ประวัติฟุตบอลโลก

 

กำเนิดเกมลูกหนังโลก หาก จะพูดถึงกีฬาฟุตบอล หลายคนอาจจะรู้ดีว่าเป็นกีฬาที่คนทั่วโลกนิยมชมชอบกันมากที่สุด แต่ถ้าจะมองย้อนกลับไป คงจะมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของฟุตบอลไม่ได้เริ่มขึ้น เพียงแค่ 100 -200 ปีที่ผ่านมา

จริงๆ แล้ว ฟุตบอลเริ่มแพร่หลายและนิยมเล่นกันมากว่า 2,000 ปีมาแล้ว โดยแรกเริ่มมีการค้นพบ ว่าในราชวงศ์ ฮั่น ของจีน ช่วง 200 -300 ปีก่อนคริสตกาล มีการเล่นฟุตบอลกันแล้ว แต่ในครั้งนั้น ขุนนาง รวมทั้งประชาชนทั้งหลายจะนิยมเล่นกันเพื่อเป็นการออกกำลังกาย เสริมสร้างความแข็งแกร่ง โชว์ทักษะความสามารถเฉพาะตัว ไม่มีการเข้าปะทะกัน โดยมีการนำขนนกมาเย็บติดกับหนังสัตว์ แล้วใช้เท้าเตะบอลขนนกนี้ให้สูง 30 -40 เซนติเมตร ข้ามไม้ไผ่ที่คั่นกลางระหว่างผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ใครสามารถทำให้อีกฝ่ายรับบอลขนนกไม่ได้ ก็จะเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งการเล่นแบบนี้ ต้องอาศัยคนที่มี ทักษะ ปฏิภาณ - ไหวพริบที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากไม่อนุญาตให้ใช้มือตีบอลขนนก แต่จะอนุญาตให้ใช้ ไหล่, หน้าอก, เข่า,เท้า และ ศีรษะ เดาะหรือเตะเจ้าบอลขนนกเท่านั้น

จากนั้นอีก 500 - 600 ปีต่อมา ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงมีการเล่น ที่เรียกว่า 
"คามารี่" และมีการพัฒนาการนำหนังสัตว์มาทำเป็นลูกบอล แต่ว่าทำให้มันกลมขึ้น แตก ต่างจากสมัยราชวงศ์ ฮั่น มีการเล่นที่เป็นแบบแผนและสง่างามมากขึ้น แม้แต่ในราชสำนักยังนิยมเล่นกันในงานราชพิธีต่างๆ ซึ่งวิธีการเล่นก็ง่ายๆ โดยมีข้อแม้ ห้ามใช้แขน แต่ให้ใช้เท้า, ขา, หน้าอก, เข่า รวมทั้งศีรษะ เดาะบอล ภายในเขตกำหนด แล้วส่งบอลต่อไปให้ผู้เล่นคนอื่น ใครที่ทำบอลหล่นตกลงสู่พื้นถือว่าแพ้ เกมนี้เป็นที่นิยมกันมาก จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้ที่นิยมเล่นกันในประเทศญี่ปุ่น 

ส่วนในทวีปยุโรป กีฟาฟุตบอลที่ว่านี้ ก็เริ่มนิยมเล่นกันตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน โบราณ โดย กรีก จะเรียกว่า "อีปิสกายรอส" ขณะที่ โรมัน จะเรียกว่า "ฮาร์ปุสตัม" ซึ่งการเล่นจะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายในพื้นที่สี่เหลี่ยม มีเส้นแบ่งกึ่งกลางสนามและเส้นเขตแดน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพยายามแย่งลูกฟุตบอลเล็กๆ แล้วใช้มือส่งบอล พาไปยังเขตแดนฝั่งตรงข้ามจนทำประตูให้ได้ ซึ่งการเล่น"อีปิสกายรอส" หรือ "ฮาร์ปุสตัม" ค่อนข้างจะไม่มีกฏเกณฑ์อะไรมาก สามารถเข้าไปอัด, กระแทก หรือ ชก คู่ต่อสู้ที่ถือบอล เพื่อพยายามแย่งบอลมาให้ได้ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย 

