ถ้ำอชันตา วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก

ถ้ำ อชันตา (Ajanta Caves)ได้ชื่อว่าเป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก เรื่องราวการสร้างวัดถ้ำของพระสงฆ์ก็ได้เริ่มต้นขึ้นที่นี่ตั้งแต่พุทธ ศักราช 350 ท่ามกลางเทือกเขาสลับซับซ้อนบนที่ราบสูงเดกกันโดยวิธีการ สร้างนั้นเป็นขุดเจาะ เข้าไปในหินบาซอลต์ (แกรนิตแข็ง) โดยขุดจากหินก้อนเดียวจนเป็นวิหารขนาดใหญ่โดยใช้สิวแ ละค้อนเท่านั้น ระยะเวลาการเจาะทั้งหมด 800 ปี เริ่มเจาะตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 3 จนกลายเป็นถ้ำมากกว่า 30 ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตรบนเชิงเขาสูงวงโ ค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว ภายในมีวิหารขนาดใหญ่ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นเจดีย์ เป็นพระพุทธรูป เป็นเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดกเต็มไปหมด โดยไม่ผุพังตามกาลเวลาแม้แต่น้อย  พระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่ที่เหมาะสำหรับทำเป็นกุฏิเพื่ออยู่อย่าง สันโดษ ห่างไกลผู้คนและทำให้ประวัติศาสตร์หน้าต่อมาของ ศาสนาพุทธ ในอินเดียได้ปรากฏขึ้นในหมู่ถ้ำบริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบสูงเดกกันนั่นเอง




ปีพุทธศักราช 2362 จอห์น สมิธ นายทหารชาวอังกฤษได้ตามล่าเสือเข้ามาถึงยอดเขาแห่งหนึ่งบริเวณหมู่บ้านอชัน ตา ใกล้เมืองออรังคบาด ขณะที่เขามองไปที่หน้าผาหินฝั่งตรงข้ามซึ่งปกคลุมไปด้วยต้นไม้หนาทึบ ก็ได้สังเกตเห็นสิ่งหนึ่งที่มีรูปร่างแปลกไปจากลักษณะหน้าผาหินธรรมชาติใน บริเวณนั้น สิ่งนั้นดูคล้ายกับส่วนโค้งของสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์ทำขึ้น

ด้วยความแปลกใจ จอห์น สมิธ จึงปีนหน้าผาลงไปสำรวจ และเขาก็ต้องตกตะลึงเมื่อพบว่าบริเวณนั้นมีวัดถ้ำเป็นจำนวนมากซ่อนตัวอยู่ใน หน้าผาท่ามกลางป่ารกแห่งนั้น

ถ้ำเหล่านี้ถูกเจาะลึกเข้าไปในภูเขาเพื่อสร้างเป็นวัด มีวิหารขนาดใหญ่ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นเจดีย์ เป็นพระพุทธรูป เป็นเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดกเต็มไปหมด ส่วนสิ่งที่เขามองเห็นแต่ไกลนั้นก็คือส่วนโค้งของประตูถ้ำขนาดมหึมาแห่ง หนึ่งที่โผล่พ้นยอดไม้ออกมานั่นเอง และที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คือ ถ้ำเหล่านี้ซุกซ่อนตัวอยู่ที่นี่มานานถึงกว่า 1,500 ปีแล้วโดยไม่ถูกรุกล้ำนับจากวันที่ถูกทิ้งร้าง




การค้นพบหมู่ถ้ำอชันตาในครั้งนั้นทำให้โลกต้องตื่นตะลึงกับความมหัศจรรย์ของ ศิลปะวัดถ้ำที่ไม่มีใครเคยเห็นหรือรู้เรื่องมาก่อน ขณะเดียวกันก็ทำให้นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของ ศาสนาพุทธ ในอินเดียได้อย่างชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ด้วยการศึกษาจากภาพแกะสลักหินภายในถ้ำที่ยังคงอยู่อย่างยืนยง ไม่ผุกร่อนพังทลายไปเหมือนพุทธสถานอื่นๆ เพราะทุกอย่างที่นี่สลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก

