"เบื้องหลังความสำเร็จ
ของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010
ยังมีคราบน้ำตาของชาวแอฟริกาใต้"
มหกรรมฟุตบอลโลกอัน โอ่อ่าได้เปิดพิธีขึ้น พร้อมกับความทึ่งของชาวโลกที่เห็นภาพลักษณ์ใหม่ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ที่ทั้งสนามกีฬาและสภาพทั่วไปของเมืองถูกสร้างขึ้นอย่างทันสมัยและสวยงาม
แต่จะมีใครรู้บ้าง มั้ยว่า ฉากหลังของความ สำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ กลับเต็มไปด้วยน้ำตาของชาวแอฟริกาใต้จำนวนมาก ที่ถูกทางการจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ (มันก็คือการไล่ที่นั่นแหละ)
เพื่อว่าทางการจะนำ เอาที่แห่งนั้นสร้างสนามกีฬา
"เอลลิส พาร์ค สเตเดียม"และปรับปรุงสภาพของเมืองใหม่ให้สวยงาม ทันสมัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารคู่สร้างคู่สม
และ ที่นี่ดอทคอม
ภาพประกอบ อินเทอร์เน็ต
"ทางการอยากปกปิดพวกเราไว้ไม่ให้คนต่าง ถิ่นรู้ว่าชาวพื้นเมืองอยู่กันยังไง จึงรื้อบ้านเก่าๆ ของพวกเราทั้งหมด" นี่คือคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองคนหนึ่งที่ ประสบปัญหานี้
เขา กล่าวว่า หลังจากแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก เมืองที่เขาเคยอยู่อย่างสงบสุข แม้จะอยู่ในย่านสลัมก็ตาม ได้รับการปรับปรุงใหม่ทันที เพื่อต้อนรับทั้งการแข่งขันและนักท่องเที่ยว ย่านที่อยู่ของพวกเขา ถูกรื้อถอนเพื่อเปิดทางให้สนามกีฬาแห่งใหม่ รวมทั้งพื้นที่รอบๆ ดูเรียบร้อยสวยงาม ไม่มีร่องรอยความรุงรังให้รกตานักท่องเที่ยว
พวกเขาถูกขับไล่ ที่ ทั้งหมดต้องไปอยู่รวมกันในสถานที่ใหม่ ซึ่งทางการสร้างขึ้นอย่างลวกๆ ให้อยู่อาศัยแบบตามมีตามเกิด มีลักษณะเหมือนกล่องสังกะสี
เมืองกล่องสังกะสีที่ว่านี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"บลิคคีส์ดอร์ป" (Blikkiesdorp) ประกอบด้วยบ้านที่สร้างเหมือนกล่องที่ทำด้วย สังกะสีเหมือนๆกัน 1700 กล่อง มีรั้วลวดหนามล้อมรอบอย่างแข็งแรง และอยู่ห่างจากที่เดิมที่พวกเขาเคยอาศัยอยู่มากกว่า 16 กม.
แม้ชาวเมืองจะคัดค้านอย่างไรว่าอยู่ ห่างไกลจากโรงเรียน ไกลจากย่านที่พอหางานทำได้ และนักวิชาการบอกว่าต่ำกว่ามาตรฐานของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แต่ทางการก็ไม่ฟังเสียง
จะเห็นได้ว่า อีกด้านของความสวยงามในฟุตบอลโลกครั้งนี้ ล้วนแต่เต็มไปด้วยความลำบากของชาวแอฟริกาใต้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทางการ
แต่จะว่าไปแล้ว ประเทศไหนๆ เมื่อถึงเวลาที่จะมีมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ และคาดว่านักท่องเที่ยวต่างจากแห่แหนกันเข้าประเทศมา
เพื่อรักษาชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับประเทศ ต่างก็ทำเช่นเดียวกับแอฟริกาใต้