รู้หรือไม่? ขนาดของประเทศต่างๆ ที่ฝังลึกอยู่ในความเข้าใจของมนุษย์เรานั้น เป็นขนาดที่เกิดขึ้นจาก“เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์” ซึ่งไม่ใช่ขนาดที่แท้จริง!!
เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ (Mercator projection) คือการแสดงแผนที่ลูกโลกบนพื้นผิวสัมผัสทรงกระบอก ซึ่งได้รับการนำเสนอในปี ค.ศ. 1569 โดย Gerardus Mercator นักภูมิศาสตร์และนักทำแผนที่ชาวเฟลมิช
Gerardus Mercator
เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์มีคุณสมบัติในการรักษาทิศทาง จึงสามารถแสดงเส้นทิศทางที่แน่นอนใด ๆ ให้เป็นเส้นตรงลงบนแผนที่ เท่ากับเป็นการรักษาค่าของมุมที่ทำกับเส้นเมริเดียน อีกทั้งยังรักษารูปร่างของวัตถุบนแผนที่ให้มีลักษณะรูปร่างคงเดิม นอกจากนี้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ยังมีคุณสมบัติในการรักษาอัตราส่วนของระยะทางในทุกทิศทางจากจุดใดจุดหนึ่งให้มีค่าเท่ากันตลอดทั้งแผนที่ ซึ่งการรักษาคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้งานสำหรับการเดินเรือในทะเล
การแสดงแผนที่แบบนี้จะมีการขยายขนาดของวัตถุเกิดขึ้น เมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้นนับจากจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ ยกตัวอย่างเช่น กรีนแลนด์และแอนตาร์กติก เมื่อแสดงลงบนแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์จะมีขนาดใหญ่กว่าในความเป็นจริงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแผ่นพื้นทวีปที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร หรืออะแลสกาเมื่อปรากฏบนแผนทื่จะมีขนาดเท่าประเทศบราซิล ซึ่งในความเป็นจริง บราซิลมีขนาดใหญ่กว่าอะแลสกาถึง 5 เท่า (ถีงแม้จะถูกขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น แต่ลักษณะรูปร่างยังคงเดิม) เป็นต้น
ภาพแสดงขนาดของกรีนแลนด์และออสเตรเลียในความเป็นจริง แต่ในการแสดงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ กรีนแลนด์จะปรากฏขนาดที่ใหญ่เทียบเท่าออสเตรเลีย
คราวนี้เราลองมาดูขนาดของประเทศอื่นๆกันบ้าง ซึ่งผมเชื่อได้เลยว่าภาพที่จะได้เห็นต่อไปนี้ จะเปลี่ยนความเข้าใจของเพื่อนๆต่อแผนที่โลกไปตลอดการครับ
เมื่อเลื่อนแผนที่สหรัฐฯให้มาอยู่ใกล้กับออสเตรเลีย
รัสเซียเจ้าของฉายาหมีใหญ่ เมื่อย้ายอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตร ก็ไม่ใช่หมีใหญ่อีกต่อไป
ออสเตรเลียมีขนาดใหญ่กว่าที่ใครหลายคนคิด ใหญ่ถึงขนาดที่ว่าสามารถคลุมทวีปยุโรปได้เกือบทั้งหมด
หากโรมาเนียเป็นเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก
ถ้าบราซิลอยู่ในเอเชีย บอกได้เลยว่าขนาดไม่ใช่เล่น
จริงๆแล้วกรีนแลนด์ไม่ได้ใหญ่เลย หากเทียบกับสหรัฐฯและบราซิล
อินโดนีเซียแผ่ขยายได้เกือบทั่วทั้งหมดของประเทศรัสเซีย
ถ้าหากเราย้ายแคนาดามาไว้ที่แอฟริกาใต้
หากเราลองย้ายรัฐแคลิฟอร์เนียมาไว้ที่สหราชอาณาจักร จะเห็นว่ามีขนาดเกือบเท่ากันเลย
เทียบประเทศจีน กับรัสเซีย
เมื่อย้ายออสเตรเลียไปไว้ที่อเมริกาเหนือ จะเห็นได้ว่ามีขนาดใหญ่มาก
ญี่ปุ่นยาวเกือบพาดข้ามแคนาดาได้
แอนตาร์กติก้าไม่ได้ใหญ่กว่าบราซิลเท่าไหร่นัก
เมื่อย้ายอินเดียไปที่รัสเซีย
หากโปแลนด์เป็นเกาะในทะเลนอร์วีเจียน
เมื่อนำแคนาดามาเทียบกับสหรัฐฯ จะเห็นได้เลยว่าทั้งสองประเทศมีขนาดเท่าๆกันเลย
หากลิทัวเนียเป็นเกาะอยู่ในทะเลแบเร็นตส์ และมหาสมุทรอาร์กติก
เปรียบเทียบขนาดของสหรัฐฯ ใน 3 ตำแหน่ง
สหรัฐเทียบกับยุโรป
รัฐอลาสก้าไม่ได้ใหญ่เลย หากเทียบกับ 48 รัฐรวมกัน
เปรียบเทียบสหราชอาณาจักรใน 3 ตำแหน่ง
เมื่อย้ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไปทางเหนือ
เปรียบเทียบไอซแลนด์กับกรีนแลนด์
หากลองย้ายเม็กซิโกไปเทียบกับกรีนแลนด์ จะเห็นว่าจริงๆแล้วเม็กซิโกมีขนาดใหญ่กว่าที่เราคิดไว้มาก
รัสเซียไม่ได้ใหญ่ไปกว่าออสเตรเลียเท่าไหร่เลย
เทียบไอซ์แลนด์กับรัฐนิวยอร์ก
ขอบคุณที่มา: http://www.wegointer.com/2016/07/after-seeing-these-27-maps-youll-never-look-at-the-world-the-same/
ข้อมูลจาก: wikipedia, boredpanda