจส่งผลให้วงจรละเอียดอ่อนในยานเกิดอาการขัดข้อง ช็อก และเสีย และอ่านระเบิด(ถึงขั้นนั้นเลยเหรอ) จนเป็นอันตรายต่อนักบินก็ได้
ดังนั้นอาหารของนักบินอวกาศจึงต้องมีกระบวนการพิเศษในการเตรียม อาหาร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการเก็บรักษา
อาหารอวกาศที่ใช้ในโครงการเมอร์คิวรีเมื่อปี ค.ศ. 1962 มีทั้ง ที่บรรจุในหลอดและเป็นก้อนพอดีคำ ห่อหุ้มด้วยพลาสติก (ภาพจาก NASA)
โครงการเมอร์คิวรีถือได้ว่าเป็นโครงการทดสอบการบินในยุคแรกของ โครงการอวกาศ แม้ว่าการขึ้นบินแต่ละครั้งใช้เวลาไม่นาน เป็นภารกิจที่สั้นที่แทบไม่จำเป็นต้องเตรียมอาหารสำหรับทุกๆ มื้อด้วยซ้ำ แต่อย่างไรก็ตามนักบินในโครงการเมอร์คิวรีได้กลายเป็นหนูทดลองในการทดสอบ สรีรวิทยาการกินของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมที่มีความโน้มถ่วงต่ำ เช่น การเคี้ยว การดื่ม การกลืนอาหารทั้งอาหารปกติและอาหารเหลว
อาหารสำหรับนักบินอวกาศในยุคแรก เป็นอาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป และอาหารกึ่งเหลวที่บรรจุในหลอดทำจากอะลูมิเนียมคล้ายหลอดยาสีฟัน ภายในหลอดมีการฉาบวัสดุพิเศษ ป้องกันการก่อตัวของแก๊สไฮโดรเจนซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างผิวโลหะกับอาหาร ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำแอปเปิล หลอดอะลูมิเนียมที่ใช้ในยุคแรกมักมีน้ำหนักมากกว่าอาหารที่บรรจุอยู่ภายใน ต่อมาจึงมีการพัฒนาเป็นหลอดพลาสติกน้ำหนักเบา ใน ช่วงปลายโครงการก็พัฒนาขึ้นหน่อยโดยทำอาหารให้แห้งและอัดเป็นก้อน มีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมพอดีคำ ถูกฉาบด้วยวุ้นเพื่อไม่ให้แตกเป็นชิ้นๆ ป้องกันไม่ให้มีชิ้นส่วนของอาหารหลุดลอยออกไป เวลารับประทานไม่ต้องกัดหรือหั่นขณะรับประทาน อาหารจะนิ่มลงโดยการเคี้ยวในปาก (ไม่ต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน) ส่วนภาชนะบรรจุเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกห่อหุ้มด้วยระบบสุญญากาศ นอกจากใช้บรรจุอาหารแล้วยังช่วยป้องกันความชื้น รักษากลิ่นและรสชาติ รวมทั้งถนอมอาหารให้อยู่ได้นาน
ผล สรุปคือ มี ความเห็นพ้องว่า อาหารไม่อร่อยเลยและไม่ชอบดูดน้ำจากหลอดอะลูมิเนียม อีกทั้งยังยุ่งยากในการเติมน้ำให้กับอาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูปอีก
อาหารของนักบินอวกาศรุ่นถัดมา คือ "รุ่นยานเจมินี่" อาหารอวกาศมีการ พัฒนารูปแบบไปมากหลายอย่างในแง่ความหลากหลาย ของอาหารและบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เทคนิคคือ การทำแห้งเยือกแข็ง (freeze drying) เป็นกระบวนการขจัดน้ำออกจากอาหาร ทำให้อาหารอวกาศในยุคนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับอาหารสด ทั้งสีและรสชาติคงมีไขมันและรสชาติเช่นเดิม เช่น น้ำองุ่น น้ำส้ม น้ำแอปเปิล ขนมปังปิ้ง ช็อกโกแลต ซุปไก่ เนื้อตุ๋น ข้าว ไก่งวงและน้ำเกรวี เป็นต้น เช่น กุ้งค็อกเทล ไก่ ผัก บัตเตอร์สกอตพุดดิ้ง แอปเปิ้ลซอส อาหารรุ่นนี้ยังเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กและเคลือบด้วยเจลาตินเพื่อป้องกันการ แตกป่น และจัดอยู่ในแพ็กเกจที่ดีขึ้น ทำให้คุณภาพอาหารดีขึ้นไปด้วย
ถุงบรรจุอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ใช้ในโครงการอะพอลโล ก่อนรับประทานต้องเติมน้ำอุ่นเข้าไปตามท่อที่ก้นถุง ใช้ช้อนตักรับประทาน ในภาพเป็นเนื้อคลุกกับผัก (ภาพจาก NASA)
อาหารรุ่นต่อมาคือนักบินอวกาศรุ่น "โครงการอะพอลโล" ใช้รูปแบบการบรรจุ อาหารอวกาศในภาชนะแบบเดียวกับโครงการเจมินี แต่มีความหลากหลายของชนิดอาหารให้นักบินอวกาศมีโอกาสได้เลือกรับประทานมาก ขึ้น เป็น รุ่นแรกที่มีน้ำร้อนให้แบบอาหารกึ่งสำเร็จรูป(ที่ต้องเติม น้ำก่อนรับประทาน) บรรจุในถุงพลาสติกอัดความดัน ก่อนรับประทานต้องเติมน้ำอุ่นด้วยกระบอกฉีดผ่านช่องที่ก้นถุง เมื่ออาหารได้รับน้ำ ปากถุงจะเปิดออก รับประทานโดยการใช้ช้อนตัก อาหารที่มีลักษณะกึ่งเหลวจะติดอยู่กับช้อน เวลาทานให้ความรู้สึกคล้ายกับรับประทานอาหารบนพื้นโลก ขึ้น และยังมีเมนู "สพูนโบล" เป็นรุ่นแรก คือเมื่อเปิดถ้วยพลาสติกออกมาจะมีอาหารและใช้ช้อนตักกิน อาหารอวกาศในโครงการนี้ก็ เช่น กาแฟ เนื้อหมูอบ คอร์นเฟล็กซ์ ไข่เจียว ขนมปังกรอบ แซนด์วิช ขนมพุดดิ้ง สลัดทูน่า เนยผสมถั่วลิสงบด เนื้อวัวตุ๋นในน้ำมัน สปาเกตตี และไส้กรอก ซึ่งรูปแบบการบรรจุ อาหารแบบใหม่นี้ทำให้นักบินของโครงการอะพอลโลสามารถเห็นและได้กลิ่นอาหาร ทำให้มีความสุขกับการรับประทานมากกว่าแต่ก่อนที่ต้องดูดกินจากหลอดบรรจุ อาหาร
ถาดใส่อาหาร
สกายแล็บเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐฯ สถานีน้ำหนัก 75 ตัน อยู่ในวงโคจรรอบโลกระหว่างปี 1973-1979 เป็นห้อง ทดลองทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีนักบินไปอาศัยบนยานทั้งหมด 3 คณะๆ ละ 3 คน
การรับประทานอาหารบนสถานีอวกาศสกายแล็บแตกต่างจากการรับประทานอาหาร บนยานอวกาศในโครงการอื่นๆ ก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากสกายแล็บเป็นสถานีอวกาศที่มีตู้เย็น มีเครื่องแช่แข็ง ถาดอุ่นอาหาร และโต๊ะ เวลาพักรับประทานอาหารบนสกายแล็บจึงให้ความรู้สึกคล้ายกับการรับประทานอาหาร ที่บ้าน เมื่อเทียบกันแล้วความแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดระหว่างการทานอาหารบนสถานี อวกาศสกายแล็บกับที่บ้าน คือ สภาพแวดล้อมที่มีความโน้มถ่วงต่ำ
เสบียงอาหารบนสถานีอวกาศสกายแล็บออกแบบไว้สำหรับนักบินอวกาศ 3 คน ในภารกิจที่ยาวนานประมาณ 112 วัน เมนูอาหารออกแบบสำหรับนักบินแต่ละคนโดยเฉพาะ โดยมีการคำนวณความต้องการสารอาหารของแต่ละคนซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนักตัว และกิจกรรมที่ทำบนยาน
อาหาร บนสถานีอวกาศสกายแล็บบรรจุในภาชนะที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ก่อนรับประทานนักบินต้องนำอาหารไปอุ่นบนถาดอุ่นอาหาร แต่ละมื้อประกอบด้วยอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อหมู พริก มันฝรั่ง สเต๊ก หน่อไม้ฝรั่ง รวมทั้งไอศกรีม
กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ ถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2002 (ภาพจาก NASA)
กระสวย อวกาศขององค์การนาซาหรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่าระบบขนส่งอวกาศ (Space Transportation System ---- STS) เป็นยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมโครงการแรกของโลก ที่สามารถนำบางส่วนของยานกลับมาใช้งานใหม่ได้ สามารถบรรทุกสัมภาระที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นไปในวงโคจรรอบโลก ภารกิจสำคัญที่ผ่านมา เช่น การกู้ดาวเทียมที่หมดอายุกลับมายังโลก การรับ-ส่งนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ และภารกิจซ่อมบำรุงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล รวมทั้งการทดลองต่างๆ ในอวกาศ
ส่วน นักบินรุ่น"กระสวยอวกาศ" สามารถเลือกหรือออกแบบมื้ออาหาร ได้เอง แต่ต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนได้ รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย อาหารแต่ละมื้อบนกระสวยอวกาศจะมีการตระเตรียมภายในห้องครัว มีท่อน้ำและเตาอบ ท่อน้ำสามารถจ่ายน้ำร้อน น้ำอุ่น และน้ำเย็น สำหรับเติมน้ำให้กับอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ผ่านการอบแห้งมาจากพื้นโลก
เตา อบที่ใช้บนกระสวยอวกาศเป็นเตาอบที่อาศัยกระบวนการพาความร้อน อาหารมื้อหนึ่งสำหรับนักบิน 4 คน จะใช้เวลาในการเตรียมเพียง 5 นาที แต่หากต้องมีการอุ่นอาหารอาจใช้เวลา 20-30 นาที ถาดใส่อาหารจะทำหน้าที่เป็นจานอาหารไปในตัว เวลารับประทานนักบินจะใช้เข็มขัดผูกติดกับที่นั่ง เครื่องมือที่ใช้ก็เหมือนกับการรับประทานอาหารบนโลก คือ มีด ช้อน และส้อม แต่ที่ขาดไม่ได้คือกรรไกร! สำหรับตัดปากถุงบรรจุอาหารนั่นเอง
นอก จากอาหาร สิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ก็มีการพัฒนาจากเดิมเพื่อลดน้ำหนักและปริมาตรของสัมภาระที่เป็นเสบียง เช่น มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มขึ้นใหม่ ในปี 1991 นาซาหัน ไปใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบา นอกจากนี้ยังออกแบบเครื่องอัดขยะเพื่อลดปริมาตรของขยะลงด้วย
ต่อไปนี้คือ 11อันดับ อาหารและเครื่องดื่มโปรดที่ได้รับการโหวตจากเหล่านักบินให้เป็น "อาหารอวกาศ" ที่คุณอาจแปลกใจว่าอาหารเหล่านี้ บางทีดีกว่าอาหารในภัตตาคารบนโลกเสียอีก
อันดับ 10 "ค็อกเทลกุ้ง"
เป็นอาหารว่าง ถูกปากนักบินอวกาศเกือบทุกคน
อันดับ 9 "เมล็ดมะเขือเทศและเมล็ดเบซิล"
เป็นเมล็ดพืชที่ยานอวกาศขนไปมากที่สุด นางบาบร่า มอร์แกน นักบินอวกาศของแคนาดาที่ขึ้นไปกับยาน STS-118 หวัง ว่าเมื่อลงกลับพื้นโลกแล้ว จะให้เด็กๆ นำมาทดลองปลูก เพื่อเทียบเคียงดูว่า เมล็ดพืชที่ขึ้นไปบนอวกาศกับเมล็ดพืชที่อยู่บนโลก อย่างไหนเมื่อปลูกแล้วจะมีความเอร็ดอร่อยมากกว่ากัน
อันดับ 8 "แอนไทแมตเทอร์"
เป็นเครื่องดื่มให้พลังงานประเภทเดียวกับกระทิงแดง ผสมด้วยไวตามินและเกลือแร่ ผลิตโดยบริษัทไมโครกราวิตี้เอนเตอร์ไพรซ์
อันดับ 7 "สเปซ แรม ซุป" หรือ "สเปซ ราเม็ง ซุป"
