100 ปีกู่วัดสวนดอก
พอดีวันนี้ไปวัดสวนดอกมา เลยไปเก็บภาพกู่ ที่วัดมาพร้อมประวัติ ซึ่งปีนี้กู่วัดสวนดอกจะมีอายุครบ 100 ปีพอดี คำว่ากู่ ตามสารานุกรมวัฒนธรมไทยภาคเหนือ ฉบับปี พ.ศ.2530 ไดให้ความหายไว้ว่า กู่ คือ ที่บรรจุอัฐิของบุคคลล่วงลับไปแล้ว และ พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ์พ.ศ.2530 ได้ให้ความหมายของกู่ไว้ 3 อย่างครับคือ
1.หมายถึงวัด
2.หมายถึง เจดีย์ อันเป็นสิ่งซึ่งก่อเป็นรูปลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ หรือ บุคคลที่เคารพยับถือ
3.หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่คล้ายเจดีย์บรจุอัฐิธาตุของบุคคลผู้ล่วงลับ โดยมีขนาดและศิลปกรรม หลากหลายแตกต่างกันไปตามสมัยนิยม
พระเมรุพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 บริเวณช่วงเมรุ
สำหรับ กู่ วัดสวนดอก นี้เป็นที่บรรจุอัฐิ พระ อัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ เชื้อสาย เดิมเคยตั้งอยุ่บริเวณ ข่วงเมรุ ซึ่งเป็นสนามโล่ง ไว้ใช้เผาศพ ของเจ้าผู้คตรองนครเชียงหใ ถ้าเทียบกับ รกุงเทพ ก็คือ ทุ่งพระเมรุ หรือ สนามหลวงในปัจจุบัน และ เมื่อเผาแล้ว ก็จะสร้างกู่ หรือ ที่เก็บกระดูกขึ้นในบริเวณนั้น ซึ่งเจ้าองค์สุดท้ายที่มีการสร้างเมรขึ้น คือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นบิดา ของ พระราชายาเจ้าดารารัศมี หลังจากงานของพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว บริเวณนั้นไดเริ่มมีการสร้างบย้านเรือนขึ้น โดยบางส่วนนั้นไดมีการบุกรุกเข้าไปในบริเวณข่วงเมรุ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ต้องจ่ายเงินถึง ๑๓,๐๐๐ รูเปียเป็นค่ารื้อย้ายบ้านเรือนที่บุกรุกเข้าไปข่วงเมรุ และ จัดสรรพื้นที่นี้เป็นกาด หรือ ตลาด ( บริเวณตลาดวโรรส ในปัจจุบัน) ต่อมา พระราชายาเจ้าดารารัศมี ไดเสด็จกลับ เชียงใหม่ ทรงเห็นว่า กู่ ต่างๆนั้นกระจัดกระจายอยู่บริเวณกาด ดูไม่เป็นระเบียบ ไม่เหมาะสม จึงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระอวงค์ ในการรื้อย้าย กุ่บริเวณนั้นทั้งหมด และ โปรดให้สร้างกู่ใหม่ขึ้น ในบริเวณวัดสวนดอก โดยมีแนวคิดมาจาก สุสานหลวง วัดราชบพิธ ที่กรุงเทพ และ ให้ช่างจากกรุเทพเป็นคนออกแบบและสร้างกู่ โดยกู่ในยุคแรกนั้นเป็นศิลป สถาปัตยกรรมระหว่างไทย ล้านนา และ ยุโรป ผสมกันหลากหลาย เป็มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด โดยในก่อนที่ ที่พระราชายาเจ้าดารารัศมีได้เสด็จเชียงใหม่ครั้งหลังสุดนั้น ยังโปรดให้ช่างของกรมศิลปากรออกแบบกู่ของพระองค์และถวายให้กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงตรวจแก้ด้วย กุ๋ที่สร้างในยุคต่อๆมา จึงต้องอ้างอิงจากศิลปกรรมของกู่เดิม ที่มีเมื่อแรกสร้าง โดยเมื่อสร้างกุ่ และ รื้อย้ายอัฐิมาไว้ ณ วัดสวนดอกแล้ว โปรดหใมการจัดงานเฉลิงฉลอง 5 วัน 5 คืน และ เป็นครั้งแรกที่มีการนำศิลปการแสดง จากเมืองหลวง มาเผยแพร่ ยังเชียงใหม่ด้วย คือ การแสดงเรื่องสาวเครือฟ้า ซึ่งเป็นพระนิพนธํของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ภาพงานฉลองกู่