สำหรับกีฬาฟุตบอลสมัยใหม่ ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างคล้ายกับในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ที่ประเทศอังกฤษ จนในปี 1846 สมัยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จึงเริ่มกำหนดกฏข้อบังคับ เรียกว่า "กติกาเคมบริดจ์" มี การแบ่งคู่แข่งออกเป็น 2 ทีม อนุญาตให้ใช้ทุกสรีระของร่างกายเล่นฟุตบอลได้ ยกเว้นมือเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งได้รับ ความนิยมอย่างสูงแพร่หลายไปทั่วโลก และจากความนิยมนี้เอง ในปี 1902 เคานต์ ฟาน เดอ สเตร์ต็อง ปูตัว จึงได้ปรึกษา หารือกับ คอร์เรเลียส เฮิร์ชมันน์ นายธนาคารชาวดัตช์ เพื่ออยากจะจัดเกมการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าชาติใดมี ลีลาการเล่นที่เป็น 1 ในโลก 

แต่หลังจากที่ เคานต์ ฟาน เดอ สเตร์ต็อง ปูตัว กับ คอร์เรเลียส เฮิร์ชมันน์ ได้ส่งเรื่องนี้ไปให้ เฟรเดริค วอลล์ เลขาธิการสมาคมฟุตบอลของ อังกฤษ พิจารณาเพื่อขอความร่วมมือ ทว่าความคิดนี้ก็ต้องล้มเลิกลง เพราะ วอลล์ ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามในปี 1904 ก็นับว่าโชคยังดีที่องค์กรลูกหนังที่ยิ่งใหญ่ของ โลก อย่างสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) สามารถก่อตั้งขึ้นได้ โดยมี โรแบร์ กูริน เป็นประธานคน แรก จุดมุ่งหมายก็เพื่อ อยากจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกให้ได้ 

และความพยายามของฟีฟ่าก็ต้องรอเกือบ 30 ปีกว่าจะ ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ เมื่อ จูลส์ ริเมต์ ประธาน ฟีฟ่าชาวฝรั่งเศส ซึ่งรับตำแหน่งเป็นคนที่ 3 ในปี 1921 ได้ร่วมมือกับ อองรี เดอ โลเนย์ ประธานลูกหนังของเมืองน้ำหอม ผลักดันให้มี การลงมติชนะ 25 เสียง ต่อ 5 ให้ประเทศอุรุกวัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรก แม้จะมีการคัดค้านจากหลายชาติในทวีปยุโรป ที่เห็นว่าการเดินทางไปทวีปอเมริกาใต้ค่อนข้างใช้ระยะเวลานาน รวมทั้งต้องเสียค่า ใช้จ่ายอย่างมหาศาลก็ตาม ฟุตบอล โลกจึงได้ถือกำเนิดเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอุรุกวัย ในปี 1930 ด้วยข้ออ้างที่ว่า อุรุกวัย เป็นเจ้าของแชมป์ในกีฬา โอลิมปิกเกมส์ 2 สมัย และยังสามารถออกค่าใช้จ่ายให้กับทุกทีมที่เดินทางมาแข่งขันได้ ทำให้กีฬาลูกหนังที่มีอายุยืนยาวมานานหลายพันปีอุบัติขึ้นอย่างเป็นทางการ ให้ทุกชาติทั่วโลกต่างไขว่คว้าหาความสำเร็จตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

 

มัสคอตบอลโลก

 

 

