“มีดโบโล” เครื่องมือทางการเกษตรของชาวฟิลิปปินส์ที่กลายเป็นอาวุธร้ายในสงครามโลก

read:http://www.wtfintheworld.com/2017/08/23/bolo-knife/

ในสงครามนั้นอาวุธถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอันดับต้นๆ ที่จะเป็นตัวกำหนด “ผลแพ้ชนะ” ในสงคราม หากฝ่ายไหนมีทหารที่เก่ง มีแผนการรบที่ดี และมีอาวุธที่ยอดเยี่ยมฝ่ายนั้นจะเป็นฝ่ายชนะค่อนข้างแน่

แต่สำหรับวันนี้เราจะไม่ได้พาไปชมอาวุธไฮเทคหรอกนะอย่าเข้าใจผิด แต่เราจะพาไปอ่านเรื่องราวของ “มีด” ที่เป็นตำนานในช่วงสงครามโลกอย่าง “มีดโบโล” กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านพร้อมกันเลย

“มีดโบโล”

เป็นมีดท้องถิ่นที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์กันอย่างกว้างขวาง เดิมทีนั้นมันถือกำเนิดมาเป็นมีดที่ใช้ในด้านการเกษตรอย่างการปอกมะพร้าวหรือทำไร่ทำสวน

ตัวมีดนั้นถูกออกแบบมาสำหรับงาน “สับ” โดยเฉพาะ ปลายใบมีดนั้นงุ้มไปด้านหน้า คมมีดโค้งออกทำให้จุดศูนย์กลางของมีดเวลาที่สับลงไปนั้นแรงจากมือจะช่วยส่งให้คมของมีดเฉาะลงไปได้ลึก

เหตุการณ์ที่แรกที่ทำให้ “มีดโบโล” กลายเป็นตำนานเกิดขึ้นในปี 1898

เหตุการณ์ที่ทำให้ “มีดโบโล” กลายมาเป็นอาวุธที่น่ากลัวจนเลื่องลือไปทั่วถึงความน่ากลัวของมีดชนิดนี้นั้นเริ่มต้นขึ้นในปี 1898 หลังจากการสิ้นสุดของสงครามระหว่างประเทศสเปนและสหรัฐอเมริกา ที่ในขณะนั้นฟิลิปปินส์เป็นดินแดนภายใต้อาณานิคมของสเปน

หลังจากที่สเปนได้ถอนกำลังออกจากฟิลิปปินส์หมดแล้ว สหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดครองกรุงมะนิลาด้วยสนธิสัญญาลับที่สเปนขายฟิลิปปินส์แลกกับเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ จนทำให้ชาวพื้นเมืองไม่พอจนใจเปิดศึกรบกับกองทัพอเมริกาด้วยเทคนิคการรบแบบ “กองโจร”

แน่นอนว่าอาวุธต่างๆ ที่ชาวบ้านมีอย่างดีก็แค่ปืนกระจอกๆ แต่สิ่งที่ทำให้กองทัพปลดปล่อยของฟิลิปปินส์น่ากลัวก็คือการใช้ “มีดโบโล” ในการเข้าต่อสู้กับทหารสหรัฐ

ซึ่งบรรดาทหารสหรัฐที่ถูกโจมตีด้วยมีดโบโลนั้นจะถูก “สับ” เข้าตามจุดสำคัญแบบทีเดียวจอด ด้วยเทคนิคในการใช้มีดที่สับลงไปถึงกระดูกแล้วบิดข้อมือแบบเดียวกับการปอกมะพร้าว จึงทำให้แผลที่ได้รับนั้นรุนแรงและสาหัสมาก

จนทหารสหรัฐในขณะนั้นหวาดกลัวเจ้ามีดชนิดนี้เป็นอย่างมาก แต่มีดก็คือมีดไม่มีทางที่จะสู้ปืนได้แน่นอน การต่อสู้กินเวลากว่า 2 ปีสงครามจึงสิ้นสุดพร้อมกับความพ่ายแพ้ของกองทัพชาวพื้นเมืองนั่นเอง

ส่วนเหตุการณ์ระดับตำนานของ “มีดโบโล” ครั้งที่สอง เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความน่ากลัวของมีดโบโลก็กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเกาะเลย์เตเพื่อใช้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับกองทัพเรือ

ชาวบ้านในพื้นที่จึงรวมตัวกันต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นโดยมีนางเนียร์เวส เฟอร์นานเดส ครูผู้หญิงวัย 30 ปลายๆ เป็นผู้นำชาวบ้านจำนวนกว่า 100 คนออกมาทำสงครามแบบกองโจรคอยโจมตีทหารญี่ปุ่น

ซึ่งวีรกรรมที่ทำให้ “กัปตันเฟอร์นานเดส” และชาวบ้านกลายเป็นที่จดจำนั่นก็คือการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นในระยะประชิดด้วยการใช้ “มีดโบโล” เป็นอาวุธหลัก

ทหารญี่ปุ่นถูกกองกำลังชาวบ้านดักโจมตีอยู่เสมอ ศพทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตด้วยฝีมือของชาวบ้านจะมีลักษณะที่เป็นจุดเด่นคือรอยแผลฉกรรจ์ตามร่างกายและที่หนักที่สุดก็คือการปาดคอจากด้านหลังจนคอเกือบขาดเหลือเพียงแต่หนังส่วนหนึ่งยึดหัวไว้ไม่ให้หลุด ภาพเหล่านั้นเป็นที่น่าสยดสยองของผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก

การโจมตีด้วยมีโบโลนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกองทัพญี่ปุ่นสืบทราบว่าผู้นำของกองกำลังที่ปั่นป่วนและสร้างความหวาดกลัวให้กับทหารญี่ปุ่นในขณะนั้นคือกัปตันเฟอร์นานเดส จึงได้มีการตั้งค่าหัวเธอให้กับผู้ที่สามารถจัดการเธอได้เป็นจำนวนเงินกว่า 10,000 เปโซ ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนที่สูงมากในขณะนั้น

โชคดีที่ทหารกองทัพสัมพันธมิตรได้โจมตีและยึดเกาะเลย์เตกลับมาได้ก่อนที่กัปตันเฟอร์นานเดสจะถูกล่าหัวได้ เหตุการณ์ในครั้งนี้นอกจากจะทำให้ชื่อของกัปตันเฟอร์นานเดสกลายเป็นตำนานในฐานะผู้นำที่เป็นเพียงครูสาวธรรมดาๆ ที่ลุกขึ้นมาฝึกชาวบ้านจนสามารถต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น และสามารถสังหารทหารญี่ปุ่นไปได้กว่า 200 นาย ทั้งๆ ที่มีจำนวนชาวบ้านมีเพียงแค่ 110 คนเท่านั้น ความน่ากลัวของมีโบโลยังถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในฐานะมีดทำการเกษตรธรรมดาที่เปลี่ยนไปเป็นอาวุธสังหารที่มากด้วยพิษสงเช่นกัน

ที่มา https://www.spokedark.tv/posts/bolo-knife/

Credit: https://www.spokedark.tv/posts/bolo-knife/
#มีดโปโล
THEPOco
Associate Producer
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
29 ส.ค. 60 เวลา 06:22 3,385 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...