ระเบิด ฟอสฟอรัสของอิสราเอลแรงได้ใจ



ฟอสฟอรัสขาวเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง มีสีขาวใสออกเหลือง มีกลิ่นคล้ายกระเทียม
จะทำการสันดาปอย่างรวดเร็วกับออกซิเจน ทำให้เกิดประกายไฟและควันสีขาวและเมื่อได้เจอกับความชื้นจะทำปฏิกิริยาจน เกิดกรดฟอสฟอริก เมื่อสัมผัสมนุษย์ มันจะไหม้ทั้งผิวหนังและเนื้อทุกส่วนจนเหลือแต่ซากกระดูกเท่านั้น
















 

ฟอสฟอรัส มี ๓ รูป คือ ฟอสฟอรัสขาว(เหลือง) ฟอสฟอรัสแดง และฟอสฟอรัสดำ ไม่ละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในเอทิลแอลกอฮอล์ละลายได้ดีในคลอโรฟอร์ม เบนซิน และคาร์บอนไดซัลไฟด์ ฟอสฟอรัสขาวเป็นของแข็งไม่มีสีหรือสีคล้ายขี้ผึ้ง  จะติดไฟในอากาศและเผาไหม้ได้ เปลวไฟสีน้ำเงิน ให้กลิ่นคล้ายกระเทียมฟอสฟอรัสแดงมีความคงตัวมากกว่า
 

 

 

อาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับฟอสฟอรัส
    ได้แก่ การผลิตวัตถุระเบิด อุตสาหกรรมสารเคมี การผลิตสารเบื่อหนู  การผลิตปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสแดงใช้ทำหัวไม้ขีดไฟ

ทาง เข้าสู่ร่างกาย 
    ๑. ดูดซึมทางผิวหนัง
    ๒. โดยการรับประทาน
    ๓. โดยการหายใจ
 
  อาการ ได้รับพิษจากฟอสฟอรัส
  ๑. พิษเฉียบพลัน  อาจเกิดจากการกินโดยอุบัติเหตุหรือฆ่าตัวตาย จะทำให้ทางเดินอาหาร ตับ ไต เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง ผนังบุทางเดินอาหารและลำไส้อาจถูกทำลาย เกิดอาการดีซ่านอาจมีการอาเจียนเป็นเลือด ตกเลือดในเนื้อเยื่อต่างๆอาจมีเลือดปนมาในปัสสาวะ มักมีอาการโลหิตจางก่อนตาย
  ๒. พิษเรื้อรัง  จากการหายใจเอาไอระเหยของฟอสฟอรัสทำให้เกิดการทำลายของกระดูกขากรรไกร
 
  การควบคุมและป้องกัน

แบ่งออกเป็น ทางวิศวกรรม และทางการแพทย์

ทางวิศวกรรม
 ๑. การควบคุมในการสัมผัสกับควันของฟอสฟอรัสขาว เนื่องจากมักติดไฟในอากาศ จึงต้องเก็บไว้ในน้ำเสมอ
๒. ในบริเวณที่มีการใช้ฟอสฟอรัสขาวควรมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม
๓. ชิ้นฟอสฟอรัสขาวที่หลุดออกจากกระบวนการผลิตต้องดับด้วยน้ำ
๔. อัคคีภัยจากฟอสฟอรัสให้ใช้น้ำฉีดพ่นและกลบด้วยทราย ดิน หรือเครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์
๕. ควรเก็บสารนี้ไว้ในที่เย็นและอยู่ไกลจากสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนรุนแรง สารไวไฟและการสัมผัสกับแสงอาทิตย์โดยตรง

  ทางการแพทย์
  ๑. ควรตรวจสุขภาพคนงาน ตั้งแต่เข้าทำงานโดยตรวจสุขภาพทั่วไป สุขภาพฟันและช่องปาก
  ๒. คนงานที่สัมผัสกับฟอสฟอรัสขาวควรปรึกษาแพทย์และควรได้รับการตรวจเป็นระยะๆ โดยแพทย์และทันตแพทย์
  ๓. ถ้าสงสัยว่ากระดูกขากรรไกรของคนงานที่สัมผัสกับฟอสฟอรัสขาวถูกทำลาย คนงานนั้นควรหยุดสัมผัสกับฟอสฟอรัส

  ค่ามาตรฐาน
  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม(สารเคมี) กำหนดให้
  ฟอสฟอรัส (เหลือง) มีความเข้มข้นเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติไม่เกิน ๐.๑ มิลลิกรัมต่ออากาศ ๑ ลูกบาศ

 

เป็นระเบิดที่ทำมาเพื่อให้เกิดปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจน..นั่นคือทำอัตรายกับ สิ่งมีชีวิตที่มีอ๊อกซิเจนในเซลเนื้อเยื่อโดยตรง..ถ้าระเบิดกับอาคารบ้าน เรือนไม่ส่งผลเสียหายเท่าไดนักคงมีแต่แรงอัดระเบิดเท่านั้นที่ทำให้บ้าน เรือนเสียหาย..จุดประสงค์หลักคือทำมาเพื่อผลทางการทหาร..โดยผลิตออกมาในรูป ของระเบิดมือขว้างและลูกระเบิดที่ใช้ยิงกับเครื่องยิงแบบตอกชนวนแล้วกระทบ แตกบางชนิด..เพราะในเซลเนื้อเยื่อของมนุษย์นั้นเต็มไปด้วยอ๊อกซิเจนมากมาย เมื่อเซลสำผัสกับฟอสฟอรัสโดยตรงจะเกิดการกัดกร่อนในแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ไป เรื่อยๆจนกว่าปริมาณของฟอสฟอรัสจะถูกเผาไหม้จนหมดนั่นก็คือคงถึงกระดูกของ ทหารที่โดนแล้วแน่นอน..ถ้าโดนในจุดสำคัญอาจถึงตาย..ถ้าโดนในจุดอื่นก็คงทำ ให้ทหารคนนั้นไม่สามารถทำการรบต่อไปได้อีก..ทางแก้มีทางเดียวคือเอามีดประจำ กายหรือมีดปรายปืนนั่นแหล่ะตัดแบบคว้านเอาชิ้นเนื้อที่อยู่รอบๆบริเวณที่โดน ฟอสฟอรัสทิ้งให้เร็วที่สุดเพื่อตัดการสันดาบกับอ๊อกซิเจนในเนื้อเยื่อที่ อยู่รอบๆบริเวณที่โดนฟอสฟอรัส..ที่คือเหตุผลที่ทำให้ทหารคนนั้นไม่สามารถทำ การรบได้อีกต่อไป..นิยมใช้มากในสงครามเวียดนามควบคู่ไปกับระเบิดนาปาม


 

โดนแล้วจะเป็นแบบนี่
โหด มากๆ

Credit: http://atcloud.com/stories/76071
12 ก.ค. 53 เวลา 07:03 24,074 46 416
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...