เทคออฟ! เครื่องบินพลังแดดทะยานฟ้าพิสูจน์อึด 24 ชม.

เทคออฟ! เครื่องบินพลังแดดทะยานฟ้าพิสูจน์อึด 24 ชม.


(ซ้าย) อังเดร บอร์สชเบิร์ก นักบินผู้รับหน้าที่พิสูจน์ความอึดของพลังแสงอาทิตย์ และ (ขวา) แบร์ทรอง ปิการ์ ผู้ทำลายสถิติเดินทางรอบโลกด้วยบอลลูน และเป็นผู้มีส่วนในการเริ่มโครงการนี้



เครื่องบินทดลองพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผู้สร้างหวังว่าในสักวันจะบินรอบโลก โดยใช้เพียงพลังงานสะสมจากแสงแดด ได้ทะยานฟ้าจากสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทดสอบเที่ยวบินยาว 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรกแล้ว



บินผ่านสวิสแอลป์



ทั้งนี้ "โซลาร์อิมพัลส์" (Solar Impulse) เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งยังอยู่ในขั้นทดลองได้ทะยานออกจากเมืองพาเยอร์เน (Payerne) สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 ก.ค.53 ก่อนเวลา 07.00 น.เล็กน้อยตามเวลาท้องถิ่นหรือช่วงเที่ยงวันตามเวลาประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้เครื่องบินซึ่งมีความกว้างของปีก 80 เมตรนี้ได้เลื่อนกำหนดทดสอบเที่ยวบิน 24 ชั่วโมงซึ่งเป็นเที่ยวบินแรกมาแล้วครั้งหนึ่ง เนื่องจากปัญหาทางด้านเทคนิค

เอพีระบุว่า สภาพท้องฟ้าที่แจ่มใส ระหว่างทดสอบเที่ยวบินแรกของการบินทดสอบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง จะทำให้เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบนี้ สามารถบินข้ามจากเทือกเขายูรา (Jura mountains) ไปยังซีกตะวันตกของภูเขาสวิสแอลป์ (Swiss Alps) ได้



ในช่วงเช้า อังเดร บอร์สชเบิร์ก (Andre Borschberg) นักบินผู้ขับเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ พยายามไต่ระดับขึ้นไปที่ความสูง 3,000 เมตร เมื่อหลีกหนีความวุ่นวายของบรรยากาศเบื้องล่าง และหลีกหนีลมร้อนที่พัดกระหน่ำจากภูเขา และเขาจะนำเครื่องบินขึ้นไปที่ความสูง 8,500 เมตร ให้ได้ก่อนช่วงเย็นของวันพุธนี้ตามเวลาท้องถิ่น หรือประมาณเกือบเที่ยงคืนตามเวลาประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักบินต้องตัดสินว่าจะนำเครื่องบินไปต่อ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่เก็บไว้ในแบตเตอรีหรือไม่

“เป้าหมายของโครงการนี้ คือทำให้ได้เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ที่บินได้ทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่ต้องรับพลังงานตลอดเวลา” เอพีระบุคำพูดของแบร์ทรอง ปิการ์ (Bertrand Piccard) ผู้ร่วมก่อตั้งทีมในโครงการนี้ และเขายังเสริมว่า เที่ยวบินทดสอบนี้ เป็นสำคัญก้าวที่สาม หลังการทดลองเที่ยวบิน “หมัดกระโดด” (flea hop) และเที่ยวบินที่ไปได้ไกลขึ้นเมื่อต้นปีนี้ และเที่ยวบินล่าสุดจะสาธิตให้เห็นว่า เครื่องบินลักษณะนี้สามารถที่จะบินได้รอบโลก


ก่อนเทคออฟ



“เที่ยวบินนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่โครงการ” ปิการ์ผู้ประสบความสำเร็จในการเดินทางรอบโลกด้วยบอลลูนกล่าว ซึ่งพ่อของเขาประสบความสำเร็จในการเดินทางรอบโลกด้วยเครื่องบิน ส่วนปู่ประสบความสำเร็จในการเดินทางด้วยเรือดำน้ำ

ทั้งนี้ ทีมพัฒนาเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์นี้ คาดหวังที่ประสบความสำเร็จในเที่ยวบิน 24 ชั่วโมงตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่วันของซีกโลกทางเหนือยาวนานที่สุด และจะเปิดโอกาสให้เซลล์แสงอาทิตย์ 12,000 เซลล์ของเครื่องบินสะสมพลังงานได้มากพอที่บินผ่านเวลากลางคืนได้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ขัดข้องจึงเลื่อนออกมาเป็นวันที่ 7 ก.ค.


โซลาร์อิมพัลส์บินผ่านภูเขามองต์บลังก์




Credit: scimovie
9 ก.ค. 53 เวลา 15:19 1,529 3 88
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...