อังกฤษ 1966
เวิลด์ คัพ วิลลี่ (World Cup Willie) อังกฤษ เปิดตัวมัสคอตครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก เป็นสิงโต สัตว์คู่บ้านคู่เมืองสหราชอาณาจักร ด้วยภาพลักษณ์เรียบง่าย สวมเสื้อลายธงชาติยูเนี่ยน แจ็ค พร้อมพิมพ์ตัวอักษร ‘WORLD CUP’ เจ้าเวิลด์ คัพ วิลลี่ อาจจะดูเหลี่ยมๆ มึนๆ ไปบ้างในสายตาคอลูกหนังยุคโมเดิร์น แต่ชาวผู้ดีคงไม่แคร์หรอก ในเมื่อมันเป็นตัวนำโชคให้พวกเขาผงาดบัลลังก์แชมป์โลก!!! เม็กซิโก 1970
ฮัวนิโต้ (Juanito) มาถึงมัสคอตบอลโลกตัวที่ 2 บนแผ่นดินเม็กซิโก มีพัฒนาการมากขึ้นในแง่การออกแบบเป็นแนวการ์ตูน ในนาม ‘ฮัวนิโต้’ เด็กน้อยสวมเสื้อฟุตบอลสีเขียวทีมชาติเม็กซิโก พร้อมหมวกซอมเบรโร่ปีกกว้างสไตล์จังโก้พิมพ์ตัวอักษร ‘MEXICO 70’ ส่วนชื่อเสียงเรียงนามของเขาหมายถึง เจ้าหนูฮวน ชื่อยอดฮิตในแถบละติน คำว่า ‘ito’ หมายถึง ตัวเล็ก หรือ little ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เยอรมันตะวันตก 1974
ทิป กับ แท็ป (Tip and Tap) ทัวร์นาเมนต์เวิลด์ คัพ กลับมาจัดบนแผ่นดินยุโรปอีกครั้งที่เยอรมันตะวันตก ทางชาติเจ้าภาพยังคงใช้ภาพลักษณ์เด็กหนุ่มเป็นมัสคอตเหมือนครั้งก่อน โดยเป็นเด็กหนุ่มแก้มแดง 2 คน ผมดำกับผมบลอนด์ สวมเสื้อทีมชาติเยอรมัน บนเสื้อพิมพ์ตัวอักษร WM (Weltmeisterschaft หรือฟุตบอลโลกในภาษาเยอรมัน) และหมายเลข 74 รวมกันเป็นฟุตบอลโลก 74 อาร์เจนตินา 1978
เกาชิโต้ (Gauchito) สงสัยเทรนด์ตุ๊กตาเด็กชายคงฮอตฮิตเอามากๆ ในช่วงยุค 1960 ต่อถึง 1970 เพราะบอลโลกคราวนี้ยังอุตส่าห์ออกแบบเป็นเด็กน้อยเตะบอลสวมเสื้อทีมชาติอาร์เจนตินา และสวมหมวก ARGENTINA '78 แต่ที่พิเศษใส่ไข่ก็คือมีการประดับผ้าพันคอ และแส้ อันสื่อความหมายถึง ‘โคบาล’ คนขี่ม้าเลี้ยงวัวตามทุ่งหญ้าในอเมริกาใต้ และแน่นอนว่าชื่อ ‘เกาชิโต้’ ก็คือ เจ้าหนูโคบาลตัวน้อยๆ นั่นเอง สเปน 1982
นารานฆิโต้ (Naranjito) สเปน กลายเป็นชาติแรกที่ปลดแอกนำเทรนด์ใหม่สู่การออกแบบมัสคอตฟุตบอลโลก จากการใช้ส้มเป็นมัสคอต ถือลูกฟุตบอล และสวมเสื้อ ‘ฟูเรีย โรฆา’ หรือชุดแดงเพลิงของทีมชาติสเปน สาเหตุที่ใช้ส้ม เพราะว่าเป็นผลไม้ดังของประเทศ โดยเฉพาะส้มวาเลนเซีย ที่มีพื้นเพมาจากเมืองบาเลนเซีย ส่วนชื่อนั้นมาจากคำว่า นารานฆา (Naranja) แปลว่า ส้ม ในภาษาสเปน เติม ‘ito’ ก็กลายเป็น ส้มตัวน้อย เม็กซิโก 1986
ปิเก้ (Pique) เม็กซิโก ได้เป็นเจ้าภาพหนสอง เนื่องจากโคลอมเบียถังแตกไม่พร้อมขอถอนเป็นแม่งานกลางคัน คราวนี้ มัสคอตของพวกเขาเปลี่ยนไปดูเก๋ไก๋มากขึ้น เป็นตัวพริกหยวก ‘ฮาลาเปนโญ่’ (jalanpeno) เครื่องปรุงเผ็ดร้อนขึ้นชื่อแดนจังโก้ พร้อมตบแต่งหน้าตาออกแนวจังโก้เต็มเหนี่ยว มีหนวดเขี้ยวโค้งมน สวมหมวกซอมเบรโร่ปีกกว้าง สำหรับชื่อ ‘ปิเก้’ คือนิกเนมของ ‘ปิกันเต้’ (picante) แปลว่า ซอสและเครื่องเทศในภาษาสแปนิช อิตาลี 1990
