รู้จัก *พาลลาเดียม* พลังงานและยาพิษของ ไอรอนแมน

รู้จัก "พาลลาเดียม" พลังงานและยาพิษของ "ไอรอนแมน"



รู้จัก "พาลลาเดียม" พลังงานและยาพิษของ "ไอรอนแมน"


พาลลาเดียมโลหะเงินวาว ที่มีบทบาทใน "ไอรอนแมน"

กลับมาโลดแล่นบนจอเงินในภาคต่ออีกครั้ง สำหรับภาพยนตร์ฮีโร่สร้างได้ “คนเกราะเหล็ก” หรือ “ไอรอนแมน” มาครั้งนี้ ขนชุดเกราะมาเพียบกว่าเดิม ซึ่งชุดเกราะแต่ละชุดนั้นมี “อาร์ค-รีแอคเตอร์” เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ แต่เชื้อเพลิงที่ทำให้ชุดเกราะแข็งแกร่งไร้เทียมทาน กลับกลายเป็นยาพิษที่บั่นทอนสุขภาพพระเอกของเราทีละน้อย


“โทนี สตาร์ก" (Tony Stark) เศรษฐีอัจฉริยะสร้างชุดเกราะให้ตัวเองกลาย "ไอรอนแมน" (Iron Man) โดยอาศัยพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันจาก "พาลลาเดียม" (Palladium) ซึ่งแม้จะให้พลังงานแก่ฮีโร่คนธรรมดา แต่เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ตัวนี้กลับทำให้เขาตายผ่อนส่ง

ในโลกของความเป็นจริง พาลลาเดียมเป็นธาตุทรานสิชัน (Transition) มีลักษณะเป็นโลหะเงินวาว ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มโลหะแพลตินัม (Platinum) หรือพีจีเอ็มเอส (PGMs) ที่ประกอบไปด้วย แพลตินัม (platinum) โรเดียม (rhodium) รูเทเนียม (ruthenium) เออริเดียม (iridium) และ ออสเมียม (osmium)

ธาตุที่ถูกจัดให้เป็นธาตุทรานสิชันนั้น พิจารณาจากคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าและความร้อน และสามารถดัดงอได้ โดยโลหะในกล่มพีจีเอ็มเอสนี้ มีคุณสมบัติทางเคมีหลายอย่างร่วมกัน แต่พาลลาเดียมมีจุดหลอมละลาย (melting point) และความหนาแน่นต่ำกว่าธาตุอื่นๆ ในกลุ่ม


ทั้งนี้ มีการประยุกต์ใช้ธาตุพาลลาเดียมในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมตัวเร่งปฏิกิริยา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ผ่าตัด เป็นต้น

พาลลาเดียมถูกค้นพบเมื่อปี 1803 โดย วิลเลียม ไฮด์ วอลลาสตัน (William Hyde Wollaston) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ซึ่งชื่อของธาตุ ถูกตั้งตามชื่อดาวหางพาลลัส (Pallas) ที่มาเยือนโลกเมื่อปี 1801 และเป็นชื่อตามเทพีกรีกนามว่า พาลลัส เอเธนา (Pallas Athena) เทพีแห่งความรุ่งเรืองและสติปัญญา

ธาตุนี้ได้รับการยอมรับจากสหพันธ์เคมีบริสุทธิ์และประยุกต์สากล (International Union of Pure and Applied Chemistry) หรือ IUPAC ให้เป็นธาตุหนึ่งในตารางธาตุปัจจุบันเมื่อปี 1985


ทั้งนี้ พาลลาเดียม เคยถูกใช้อ้างว่าเป็นเชื้อเพลิงสำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแบบเย็น (cold fusion) ได้ ซึ่งรู้จักกันว่า การทดลองไฟลส์ชแมนน์-พอนส์ (Fleischmann-Pons experiment) ของ มาร์ติน ไฟลส์แมนน์ (Martin Fleischmann) นักเคมีชาวอังกฤษ และสแตนลีย์ พอนส์ (Stanley Pons) นักเคมีไฟฟ้าชาวฝรั่งเศส เมื่อปี 1989 แต่ภายหลังความพยายามในการพิสูจน์ของนักวิทยาศาสตร์นับร้อยคนทำให้ทราบว่า การทดลองดังกล่าวไม่สามารถทำได้จริง.

 

 

 

 


 





 

 

 

Credit: scimovie
9 ก.ค. 53 เวลา 15:31 6,836 3 114
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...