ถ้ำเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่ของสงฆ์ เป็นวัด เป็นวิหาร โดยใช้วิธีเจาะภูเขาทั้งลูกเข้าไป บางถ้ำมีถึงสามชั้น มีทางเดินเชื่อมถึงกันตลอด ถ้ำที่ก่อสร้างในยุคแรกๆ เป็นวัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาท พระสงฆ์ในยุคนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย โดยเจาะหินเข้าไปเป็นห้องโถงเปิดโล่ง ใช้เป็นที่นั่งสนทนาธรรม ส่วนผนังทั้งสามด้านก็สกัดหิน เจาะเข้าไปเป็นห้องนอน ภายในมีเตียงหินห้องละสองหลัง 

 อารามแต่ละแห่งอาจมีพระสงฆ์อาศัยอยู่รวมกันตั้งแต่ 2 รูปจนถึง 20 รูป วัดถ้ำบางแห่งยังมีร่องรอยให้เห็นว่ายังสร้างไม่เสร็จ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า พระสงฆ์จะใช้วิธีสร้างไปอยู่อาศัยไป พอมีกำลังทรัพย์ที่ชาวบ้านบริจาคมาจึงจะก่อสร้างเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ


วัดของพุทธฝ่ายเถรวาทหลายถ้ำสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องบูชาด้วย ฝีมือการแกะสลักของช่างในยุคนั้น พวกเขาได้สกัดหินจากด้านนอกเข้าไปและสกัดจากเพดานถ้ำลงมา จนได้ห้องโถงขนาดใหญ่ มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านข้าง มีเจดีย์อยู่ปลายสุดของห้อง

การสร้างเจดีย์ไว้เพื่อสักการบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้าเป็นธรรมเนียมเดียวกับ การสร้างพระสถูปเจดีย์ที่สืบทอดมาจากชาวพุทธทางอินเดียตอนเหนือนั่นเอง ถ้ำอชันตาในยุคแรกจึงยังไม่มีการแกะสลักพระพุทธรูปให้เห็น

ถ้ำหมายเลข 10 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่ถ้ำอชันตา สร้างเป็นหอสวดมนต์บูชาพระเจดีย์ เมื่อครั้งที่จอห์น สมิธ ได้เข้าพบเห็นเป็นครั้งแรก ตอนที่เขาเข้ามาในถ้ำนั้น ดินโคลนได้ทับถมสูงขึ้นไปจากพื้นถ้ำกว่าครึ่ง เขาได้จารึกชื่อไว้บนเสาหิน พร้อมลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2362 วันที่ถ้ำอชันตาปรากฏสู่สายตาชาวโลก

แต่รอยจารึกสำคัญที่พบในถ้ำเดียวกันนี้ได้ระบุชื่อกษัตริย์พระองค์หนึ่งใน ราชวงศ์สาตวาหนะ ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้ว่า วัดถ้ำที่อชันตาได้รับการอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ การสร้างวัดถ้ำในยุคแรกๆ




ลักษณะของหมู่วัดถ้ำอชันตานั้น พบว่ามีถ้ำมากกว่า 30 ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตรบนเชิงเขาสูงวงโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว บริเวณหน้าถ้ำแต่ละแห่งสร้างเป็นบันไดทอดยาวลงไปยังแม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลดเลี้ยวไปตามหุบเขาเบื้องล่าง แม่น้ำสายนี้คือแม่น้ำวโฆระ ซึ่งจะมีระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน 

 ถ้ำพุทธฝ่ายเถรวาทที่อชันตาเจริญรุ่งเรืองอยู่ต่อมาอีกราว 200 ปีจนถึง พุทธศักราช 550 ก็หยุดชะงัก ไม่ปรากฏร่องรอยการสร้างวัดถ้ำของพุทธฝ่ายเถรวาทที่นี่อีกต่อไปนานถึง 400 ปี จึงกลับมาสร้างต่ออีกครั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 10

