ท่อนซุงโบราณ สมัย ร.4
กรมศิลปากร พบ ท่อนซุงโบราณ กลางกรุง เกือบ 100 ต้น โดย ท่อนซุงโบราณ ซุกอยู่ย่าน คลองสาน ติด ป้อมป้องปัจจามิตร ขณะขุดก่อสร้างอาคารเขตใหม่ กรมศิลปากร ส่ง นักโบราณคดี ตรวจสอบ ท่อนซุงโบราณ สันนิษฐานเป็นฐานราก ป้อมป้องปัจจามิตร สมัย ร.4 อายุร่วม 100 ปี
ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ตไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมศิลปากรว่าประชาชนขุดพบท่อนซุง ประมาณ 90 ต้น บริเวณที่ก่อสร้างอาคารสำนักงานเขตคลองสานหลังใหม่ ติดป้อมป้องปัจจามิตร ซึ่งเป็นป้อมกำแพงเมืองโบราณที่ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรตั้งแต่ปี 2528
จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ขนาดของท่อนซุงนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-18 นิ้ว ยาว 4-5 เมตร มีลักษณะปลายแหลม บางท่อนเริ่มผุและเปื่อยยุ่ย
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ก่อสร้างที่พบเห็นท่อนซุงดังกล่าว เปิดเผยว่า ไม่ได้พบแต่ท่อนซุงเท่านั้น ในบริเวณดังกล่าวยังขุดพบภาชนะดินเผา แผ่นอิฐโบราณ และกระดูกสัตว์หลายชิ้นด้วย อาจจะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นสันนิษฐานว่าท่อนซุงอาจจะเป็นฐานรากของป้อมดังกล่าวที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 มีอายุกว่า 100 ปี และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบเนื้อไม้อย่างละเอียดอีกครั้งว่าเป็นไม้อะไร และมีแผนผังการวางรูปแบบไหนด้วย เพราะที่ผ่านมากรมศิลปากรไม่ค่อยได้เจอเหตุการณ์หรือศึกษาเรื่องของฐานรากมากนัก
สำหรับประวัติของป้อมป้องปัจจามิตรนั้น สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ควบคู่กับการขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึกตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ สถานที่ตั้งป้อมอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกตรงข้ามกับป้อมปิดปัจนึกบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้ป้อมดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งเสาธงสัญญาณแจ้งข่าวเรือสินค้าเข้าออกพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการย้ายเสาธงมาอยู่ใกล้ป้อม คือที่ตั้งในปัจจุบันบริเวณเขตคลองสาน เมื่อกรมเจ้าท่าเลิกใช้เสาธงสัญญาณนี้แล้ว ได้แจ้งความจำนงต่อกรมศิลปากรว่าจะรื้อออกแต่กรมศิลปากรเห็นว่า ควรจะอนุรักษ์ไว้เป็นหลักสำคัญทางประวัติศาสตร์