ไม่ผิดกระบอก! รู้จักกับ "ลายนิ้วมือของปืน" สิ่งที่จะช่วยให้รู้ว่ากระสุนนั้นยิงมาจากปืนกระบอกไหน

read:http://www.wtfintheworld.com/2017/09/24/bullet-inspection/

เชื่อว่าทุกๆ คนคงได้ดูหนังแนวสืบสวนสอบสวนกันมาบ้าง เราจะเห็นว่าหลักฐานในที่เกิดเหตุนั้นสำคัญมาก เช่น รอยลูกกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ฯลฯ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้จะนำพาสู่การค้นหาคนร้ายได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดตัว

สำหรับวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ลายนิ้วมือของปืน” ที่จะช่วยให้รู้ว่ากระสุนนั้นยิงมาจากปืนกระบอกไหน และมีวิธีตรวจสอบยังไง ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันเลย

วิธีการตรวจสอบกระสุนปืนว่ามาจากปืนอะไรมี 2 จุดใหญ่ๆ

#1 รอยของหัวกระสุน (Bullet Inspection)

โดยเจ้าหน้าที่จะทำการเทียบรอยของหัวกระสุนที่เก็บได้ในที่เกิดเหตุ ว่าตรงกับรอยจากเกลียวลำกล้องของปืนที่ต้องสงสัยหรือไม่ ด้วยกล้องจุลทรรศน์และอุปกรณ์ที่ใช้วิเคราะห์เกลียวลำกล้องโดยเฉพาะ

ซึ่งปืนทุกๆ กระบอกจะมีเกลียวลำกล้องไม่เหมือนกันเป็นเพราะว่าขั้นตอนในการผลิต 3 ขั้นตอนสุดท้ายที่จะต้องมีการเจาะลำกล้องปืน การคว้านให้เกิดร่องเกลียวภายในลำกล้อง และการขัดเงาให้ลำกล้องมีผิวเรียบ

ซึ่งการขัดขั้นสุดท้ายในแต่ละครั้งนั้นจะทิ้งรอยที่ไม่เหมือนกันเอาไว้ภายในลำกล้อง กระสุนที่ยิงออกมาจึงมีรอยบนหัวกระสุนแบบเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน (เหมือนลายนิ้วมือของคนที่ไม่เหมือนกัน)

#2 รอยบนบนปลอกกระสุน

การหารอยบนปลอกกระสุนจากลักษณะเฉพาะตัวคือการรอยเข็มแทงชนวนท้ายปลอก รอยบนปลอกกระสุนที่เกิดจากการคายปลอกกระสุนออกมา ซึ่งรอยเหล่านี้ก็เป็นเอกลักษณ์เช่นกัน

โดยในอเมริกาจะมีเครื่องมือหลายชนิด เช่น Microstamping ที่ใช้เลเซอร์ในการสร้างแรงขยายกำลังสูงเพื่อส่องให้เห็นรอยที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือรอยที่ถูกลบออกไปและทำการวิเคราะห์ออกมาก็สามารถเปรียบเทียบได้ว่ามาจากปืนกระบอกเดียวกันหรือไม่

แผนงานในอนาคตเกี่ยวกับการหาตัวคนร้าย

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปมาก ยกตัวอย่างผลงานวิจัยของนักวิทยาศาตร์จากหลายมหาวิทยาลัยในอังกฤษ ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Engineering and Physical Sciences Research Council (EPSRC)

มีการใช้นาโนเทคโนโลยีในการดัดแปลงเกสรดอกลิลลี่เพื่อทำสารเคลือบปลอกกระสุนที่มีความเหนียวและสามารถเก็บ DNA ได้เมื่อมีมนุษย์มาสัมผัสโดยที่ไม่สามารถลบไปได้ง่ายๆ

เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการตรวจหาหลักฐานโดยจะร่วมมือกับผู้ผลิตกระสุนปืนทั่วโลกในการใช้สารนี้ในขั้นตอนการผลิต ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

ที่มา https://www.spokedark.tv/posts/bullet-inspection/

Credit: https://www.spokedark.tv/posts/bullet-inspection/
25 ก.ย. 60 เวลา 02:21 3,214 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...