เชา (Ciao) อิตาลี คือชาติแห่งศิลปะล้ำสมัย เพราะเหตุนั้นเอง มัสคอตของพวกเขาจึง ‘คลาสสิก’ ไม่มีใครเหมือน ก็พี่เล่นออกแบบเป็นโมเดลตัวต่อเลโก้ มีหัวเป็นลูกฟุตบอล ประดับสีแดง-ขาว-เขียว ลายธงชาติอิตาลี ชื่อว่า ‘เชา’ มีความหมายง่ายๆ แต่ได้ใจความว่า ‘สวัสดี’ เป็นตัวแทนแห่งการทักทาย ถึงอย่างนั้น ไม่วายมีเสียงค่อนขอดว่า มันเป็น 1 ในมัสคอตที่ ‘ไม่เวิร์ก’ เอาเสียเลย ให้ลูกเล็กเด็กแดงออกแบบก็ยังได้!!! สหรัฐอเมริกา 1994
สไตรเกอร์ (Striker) สหรัฐอเมริกา ชาติมหาอำนาจในทุกๆ ด้านยกเว้นเรื่องลูกหนัง ได้รับหน้าเสื่อจัดศึกฟุตบอลโลกคราวนี้ พร้อมเปิดตัวมัสคอตที่เรียบๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจแท้ตามสไตล์การ์ตูนคอมิกอเมริกันชน เป็นสุนัขหูตูบสีน้ำตาล สวมเสื้อแดง-ขาว-น้ำเงินของทีมชาติสหรัฐฯ และพิมพ์ตัวอักษร ‘USA 94’ ชื่อไม่มีอะไรยากจนเดาไม่ถูก ‘สไตรเกอร์’ คือกองหน้าในภาษาฟุตบอลก็แค่นั้นเอง ฝรั่งเศส 1998
ฟุตติกซ์ (Footix) ฝรั่งเศสสร้างสรรค์มัสคอตได้สมกับความเป็นประเทศที่สวยงาม เพราะเจ้าไก่ ‘ฟุตติกซ์’ ได้ถูกยกย่องเป็นมัสคอตคลาสสิกตลอดกาล ภายใต้การออกแบบไม่ซับซ้อน ไก่คือสัตว์สัญลักษณ์ของประเทศ สีน้ำเงินเกือบทั้งตัวก็เหมือนกับเสื้อแข่งทีมชาติ บนหน้าอกพิมพ์ตัวอักษร ‘FRANCE 98’ ส่วนชื่อคือคำผสมระหว่าง ‘ฟุตบอล’ กับ ‘ix’ จาก ‘แอสเตริกซ์’ (Asterix) การ์ตูนดังแดนน้ำหอม แต่ก่อนหน้านี้มีการคัดเลือกอยู่หลายชื่อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ราฟฟี่, อูปี้ และ กัลลิค เกาหลีใต้/ญี่ปุ่น 2002
อาโต้, คาซ และ นิค (Ato, Kaz and Nik) ในฐานะที่เป็นศึกเวิลด์ คัพครั้งแรกบนแผ่นดินเอเชีย มัสคอตคราวนี้เลยขอพิเศษเป็นตัวการ์ตูนยุคอนาคตมารวดเดียว 3 ตัว โดยออกแบบให้เป็นสมาชิกในทีม ‘แอ็ตโม่บอล’ หรือเกมฟุตบอลในอนาคต สมาชิกทั้ง 3 หน่อมีชื่อว่า อาโต้, คาซ และ นิค ตัวสีส้ม, ม่วง และน้ำเงิน ตามลำดับ โดยตัวแรกเป็นโค้ช อีก 2 ที่เหลือเป็นผู้เล่น การตั้งชื่อนั้นเก๋ไก๋ซะไม่มี โหวตโดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และร้านแม็คโดนัลด์ในหลายๆ ประเทศลงคะแนนเลือกกันเอง เยอรมัน 2006
โกเลโอ เดอะ ซิกซ์ (Goleo VI) ฟุตบอลโลกครั้งที่สองบนแผ่นดินด๊อยท์ชลันด์ แต่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รวมประเทศหลังไม่มีกำแพงเบอร์ลินกั้น มัสคอตครั้งนี้เหมือนกับสูงสุดคืนสู่สามัญ เพราะออกแบบง่ายๆ เป็นตัวสิงโตชื่อว่า ‘โกเลโอ’ สวมเสื้อทีมชาติเยอรมันหมายเลข 06 และมาพร้อมกับลูกบอลพูดได้ที่มีชื่อว่า ‘ปิลเล่’ 1 ในคำสแลงที่มีความหมายถึงฟุตบอล ขณะที่ชื่อ ‘โกเลโอ’ คือคำผสมระหว่าง ‘โกล’ (Goal) กับ ‘เลโอ’ (Leo) หรือ สิงโตในภาษาละติน

