https://www.meekhao.com/travel/smallest-national-forest
เกาะเอแดค รัฐอะแลสกา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นหนึ่งในหมู่เกาะที่อยู่ทางทิศตะวันตกที่สุดของสหรัฐอเมริกา เมืองเอแดคมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 300 คน
ด้วยกระแสสมรุนแรงที่พัดผ่านตลอดปี ทำให้มีสภาพอากาศหนาวเย็น นั่นหมายความว่าจะมีแต่ต้นไม้ใบหญ้าที่ทนความหนาวได้แบบสุดๆ เท่านั้นจึงจะงอกขึ้นในสภาพอากาศแบบนี้ได้ ทำให้เกาะแห่งนี้มีเพียงแค่ทุ่งหญ้าและต้นสนอีก 33 ต้นตั้งอยู่ที่ตืนเขาเท่านั้น
ต้นสนเหล่านี้ถูกปลูกขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยทหารอเมริกัน จุดประสงค์หลักในการปลูกต้นสนเหล่านี้ก็เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกองทหารที่ประจำการอยู่ในป้อมที่อยู่ห่างไกลจากแผ่นดินแม่ และต้องทนทุกข์กับสภาพอากาศอันเลวร้ายที่มีทั้งหิมะ ลูกเห็บ ฝน และหมอก
พลโทไซม่อน บุ๊กเนอร์ จึงมีความคิดว่าการปลูกต้นคริสต์มาสบนเกาะที่ปราศจากพืชพรรณป่าไม้จะช่วยปลุกขวัญกำลังใจให้กับพลทหารได้ ดังนั้นโครงการปลูกต้นไม้จึงเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1943 จนถึง ค.ศ.1945 โชคไม่ดีที่สภาพภูมิอากาศในแถบนี้หนาวเหน็บรุนแรงเหลือเกินทำให้ต้นสนจำนวนมากไม่อาจทดอยู่รอดได้ เหลือเพียงต้นที่แข็งแรงที่สุดเพียงต้นเดียวเท่านั้น
“สิ่งที่น่าเศร้ายิ่งกว่าการไม่มีต้นคริสต์มาส ก็คือการที่ได้แต่ยืนมองต้นคริสต์มาสที่ปลูกขึ้นกับมือกำลังตายอย่างช้าๆ”
อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาพอากาศทุเลาลง ต้นสนบางต้นก็กลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้งและเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีก็เกิดเป็นกลุ่มต้นสน กลายเป็นป่าเล็กๆ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็น
แต่หลังจากนั้นได้มีคนเล่นตลก นำป้ายมาปักที่ข้างๆ กลุ่มต้นสนเหล่านี้เขียนว่า “คุณได้เข้าสู่และกำลังออกจากอุทยานแห่งชาติเอแดค” ชาวบ้านต่างก็ชอบใจกับป้ายนั้นและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเกาะแห่งนี้
แน่นอนว่าทางรัฐบาลสหรัฐไม่ได้ถือว่าป่าสนแห่งนี้มีสถานะเป็นอุทยานแห่งชาติจริงๆ แต่อย่างใด
แต่ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่ากองทหารได้ฉลองคริสต์มาสข้างๆ ต้นสนเหล่านี้หรือไม่ แต่จุดประสงค์ที่ต้นสนเหล่านี้ถูกปลูกไว้เพื่อเทศกาลคริสต์มาสก็ไม่ได้จางหายไป โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะจะช่วยกันตกแต่งต้นสนทุกต้น “ทั้งป่า” ในเดือนธันวาคมเพื่อฉลองคริสต์มาส
ปัจจุบันต้นสนมีขนาดใหญ่ขึ้นมากและแข็งแรงพร้อมรับสภาพอากาศอันเลวร้ายได้อย่างเต็มที่
บรรยากาศด้านใน “ป่าสน”
ที่มา https://roadtrippers.com/stories/the-sad-tale-of-americas-smallest-national-forest?lat=40.80972&lng=-96.67528&z=5