ศิลปะชั้นครู บนปกนิยายยุค 2500

ศิลปะชั้นครู บนปกนิยายยุค 2500

สิ่งพิมพ์ในเมืองสยามของเราในยุค พ.ศ. 2470 เป็นต้นไปนั้น นับว่าเป็นยุคหนึ่งที่สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จัดอยู่ในยุคเฟื่องฟู เมื่อสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2475 โดยมีนายเวช กระตุฤกษ์เป็นผู้ก่อตั้ง หนังสือของสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ พิมพ์ออกจำหน่ายมากดูจะออกทุกสัปดาห์และสัปดาห์ละหลายเรื่อง และมีนักเขียนประจำ หลายคนด้วยกัน นักเขียนรุ่นแรกที่พอจะรวบรวมชื่อได้มีดังต่อไปนี้




เสน่ห์จันทร์, พาณี, สุรินทร์ ทองสด,ป.ส,อรรยุกติ,ปรีชา,อ. อรรถจินดา,บุญส่ง กุศลสนอง,ป. อินทรปาลิต พระอภัย,อาษา,สุพัตรา,อ.มนัสวีร์,ลพบุรี,ล.อรุณประเสริฐ,พระยาอนุชิต,เฉลิมวุฒิ,ส.เทพกุญชร, อรวรรณ,ป. ศรีสมวงศ์, เวทางค์,อ.ร.ด.,รัตนา อมัติรัตน์,ดวงเดือน รัตนนาวิน ฯลฯ


นอกจากนักเขียนคณะเพลินจิตต์หลายคนที่มีชื่อเสียงแล้ว จิตรกรฝีมือดีหลายคนช่วยเขียนรูปประกอบเรื่อง เขียนหน้าปกมี "เหม" (เหม เวชกร) เป็นหัวหน้าควบคุม หน้าปกของหนังสือคณะเพลินจิตต์จึงสวยและงดงามกว่าสำนักพิมพ์อื่น ๆ


ป.อินทราปาลิต เป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่อยู่ในสังกัดของ คณะเพลินจิตต์ มีผลงานออกมามากมายและยังเป็นที่กล่าวถึงมากยุคปัจจุบันคือ นิยายชวนขัน ชุด "พล นิกร กิมหงวน" ที่มีจิตรกรฝีมือดีวาดภาพประกอบมากมายและกลายเป็นของหายากในยุคปัจจุบัน บางปกที่พิมพ์ก่อนปี 2500 
มีราคาสูงหลายพันบาทต่อปก


อย่างไรก็ตามในยุคตอนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ จะมีหนังสือเล่มปกแข็งออกมามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลงานของ "ไม้เมืองเดิม" "หลวงวิจิตรวาทการ" และลพบุรีทั้ง 3 ท่านนี้มักจะมีผลงานออกมาเป็นชุด ๆ ปกสวยฝีมือ "เหม เวชกร" และ "เฉลิมวุฒิ"
นักสะสมหนังสือท่านหนึ่งได้ให้ความเห็นว่า หนังสือสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ที่พิมพ์ระหว่าง ปี พ.ศ. 2493 - 2494 เป็นหนังสือที่น่าเก็บสะสมที่


นิยายปกสวยได้เริ่มออกมาอย่างแพร่หลาย ส่วนสำนักพิมพ์อื่น ๆ เช่น วัฒนานุกูลของนายพล วัฒนะ สำนักพิมพ์อุเทน ของ นายอุเทน พูลโภคา คณะเหม ของ เหม เวชกร คณะไทยบรรเทิง  คณะสุภาพบุรุษ ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้จัดพิมพ์หนังสือปกอ่อน ออกมาไม่น้อย  


ตลาดหนังสือในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ไม่ว่าจะเป็นนิตยสารหรือนวนิยายความนิยมในปกหนังสือที่วาดดูจะมีค่ามากกว่าที่เป็นภาพถ่ายอาจจะเป็นเพราะภาพวาดให้จินตนาการได้ดีกว่าภาพถ่าย โดยเฉพาะปกหนังสือนวนิยายที่ช่วยส่งเสริมให้บทบาทของตัวเอกในเรื่องเด่นชัดขึ้น เมื่อคนอ่านซื้อหนังสือไป ก็มักจะพลิกอ่านเนื้อเรื่องที่สัมพันธ์กับปกสวยก่อน แล้วจึงกลับมาเริ่มอ่านตั้งแต่หน้าแรกอีกครั้ง


หนึ่งในนักวาดปกหนังสือในยุคนั้นมีไม่กี่คนที่เป็นนักวาดที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง จัดเป็นนักวาดระดับพู่กันทอง อาทิเช่น ครูเหม เวชกร  เฉลิม วุฒิโฆษิตสุรินทร์ ปิยานันท์ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ปยุต เงากระจ่าง จำเนียร สรฉัตร วารินทร์ สุทธสิทธิ ฯลฯ



สำนักพิมพ์ในยุคนั้นที่มักป้อนงานให้กับนักวาดยุคปี 2500 ได้แก่ สำนักพิมพ์เพลินจิตต์  ผดุงศึกษา แต้ฮวดมุ้ย พิทยาคาร บางกอก ประมวลสาส์น เป็นต้น ความสวยงามและจิตนาการของผู้วาด ถ่ายทอดจากปลายพู่กัน มีเสน่ห์ตราตรึงใจแก่ผู้พบเห็น แม้ปัจจุบันเวลาจะล่วงเลยนานกว่า 50 ปี แล้วก็ตาม  ก็ยังคงความงดงามและให้คุณค่าความงามทางศิลปะจากบุคคลที่ได้ชื่อว่า "นักวาดชั้นครู"


ข้อมูลอ้างอิง
ส.พลายน้อย.สำนักพิมพ์สมัยแรก.คอหนังสือ:2548
เอนก นาวิกมูล.นักวาดชั้นครู.เนชั่นบุคส์:2545
เอนก นาวิกมูล.ภาพถ่ายและสิ่งพิมพ์.ศิลปวัฒนธรรม:2549


ผลงานการวาดปกนิยาย 
เรื่อง ขุนศึก พิมพ์โดยสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ จากบทประพันธ์ของ "ไม้เมืองเดิม"


วาดโดยนักวาดชั้นครู "ครูเหม เวชกร"









Free TextEditor



Credit: http://www.bloggang.com/
8 ก.ค. 53 เวลา 20:00 3,274 3 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...