กู่วัดสวนดอกในปัจจุบัน
แต่ละกู่จะมีขนาดและ รูปทรงที่แตกต่างกันไป ตามเจ้าของ ยศฐา บรรดาศักดิ์ ของเจ้าของครับ
มีเยอะมากครับ แรกสร้างเดิมทีเดียวมีแค่ 11 กู่ นับถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีการจัดทำบัญชีกู่ทั้งหมดเมื่อปีที่แล้วได้ 113 กู่ ครับ
กู่ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่ออกแบบโดยกรมศิลปากร
ไม่ค่อยเจอคนไทย เจอแต่ชาวต่างชาติซะส่วนใหญ่ที่มาผักผ่อนหย่อนกายกันในบริเวณนั้น
กู่ของเจ้าสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่ ที่พึ่งมีการบบรจุไป เมื่อ2 ปีที่แล้ว รูปทรงของกู่ที่สร้างใหม่ ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงของแบบเดิม แต่ขนาดอาจเล้กลงไปตามพื้นที่ ซึ่งไม่กว้างขวางเท่าไหร่นัก นอกจากเจ้านายฝ่ายเหนือแล้ว ยังมีอีกหนึ่งกุ่ที่เป็น ท่านหญิงฉัตรสุดา วงทองศรี (ม.จ.ฉัตรสุดา ฉัตรไชย พระธิดาในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระราชโอรสในรัชกาลที่5 กับ เจ้าลดาคำ ท่านหญิงเป็นหลานรักของพระราชชายาจ้าดารารัศมี และ ผูกพันธ์กับเชียงใหม่มากี่ทบรจุอัฐิของท่านจึงสร้าเป็นกุ่ขึ้นในบริเวณวัดสวนดอก ไม่แน่ใจว่าพระอัฐิแบ่งมาไว้ที่นี่บางส่วนหรือเปล่า คิดว่าบางส่วนอาจอยุ่ที่ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตย์มหาสีมาราม กรุงเทพ)
นอกจากู่แล้ว วัดสวนดอกยังปรากฎสร้างอื่นๆที่น่าสนใจอีก เช่น วิหารโถง ซุ้มประตูโขง และ เจดีย์ประธาน
สำหรับเจดีย์ประธานนั้นสร้างในสมัย พญากือนา ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของวิหารโถง โดยลักษณะเป็นเจดีย์ทรงลังกาตั้งอยุ่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมสูง มัซุ้มประตูทางขึ้น ทั้ง 4 ด้าน ที่ซุ้มทั้ง4 ด้านแสดงลักษณะของเจดีย์ทรงกลมที่ปรากฎให้เห้ฯในกรุงพุกาม ประเทศพม่าด้วย โดยในอดีตนั้น บริเวณทิศตะวันตกของวัด คเยมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ยอดดอกบัวตูม แบบสุโขทัย ซึ่งพระสุมนเถระซึ่งมาจากสุโขทัยได้สร้างไว้ แต่ถูกรื้อทิ้งในเวลาต่อมา
วิหารโถง วัดสวนดอก ซึ่งเป็นวิหารโถงที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา กว้าง 25 เมตร ยาว 66 เมตร เป็นวิหารเปิดข้าง (โล่ง) แบบล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ฐานและโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่มีผนัง มีระเบียงโดยรอบตัววิหาร วิหารโถงหลังนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 หลังจากที่วัดสวนดอกถูกทอดทิ้งให้รกร้างขาดการอุปถัมภ์มายาวนานกว่า 30 ปี วัดสวนดอกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากือนา เมื่อ 600 กว่าปีก่อนถูกทิ้งร้างมาอย่างน้อย 2 รอบแรกเมื่อครั้งเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างหลังยุคพม่าครอบครอง จนเมื่อพระเจ้ากาวิละ ขับไล่พม่าออกไปและเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองฟื้นฟูเชียงใหม่ให้เป็นเมืองเอกแห่งล้านนา ยุคนั้นวัดสวนดอกคงถูกทิ้งร้างไปพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ รอบที่สองในยุคที่เชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละฯ แต่งตั้งพระหาวชิระปัญญา วัดสวนดอกเป็นประมุขสงฆ์เมืองเชียงใหม่ ในยุคการฟื้นฟูเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัดสวนดอก เป็นวัดสำคัญของเมือง ครั้งพระเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย (พ.ศ.2440) วัดทรุดโทรมขาดการดูแลรักษา แม้ว่าพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ย้ายกู้เจ้านายฝ่ายเหนือจากริมแม่น้ำปิงมาตั้งในเขตวัดด้านทิศเหนือเมื่อปี พ.ศ.2452 แต่ในครั้งนั้นวัดก็ไม่ได้อยู่ในสภาพของวัดที่รุ่งเรือง พ.ศ. 2474 เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย (2454-2482) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และครูบาศรีวิชัย ประธานฝ่ายสงฆ์ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ด้วยแรงศรัทธาที่ชาวเชียงใหม่มีต่อครูบาศรีวิชัย ทำให้มีประชาชนร่วมบริจาคทั้งทรัพย์และแรง การก่อสร้างซุ้มประตูโขงและกำแพง, บูรณะเจดีย์พระธาตุองค์ประธาน, สร้างวิหารหลวงขึ้นมาโดยของเดิมคงไว้แค่พระประธาน และ ผนังด้านหลังองค์พระ
พระประธานภายในวิหารโถงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย สร้างขึ้นเมื่อแรกสร้างวัดสวนดอกในสมัยพระเจ้ากือนา พระพุทธรูปของเก่าก่อนบูรณะใหญ่อีกองค์คือ พระพุทธรูปองค์เล็กด้านหน้าพระประธานเรียกว่า พระเจ้าค่าคิง ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร ตามตำนานสร้างขึ้นเมื่อพระเจ้ากือนาทรงประชวร พระมารดาจึงโปรดให้สร้างขึ้นให้มีขนาดเท่าพระวรกาย พระพุทธรูปทรงเครื่อง 2 องค์ ด้านซ้าย- ขวาของพระประธานสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า หรือที่เรียกว่าพระทรงเครื่อง สันนิษฐานว่าเป็นของเก่าเมื่อครั้งราชวงศ์มังราย และเป็นเครื่องชี้ถึงอิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับพุกาม พระที่สร้างขึ้นในยุคบูรณะใหญ่ พ.ศ. 2474 องค์ที่ครูบาศรีวิชัยสร้างคือพระเวสสุวรรณด้านหน้า และพระพุทธรูปยืนด้านหลังพระประธาน เป็นพระพุทธรูปไม่กี่องค์ที่หันพระพักตร์ทางทิศตะวันตก พระพุทธรูปยืนสององค์ขนาดเท่ากับครูบาศรีวิชัยทำด้วยทองเหลืองเบื้องซ้ายขวาพระประธาน
ใครมาเชียฝหม่สนใจจะมาเที่ยวชมกู่วัดสวนดอก และ วิหารโถงที่ใหย๋ที่สุดของล้านน้าก้มาไดนะครับ เปิดทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ^^