คุณรู้จักมั้ย ..แมงมัน..คือไร

คุณรู้จักมั้ย "แมงมัน" คือไร 


แมงมัน เป็นแมลงชนิ

 

แมงมัน เป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายมด (จริงๆ ผู้เขียวคิดว่ามันก็เครือเดียวกันนั่นแหละ) ถ้าไม่รู้จักมาก่อน จะเรียกว่า “มดยักษ์มีปีก”
ก็คงไม่ผิด ตอนเด็กๆ เคยมีประสบการณ์ได้พบเห็นการขุดรังแมงมัน
เรื่องนี้จำได้ติดตา เพราะประทับใจแกมสลดอยู่ว่าพวกเล่นสัมปทานขุดยกรัง
ทั้งตัวแม่ ตัวพ่อ ไข่ ลูกเด็กเล็กแดง ประสบเคราะห์กรรมกันทั้งหมด
แต่เราก็กินกับเขาด้วย ลำแต้ๆ

สำหรับคนที่ไม่ได้เคยเห็นหน้าคร่าตาแมงมันมาก่อน
แล้วอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้เกิดสงสัยว่าพูดถึงเรื่องอะไรอยู่
ขออภัยที่ไม่ได้ให้ข้อมูลพื้นฐานเสียก่อน เอาเป็นว่าขอยืมข้อมูลจาก
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
(http://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem704.html) มาให้อ่านกันก่อนนะ


ลักษณะ

แมงมันเป็นสัตว์ที่มีลักษณะแตกต่างกันอยู่ ๓ ลักษณะ
ถ้าเป็นแม่แมงมันจะมีลักษณะคล้ายมดคันตัวเล็กๆ สีแดงออกส้ม
กัดเจ็บและคันมาก ลักษณะที่สอง คือ ไข่ มีลักษณะคล้ายไข่มดแดง มีสีนวล
เรียกไข่แมงมัน อยู่ในดินลึกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
ลักษณะที่สามลูกแมงมันจัดอยู่ในประเภทแมงชนิดหนึ่งมีปีกคล้ายกับลูกมดแดงแต่
ตัวใหญ่กว่า ส่วนท้ายจะป่องมากมีสีน้ำตาลไหม้ บินได้
ชนิดที่เป็นแมลงนี้เรียก “ลูกแมงมัน”
ซึ่งมีทั้งตัวผู้และตัวเมียสำหรับตัวผู้ตัวจะเล็กกว่าตัวเมียและสีออกเหลือง
ลูกแมงมัน จะบินไปผสมพันธุ์ใหม่และสร้างที่อยู่ใหม่


ถิ่นที่อยู่


แมงมันชอบอาศัยอยู่ตามที่ดินที่เป็นที่ดอน
น้ำท่วมไม่ถึง ชอบดินแข็งและชอบอยู่ใกล้รากไม้ใหญ่ๆ คล้ายปลวก แต่ไม่ก่อ
ดินหรือพูนดินขึ้นเป็นจอมปลวก
ในรอบหนึ่งปีแมงมันจะออกจากรูเฉพาะเดือนพฤษภาคม คือฤดูฝน
เพราะน้ำฝนที่ซึมลงดินทำให้ แมงมันอยู่ไม่ได้จะออกจากรูขึ้นมาอยู่บนผิวดิน
แมงมันจะไม่ย้ายรังถ้าไม่ถูกรบกวนจากคน ก่อนที่ลูกแมงมันจะออกมาแม่จะออกมา
ก่อนเพื่อขยายรูให้กว้างขึ้น เพราะลูกแมงมันตัวโตกว่า
แม่แมงมันจะใช้เวลาขยายรูประมาณ ๓ ชั่วโมง ลูกแมงมันถึงจะต้องออกมา


ความสัมพันธ์กับชุมชน


แมงมันเป็นอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติของ
มนุษย์ โดยเฉพาะในภาคเหนือ เป็นอาหารประเภทหายาก เพราะไม่สามารถ
เลี้ยงหรือเพาะพันธุ์ได้ ชาวบ้านนิยมรับประทานแมงมันทั้งไข่และลูก วิธีการ
ก็คือถ้าเป็นไข่จะขุดเอาไข่แมงมันกันในเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนมากชาวบ้านจะไปหาขุดตามป่าละเมาะหรือที่ไกลบ้าน
ไม่นิยมขุดไข่แมงมันในบ้านของตนเอง เพราะธรรมชาติของแมงมัน
ถ้าไปรบกวนหรือขุดเอาไข่มารับประทาน
แม่แมงมันจะหนีไปอยู่ที่อื่นชาวบ้านจะต้องใช้ความจำว่า
แมงมันเคยออกจากรูตรงไหน พอถึงเดือนพฤษภาคมทุกปีจะต้องไปดู
และเก็บลูกแมงมันเฉพาะตัวเมียมาทำอาหารรับประทาน ส่วนตัวผู้ไม่นิยม
รับประทาน เพราะว่าจะออกรสขม ความมันมีน้อยกว่าตัวเมีย
แมงมันจะเปลี่ยนสภาพจากตัวเมียเป็นตัวผู้ในช่วง ๕ – ๖ ปี