 

 

 

มัสคอตฟุตบอลโลก 2010         'ซาคูมิ’ ‘มัสคอต’ เป็นเสมือนตัวนำโชคที่มีอยู่เคียงคู่มหกรรมลูกหนัง ‘เวิลด์ คัพ’ มาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1966 ที่ประเทศอังกฤษเป็นแม่งาน เรื่อยมาจนถึงศึกฟุตบอลโลก ครั้งที่ 19 ปี 2010 บนแผ่นดินแอฟริกาใต้ ก็ถึงคราวแจ้งเกิดของ ‘ซาคูมิ’ (Zakumi) ในภาพลักษณ์เสือดาวตัวน้อยสีเหลืองลายจุด สัตว์คู่ป่าแอฟริกาที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ในฐานะตัวแทนการแข่งขัน

        ‘ซาคูมิ’ ได้รับการเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกครั้งแรก ณ อ็อคแลนด์ พาร์ค นครโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2008 พร้อมโชว์เตะฟุตบอลร่วมกับ มาร์ค ฟิช อดีตปราการหลังสมาชิกทีมชาติแอฟริกาใต้ชุดแชมป์แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 1996 ด้วยการออกแบบสรรค์สร้างโดย ‘อันดรีส โอเดนดาล’ (Andries Odendaal) ศิลปินคนดังจากกรุงเคปทาวน์ ที่ใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด ตั้งแต่เรื่องการตั้งชื่อ ‘ซาคูมิ’ ซึ่งมีความหมายในภาษาท้องถิ่นว่า ‘ยินดีต้อนรับ’ แถมยังแยกย่อยเ
Credit: www.siamsport.co.th
#ฟุตบอลโลก #2010
toshilo999
นักแสดงรับเชิญ
7 ก.ค. 53 เวลา 23:56 22,602 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...