แม้ยังไม่มีคำตอบว่า เกิดอะไรขึ้นกับพุทธสถานที่ถ้ำอชันตาในช่วง 400 ปีที่เว้นว่างไป แต่ในช่วงเวลานั้นเองก็ได้เกิดความเคลื่อนไหวสำคัญที่พลิกโฉมศาสนาพุทธใน อินเดียไปอย่างสิ้นเชิง

 สิ่งแรกก็คือ การเกิดขึ้นของพระพุทธรูป สิ่งที่สองคือ ศาสนาพุทธ สายมหายานได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเต็มตัว การสร้างวัดถ้ำที่อชันตาระยะที่ 2 เริ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจาก ศาสนาพุทธ ในอินเดียได้เข้าสู่ยุคของมหายานไปแล้วถึง 400 ปี


ในบรรดาวัดถ้ำทั้งหมด พบว่ามีวัดถ้ำในแบบพุทธมหายานถึง 24 ถ้ำ ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นในสมัยคุปตะ ซึ่งเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย พระภิกษุฝ่ายมหายานได้เข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และปรับเปลี่ยนถ้ำให้เหมาะสมกับพิธีกรรมที่ทำขึ้น

จากวิหารแบบเรียบง่ายที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธฝ่ายเถรวาท ถูกเปลี่ยนไปเป็นห้องโถงใหญ่โตโอ่อ่า สลักหินเป็นเสาสูงมากมาย ที่หัวเสาแกะสลักเป็นลวดลายงดงามทั่วทั้งคูหาถ้ำ ผนังด้านในทั้งสองด้านแกะสลักเป็นพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ขนาดใหญ่ ที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างประติมากรรมชั้นสูงในการแกะสลักหินออกมาได้อย่าง อ่อนช้อยสวยงาม

  ส่วนถ้ำหมายเลข 1 เป็นถ้ำพุทธมหายานที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกว่ามีภาพเขียนสีที่งด งามมากที่สุด แม้เวลาจะผ่านมานานถึงกว่า 1,500 ปี ภาพก็ยังคงสีสันและลายเส้นที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากอย่างไม่น่าเชื่อ

  ภายในถ้ำค่อนข้างมืดสลัว มีเพียงแสงไฟเย็นสีเขียวส่องไว้ที่ภาพ เพราะทางการอินเดียห้ามใช้แสงแฟลชหรือแสงใดๆ ในการถ่ายภาพเด็ดขาด แม้กระทั่งขาตั้งกล้อง ด้วยเกรงว่าจะไปทำลายสภาพดั้งเดิมภายในถ้ำ

  เทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตานั้นมีชื่อเสียงโด่งดังอย่าง มากในระดับนานาชาติ ภาพพุทธประวัติและชาดกในถ้ำหมายเลข 1 และ 2 เขียนขึ้นมาก่อนยุคเรอเนสซองซ์ของกรีก แต่ศิลปินในยุคนั้นก็รู้เทคนิคที่จะทำให้ภาพมีมิติ ดูสมจริงสมจัง งดงามทั้งสัดส่วนและการใช้สีมาก่อนแล้ว

  ขณะที่หมู่ถ้ำพุทธที่อชันตามีชื่อเสียงโดดเด่นในเรื่องของการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ ก็ยังมีหมู่ถ้ำเก่าแก่ อายุรุ่นราวคราวเดียวกับถ้ำอชันตาอีกนับร้อยถ้ำที่แสดงความโดดเด่นด้านวิถี ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยพุทธเถรวาท จนเข้าสู่ยุคของพุทธมหายาน หมู่ถ้ำแห่งนี้อยู่ห่างจากมุมไบ (บอมเบย์) เพียง 42 กิโลเมตรเท่านั้น

 


 

 

 


 


 
Credit: http://atcloud.com/stories/81536
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...