คือ บะหมี่ถ้วย นักบินอวกาศที่นำมากินคนแรกแน่นอนว่าต้องเป็นสัญชาติญี่ปุ่น คือ นายโซอิจิ โนกูจิที่เดินทางมากับยาน STS-114 เมื่อ 2 ปีทีแล้ว ราเม็งของยี่ห้อนิชชินดัดแปลงให้เป็นก้อนกลม ส่วนน้ำซุปนั้นให้แช่อยู่ในน้ำร้อนขนาด 70 องศา เซลเซียส เพราะบนอวกาศไม่มีน้ำเดือดให้ โดยมีให้เลือก 4 รส คือ รสซอสถั่วเหลือง รสเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น หรือ มิโสะ รสกะหรี่และรสหมู
อันดับ 6 "แคนา สแน็ก"
คือคุกกี้ของแคนาดา เป็นคุกกี้โอ๊ตมีขนาดพอคำและเอามาประกบกัน ตรงกลางจะเป็นครีมเมเปิ้ล ครีมราสเบอร์รี่ ครีมบลูเบอร์รี่ ครีมน้ำผึ้ง ครั้งแรกที่นำขึ้นมาบนอวกาศคือ เมื่อนายเดฟ วิลเลียมส์ นักบินอวกาศชาวแคนาดาขึ้นมากับยาน STS-118 การที่ทำ ให้คุกกี้อยู่ในขนาดพอดีคำนั้นก็เพื่อจะได้ให้เข้าปากง่ายๆ ไม่มีเศษคุกกี้หล่นลงมา "แคนาสแน็ก" บรรจุอยู่ในซองสุญญากาศ และบนคุกกี้มีสัญลักษณ์ใบเมเปิ้ลอยู่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแคนาดา
อันดับ 5 "สไปซี่กรีนบีน" หรือ "ถั่วเขียวรสเผ็ด"
เมนูเด็ดของเชฟ "เอมเมอริล ลากาส" หนึ่งในเชฟหลายคนที่ได้รับเชิญจากองค์การนาซ่าให้มาทดลองกับลิ้นนักบินอวกาศ
อันดับ 4 "โค้กและเป๊ปซี่"
ปี 1985 นาซ่าให้ทั้งโค้กและเป๊ปซี่ขึ้น ไปบนอวกาศ โดยนาซ่าให้เอาขึ้นไปทั้งกระป๋องแต่ประดิษฐ์ฝาเปิดให้ เพื่อนักบินอวกาศจะได้รับรสชาติเต็มๆ ของเครื่องดื่มรสที่ว่า แต่การทดลองนี้ประสบความล้มเหลวเพราะแรงโน้มถ่วงที่เท่ากับศูนย์รวมทั้งไม่ มีตู้เย็น ต่อมานาซ่าจึงให้ทดลองขึ้นไปอวกาศอีกครั้ง โดยให้มีอยู่ในรูปถ้วยอัดด้วยความดันและมีที่เปิดถ้วย นักบินอวกาศจึงดื่มได้ตามใจปรารถนา
อันดับ 3 "น้ำส้ม"
มาในรูปผงน้ำส้ม ยี่ห้อดังที่นาซ่าใช้คือ "แท็ง"
อันดับ 2 "ไอศกรีม"
ไอศกรีมแท่งนี้แห้งเหมือนกับชอล์กและไม่เย็น แต่เมื่อเอาเข้าปากไปแล้ว มันละลายและมีรสชาติเหมือนกับกินไอศกรีมจริงๆ การนำไอศกรีมขึ้นไปบนอวกาศนั้น ต้องสกัดน้ำออกให้หมดและไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็นเพื่อให้มันแข็ง
และอันดับ1 "ช็อกโกแลตเอ็มแอนด์เอ็ม"
เจ้าของสโลแกน "ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ" ที่จริงแล้ว องค์การนาซ่าไม่ได้ระบุว่าเป็นช็อกโกแลตยี่ห้อนี้ เพราะเกรงว่าจะเป็นการโฆษณาจึงระบุแต่เพียงว่าเป็นช็อกโกแลตเคลือบเท่านั้น แต่เมื่อปี 1996 แชนนอน ลูซิด นักบินอวกาศหญิงเป็นผู้เปิดเผยยี่ห้อ โดยกล่าวว่า "บน สถานีอวกาศเมียร์น่าจะมีช็อกโกแลตเอ็มแอนด์เอ็มมากกว่านี้"
และอาหารอีก ที่ไม่น่าเชื่อว่าเป็นอาหารที่สามารถนำไปรับประทานในอวกาศได้
ในวันขอบคุณพระเจ้า นักบินอวกาศที่ประจำอยู่ที่สถานีอวกาศนานาชาติ 3 คน รวมทั้งนักบินอวกาศจากยานเอนเดฟเวอร์ที่ขึ้นไปสมทบ 7 คน ก็มีโอกาสรับประทานอาหารมื้อพิเศษ เหมือนกับคนอื่นๆ ที่อยู่บนโลก นั้นก็คือไก่งวงที่ถูกฉายรังสีมาแล้ว ถั่วและน้ำสลัดที่ถูกนำไปแช่แข็งแล้วทำให้แห้ง มันหวานและขนม ซี่งเนื้อของไก่งวงแข็งและแห้งกว่าไก่งวงปกติ เหมือนกับเก็บไว้ในตู้เย็นหลังจากหมดอายุประมาณ