ไข่แมงมันรวมกันเป็นกระจุก
ชาวบ้านจะใช้ช้อนตักไข่แมงมันใส่ภาชนะ
ซึ่งจะได้ทั้งดินและรากไม้ปะปนมาด้วย หลัง
จากนั้นก็นำไข่แมงมันใส่ในถังน้ำ เพื่อช้อนเอาไข่แมงมันที่ลอยน้ำขึ้นมา
ไข่แมงมันสามารประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น เจียว ใส่ไข่ ต้มใส่ผักกาด
หรือผักขม ใส่น้ำขลุกขลิก ใส่กะปิ หอมแดง รับประทานกับพริกแห้ง
ปิ้งไฟตำกับเกลือทางเหนือเรียกน้ำพริกดำ
นอกจากนี้ไข่แมงมันยังสามารถเก็บไว้รับประทานนานๆ ได้ โดยการดองไข่แมงมัน


วิธีการก็คือ
ต้มน้ำให้สุกหรือน้ำแช่ข้าวเหนียว (น้ำข้าวมวก) เกลือ
ดองในภาชนะที่มีฝาปิด หรือถ้าต้องการรับประทาน
เร็วขึ้นก็นำภาชนะที่ดองแมงมันไปตากแดด
วิธีรับประทานโดยการนำไข่แมงมันดองมาโรยด้วยพริกแห้งปิ้ง โขลกหยาบๆ
โรยหน้า พร้อมกับต้นหอมผักชีรับประทานกับสะเดาที่ลวกแล้ว
นับเป็นอาหารพิเศษที่หารับประทานได้ไม่ง่ายนักของชาวบ้านในภาคเหนือ เรียก
“แมลงมันจ่อม” (แมงมันจ่อม)

สำหรับลูกแมงมัน ชาวบ้านจะเตรียมอุปกรณ์ คือ ขวดน้ำเปล่า ขี้เถ้า
โคมน้ำมันก๊าซไปนั่งเฝ้าปากรูแมงมัน ใช้ขี้เถ้าโรยรอบตัว
คนนั่งเป็นวงกลมป้องกันไม่ให้แม่แมงมันกัด ลูกแมงมันจะออกจากรูมากที่สุด
คือ ช่วง ๕ – ๖ โมงเย็นไปจนถึงสองทุ่ม ในบริเวณใกล้ๆ
อาจมีรูแมงมันมากกว่าสองรู บางปีลูกแมงมันกว่าจะหมดรังต้องใช้เวลาสองวัน

ธรรมชาติของแมงมันเหมือนกับแมงเม่า แต่แมงมันจะมีกากมากกว่า
นอกจากไข่แล้วตัวลูกแมงมันที่มีปีก ชาวบ้านนิยม
นำมาคั่วใส่เกลือนิดหน่อยไม่ใช้น้ำมัน
ถ้าใช้น้ำมันปีกแมงมันจะเหนียวไม่หลุดออกจากตัว ชาวบ้านเรียก “แมงมันคั่ว”
แมงมันคั่ว เด็ดปีกออกโขลกกับน้ำพริกแทนปลาเรียก “น้ำพริกแมงมัน”


ความสำคัญทางเศรษฐกิจ


แมงมัน
เป็นอาหารตามฤดูกาลที่หาได้ไม่ง่ายนักจึงเป็นที่ต้องการของชุมชน
ที่นิยมรับประทานทั้งไข่ และลูกแมงมัน เฉพาะตัวเมีย
ดังนั้นแมงมันจึงมีราคาดีพอสมควรเพราะนอกจากจะมีน้อยแล้วปีหนึ่งๆ
จะมีให้รับประทานเพียงครั้งเดียว ไข่แมงมันที่ เรียกว่า “แมงมันจ่อม”
ขายเป็นช้อน (คาว) ๆละ ๕ บาท ลูกแมงมันที่คั่วแล้วใช้ถ้วยน้ำจิ้มเล็กๆ
เป็นถ้วยตวงถ้วยละ ๑๐ บาท ถ้าเป็น ขีดๆละ ๒๐ บาท
ส่วนแมงมันตัวผู้จะใช้เป็นเหยื่อตกเบ็ดปลาช่อนปลาสลิด

แม่แมงมันถ้าหากกัดแล้วจะมีความรู้สึกคันมาก ผิวหนังจะเกิดผื่นแดงๆ ชาวบ้านมีวิธีหนังค่อยๆ หายไป


รู้จักเรื่องราวของแมงมันกันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูรูปกันเถอะ
(เอื้อเฟื้อภาพและคำบรรยายโดย http://www.siamensis.org/board/9171.html)



ขุดแมงมันเชียงราย


—————————————————-



มองหารู และมดตัวเล็กๆ สีแดงๆ เรียกแม่แดง กัดเจ็บมาก


—————————————————-



และแล้วก็เจอโพรงแมงมัน


—————————————————-



เตรียมภาชนะสำหรักตักไข่


—————————————————-



ตักเสร็จก็หาใบไม้มาใส่ให้พวกที่เหลือกินจะได้มาตักใหม่ปีหน้า เขาว่าอย่างงั้น


—————————————————-



แล้วกลบดินให้เหมือนเดิม


—————————————————-



มาดูรังกันดีกว่าที่อยู่ของไข่


—————————————————-



ไข่ฟองเล็กๆ ก็มี


—————————————————-



ฟองใหญ่ๆ


—————————————————-



กะลังเตรียมตัวลืมตาดูโลก


—————————————————-



ตัวเต็มวัย


—————————————————-



ขยายรูปตัวแม่แดง


—————————————————-



รูปสุดท้าย


สุดท้ายหวังว่าเราจะได้เจอกันที่ใต้ไฟกิ่งแถวแมงมันออกนะครับ


Credit: http://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem704.html
8 ก.ค. 53 เวลา 21:24 8,186 11 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...