read:http://petmaya.com/13-countries-facebook-cencored
Facebook ถือเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ฮอตฮิตที่สุดบนโลกก็ว่าได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถเข้าถึง Facebook ได้ทั้งหมด บางประเทศก็จำกัดการเข้าถึงของประชาชนไม่ให้เล่นได้ตลอดเวลา ส่วนบางประเทศก็เคยแบน Facebook เป็นบางช่วง แต่ประเทศไหนบ้างที่เคยแบน Facebook และด้วยเหตุผลอะไร วันนี้เพชรมายา จะขอพามาชมกัน
1. จีน
เฟสบุ๊คในจีนถูกบล๊อคตั้งแต่เกิดจราจลในเมืองอุรุมชี ในเดือนกรกฎาคมปี 2009 เนื่องจากฝ่ายกบฏซินเจียงได้ใช้ Facebook เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการสื่อสาร จนเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2013 มีรายงานว่า Facebook ถูกปลอดบล๊อคเป็นบางส่วนในจีน แต่เว็บไซต์ในจีนก็ยังยืนยันว่า Facebook ยังคงถูกบล๊อคอยู่ ส่วนในฮ่องกงและมาเก๊า Facebook ยังคงใช้งานได้ตามปกติ
2. บังกลาเทศ
ในบังกลาเทศมีเหตุในรัฐบาลต้องแบน Facebook หลายครั้งเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยมีสาเหตุมาจากการก่อจราจลเป็นส่วนใหญ่ และในปี 2017 นี้เอง ทางรัฐบาลได้มีการเสนอให้ทำการบล๊อค Facebook เป็นเวลา 6 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืนอีกด้วย
3. อียิปต์
Facebook และอินเทอร์เน็ตทั้งหมดถูกบล๊อคเป็นเวลาไม่กี่วันระหว่างปี 2011 หลังจากมีการประท้วงกันในประเทศ
4. อิหร่าน
หลังการเลือกตั้งในปี 2009 โซเชียลเน็ตเวิร์คถูกแบนเพราะรัฐบาลกลัวการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งกินเวลานานถึง 4 ปี จนถึงเดือนกันยายน 2013 จู่ๆ Facebook และ Twitter ก็ถูกปลดบล๊อคโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า แต่ก็ถูกบล๊อคซ้ำอีกครั้งในวันถัดมา จนถึงปัจจุบันเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด 50 อันดับแรกถูกบล๊อคหมด ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Youtube และ Google Plus
5. มอริเชียส
กระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารของมอริเชียสได้สั่งให้ ISP แบนเฟสบุ๊คทันทีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2007 เหตุจากการที่มีคนสร้างโปรไฟล์ปลอมของนายกรัฐมนตรี แต่เพียงแค่วันเดียวก็กลับมาใช้งานได้ตามปกติ
6. เยอรมนี
ถึงแม้ในเยอรมนีจะไม่ได้มีการบล๊อคหรือแบนเฟสบุ๊คเหมือนในประเทศอื่น แต่ในปี 2011 เอง ทางเยอรมนีก็มีการหารือเกี่ยวกับการโพสต์ที่เป็นสาธารณะบนเฟสบุ๊คอาจสร้างปัญหาได้ เช่นเด็กสาววัย 16 คนหนึ่ง ที่โพสต์ข้อความเชิญแขกมาร่วมงานวันเกิดเธอที่บ้านในฮัมบูร์ก ปรากฏว่ามีคนเดินทางมามากถึง 1,600 คน ซึ่งมีการให้ตำรวจกว่า 100 คนเข้าควบคุมสถานการณ์จนเกิดการทำร้ายร่างกายและสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และในปี 2015 ในช่วงวิกฤตอพยพชาวยุโรป ทางรัฐบาลได้บังคับให้เฟสบุ๊คลบคอมเมนท์ที่ไม่เหมาะสม
7. เกาหลีเหนือ
อย่างที่ทราบกันดีว่าเกาหลีเหนือไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้อินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ และจากเดือนเมษายน 2016 ทางเกาหลีเหนือในบล๊อค Facebook สำหรับผู้ที่ลักลอบเข้าใช้งาน ซึ่งใครก็ตามที่พยายามเข้าถึงจะต้องถูกลงโทษ
8. ซีเรีย
ในปี 2007 รัฐบาลซีเรียอ้างว่า Facebook ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสนุนการโจมตีรัฐบาล และยังเป็นช่องทางของการแทรกซึมของชาวยิวในสังคมโซเชียลของซีเรีย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ชาวซีเรียได้ใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมาตลอด จนกระทั่งในปี 2011 Facebook ถูกปลดบล๊อคและสามารถเข้าใช้ได้ตามปกติ
9. ทาจิกิสถาน
ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ทาจิกิสถานได้ทำการปิดกั้นการเข้าถึง Facebook เนื่องจากมีความเห็นที่ถือใส่ร้ายป้ายสีประธานาธิบดี เอโมมาลี ราห์มอน และเจ้าหน้าที่รัฐคนอื่นๆ
10. สหราชอาณาจักร
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2011 ก่อนวันแต่งงานระหว่างเจ้าชายวิลเลียม และ แคทเธอรีน มิดเดิลตัน มีกลุ่มและเพจบน Facebook จำนวนมากที่ถูกลบและแบน เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามกิจกรรมทางการเมืองทั่วประเทศ บางส่วนเป็นการคัดค้านมาตรการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และบางส่วนก็เป็นกลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์
11. เวียดนาม
ในปี 2009 ชาวเวียดนามไม่สามารถเข้า Facebook ได้นานกว่า 1 สัปดาห์ แต่รัฐบาลออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่เบื้องหลัง ในเดือนกันยายนปี 2013 รัฐบาลสั่งห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลบน Facebook และในเดือนพฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา เวียดนามเองก็บล๊อค Facebook ไปนานกว่า 2 สัปดาห์ ในช่วงระหว่างการชุมนุมในประเทศเช่นกัน
ส่วนในไทยเอง ถึงแม้จะมีเฟสบุ๊คล่มเป็นระยะ แต่ก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการบล๊อคเฟสบุ๊คที่เกิดจากฝีมือของรัฐบาลแต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการล่มของทาง Facebook โดยเป็นกันทั่วโลกนั่นเอง
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Censorship_of_Facebook#See_also