หลังคาแดง...คือชื่อเรียกที่เราคุ้นเคยกันมานานนม..สงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมจึงเรียก "หลังคาแดง"
โรงพยาบาลศรีธัญญา กับที่ซึ่งเรียกกันติดปากว่า หลังคาแดง เป็นคนละสถานที่ แต่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ดังนี้ โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางจิตในประเทศไทย เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นยุคเดียวกับการจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไป สถานที่เดิมตั้งอยู่ปากคลองสานฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "โรงพยาบาลคนเสียจริต" เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2432 ในยุคแรกนั้นเป็นการนำคนเสียจริตมาฝากขัง การดูแลจึงมีแต่ขังไว้ หรือรักษาบ้างโดยให้ยาสมุนไพรที่ทำให้ง่วงซึม ที่วุ่นวายนักก็เป่าด้วยยานัตถุ์ ถ้าไม่ทุเลาลงก็ลงไม้ลงมือ หรือให้อดอาหาร หรือดูดเลือดออกโดยใช้เขาควายหรือใช้ปลิงดูด มีเวทมนตร์คาถาตามความรู้สมัยนั้น
พ.ศ.2448 รัฐบาลให้สร้างโรงพยาบาลขึ้นใหม่ ณ ที่ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาขณะนี้ เปิดรับคนไข้ได้เดือนกันยายน 2455 เปลี่ยนแปลงวิธีจากการคุมขังและรักษาแผนโบราณ เป็นการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน โรงพยาบาลคนเสียจริตยุคปรับปรุงนี้อยู่ในความดูแลของนายแพทย์ เอ็ม. คาร์ทิว ชาวอังกฤษ งานชิ้นสำคัญนอกจากการวางผังป่าอันสวยงามร่มรื่น โดยถือหลักว่า ป่าเป็นเครื่องหมายของการระบายทุกข์และความสงบแห่งจิตแล้ว
ท่านยังไปเหมาซื้อสีแดงค้างสต๊อกราคาถูกมาผสมน้ำมันแล้วทาหลังคาอาคาร สังกะสีทุกหลังเพื่อกันสนิม หลังคาโรงพยาบาลจึงเป็นสีแดงสะดุดตา เป็นที่มาของชื่อ "หลังคาแดง"
นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ของไทย