ยานฮะยะบุซะได้ปล่อยแคปซูลเมื่อเวลา 17:51 น. ตามเวลาประเทศไทย และตกลงสู่บรรยากาศโลก เป็นการจบภารกิจอย่างสมบูรณ์เมื่อเวลา 20:51 น. แคปซูลได้ตกลงที่ วูมีรา ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้ามในออสเตรเลียใต้ และได้รับการเก็บกู้และนำส่งจาซาเพื่อวิเคราะห์แปลผลกันต่อไป
ยานฮะยะบุซะ เป็นยานอวกาศขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือจาซา (JAXA) ได้ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ที่ศูนย์อวกาศคะโกะชิมะ ภารกิจของยานลำนี้คือเป็นยานต้นแบบสำหรับทดสอบเทคโนโลยีและวิศวกรรมแบบใหม่ ๆ ในการสำรวจ การเก็บตัวอย่างเพื่อนำกลับโลก ทดสอบการใช้งานเครื่องยนต์พลังไฟฟ้า และระบบนำร่องอัตโนมัติ
ยานที่หนัก 510 กิโลกรัมนี้ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะเมื่อเดือนกันยายน 2548 ยานได้ใช้เวลาประมาณสองเดือนครึ่งในการเก็บข้อมูลและสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จากระยะใกล้ ทั้งรูปทรง สภาพพื้นผิว ระดับความสูง องค์ประกอบของแร่ แรงโน้มถ่วง และการสะท้อนแสงอาทิตย์ และในปลายปีนั้นเอง ฮะยะบุซะก็ได้ลงสัมผัสพื้นผิวอิโตะกะวะเป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ที่มียานมนุษย์สร้างสัมผัสดาวเคราะห์น้อยได้ (ลำแรกคือ ยานเนียร์-ชูเมกเกอร์ ของนาซา ซึ่งลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยอีรอสในเดือนกุมภาพันธ์ 2544) พร้อมกับเก็บตัวอย่างหินจากดาวเคราะห์น้อยเพื่อนำกลับมาวิเคราะห์บนโลกด้วย
ภารกิจของฮะยะบุซะไม่ได้ราบรื่นนัก มีอุปสรรคและปัญหามากมาเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติภารกิจ แต่ถึงกระนั้นยานก็ยังฝ่าฟันอุปสรรคนั้นและเดินทางกลับมายังโลกได้ในที่สุด รวมระยะทางที่ได้เดินทางได้ถึงสองพันล้านกิโลเมตรนับจากออกเดินทางจากโลกไป
ยานฮะยะบุซะได้ปล่อยแคปซูลเมื่อเวลา 17:51 น. ตามเวลาประเทศไทย และตกลงสู่บรรยากาศโลก เป็นการจบภารกิจอย่างสมบูรณ์เมื่อเวลา 20:51 น. แคปซูลได้ตกลงที่ วูมีรา ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้ามในออสเตรเลียใต้ และได้รับการเก็บกู้และนำส่งจาซาเพื่อวิเคราะห์แปลผลกันต่อไป
ยานฮะยะบุซะ เป็นยานอวกาศขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือจาซา (JAXA) ได้ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ที่ศูนย์อวกาศคะโกะชิมะ ภารกิจของยานลำนี้คือเป็นยานต้นแบบสำหรับทดสอบเทคโนโลยีและวิศวกรรมแบบใหม่ ๆ ในการสำรวจ การเก็บตัวอย่างเพื่อนำกลับโลก ทดสอบการใช้งานเครื่องยนต์พลังไฟฟ้า และระบบนำร่องอัตโนมัติ
ยานที่หนัก 510 กิโลกรัมนี้ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะเมื่อเดือนกันยายน 2548 ยานได้ใช้เวลาประมาณสองเดือนครึ่งในการเก็บข้อมูลและสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จากระยะใกล้ ทั้งรูปทรง สภาพพื้นผิว ระดับความสูง องค์ประกอบของแร่ แรงโน้มถ่วง และการสะท้อนแสงอาทิตย์ และในปลายปีนั้นเอง ฮะยะบุซะก็ได้ลงสัมผัสพื้นผิวอิโตะกะวะเป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ที่มียานมนุษย์สร้างสัมผัสดาวเคราะห์น้อยได้ (ลำแรกคือ ยานเนียร์-ชูเมกเกอร์ ของนาซา ซึ่งลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยอีรอสในเดือนกุมภาพันธ์ 2544) พร้อมกับเก็บตัวอย่างหินจากดาวเคราะห์น้อยเพื่อนำกลับมาวิเคราะห์บนโลกด้วย
ภารกิจของฮะยะบุซะไม่ได้ราบรื่นนัก มีอุปสรรคและปัญหามากมาเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติภารกิจ แต่ถึงกระนั้นยานก็ยังฝ่าฟันอุปสรรคนั้นและเดินทางกลับมายังโลกได้ในที่สุด รวมระยะทางที่ได้เดินทางได้ถึงสองพันล้านกิโลเมตรนับจากออกเดินทางจากโลกไป
คลิปภาพการเข้าสู่บรรยากาศโลกของแคปซูลฮะยะบุซะ ถ่ายจากเครื่องบินดีซี-8 ของคณะสังเกตการณ์ของนาซา
คลิปภาพการเข้าสู่บรรยากาศโลกของแคปซูลฮะยะบุซะ ถ่ายจากเครื่องบินดีซี-8 ของคณะสังเกตการณ์ของนาซา