นครวัด
ผู้สร้าง : พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
ศิลปะ : นครวัด
เกริ่นนำ :
ความยิ่งใหญ่อลังการของปราสาท นครวัด นั้น ไม่ได้มาจากเพียงแค่ขนาดอันใหญ่โตมโหฬาร ของตัวปราสาทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประวัติศาสตร์ และตำนานที่ซ่อนตัวภายในด้วย
การเที่ยวนครวัด ควรที่จะมีข้อมูลกันก่อนครับ ว่าภาพแกะสลักแต่ละภาพมีความเป็นมาอย่างไร
มีตำนานไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง อย่างเช่น ภาพสลักราหูอมจันทร์ ซึ่งไปเกี่ยวเนื่องกับ ตำนานการกวนเกษียรสมุทร ที่จะทำให้รู้ว่า ทำไมราหูซึ่งร่างกายขาดเป็นสองท่อนแล้วถึงยังไม่ตาย ทำไมถึงได้เคียดแค้น พระอาทิตย์ กับพระจันทร์ จนถึงกับต้องจับกินทุกครั้งที่พบกัน
การเที่ยวปราสาทต่าง ๆ ในนครวัดนั้น จะสนุกสนาน ทำให้เรารู้สึกว่านครวัดนั้นมีคุณค่า่ จากเรื่องราวที่อยู่ภายในเหล่านี้ มากกว่าเป็นแค่กองหินขนาดใหญ่ ซึ่งนำมาซ้อนกัน อย่างที่ี่เทคโนโลยี ปัจจุบันสามารถสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาแค่ไม่กี่ปี
ประวัติ :
นครวัด สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 1650-1693 ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย (นับถือ พระวิษณุเป็นใหญ่) กำลัง รุ่งเรืองอยู่ในอาณาจักรขอม
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จึงโปรดให้สร้างนครวัด เพื่อบูชาพระวิษณุ และนอกจากนั้นแล้ว ก็เพื่อให้เป็นที่ เก็บพระศพของพระองค์ เมื่อยามสิ้นพระชนม์แล้วด้วย ดังนั้น นครวัด จึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออก
ตามธรรมเนียมของขอม จะมีการตั้งพระนามใหม่ ถวายกับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นั้นมีพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า "บรมวิษณุ" นครวัด จึงมีอีกชื่อว่า "บรมวิษณุมหาปราสาท"
ในการสร้างปราสาท ต้องใช้หินปริมาตรหลายล้าน ลูกบาศก์เมตร ที่นำมาจากเทือกเขาพนมกุเลน ซึ่งอยู่ห่าง จากนครวัดกว่า 50 กม. โดยใช้ช้างนับพันเชือกในการขนย้าย ใช้แรงงานนับแสนคนในการก่อสร้างตบแต่ง ใช้เวลาสร้างกว่า 30 ปี จนสิ้นรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะมีการสร้างต่อในสมัย พระเ้จ้าชัยวรมันที่ 7 และสมัย นักองค์จันทร์ ถึงกระนั้น ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี
นครวัดนั้น ไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นราชธานีของอาณาจักรขอมด้วย ภายในนครวัด จึงมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก มีความยาวถึง 1.5 กม. และกว้าง 1.3 กม. รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1,219 ไร่ (2 ตารางกม.)
นครวัดถูกล้อมรอบด้วยบึงน้ำขนาดใหญ่ มีสะัพานเชื่อมสู่ภายนอก เฉพาะประตูทิศตะวันตก และประตูทิศตะวันออกเท่านั้น
คำว่า "นครวัด" มาจากคำว่า "นอกอร์วัด" ซึ่งคำว่า "นอกอร์" นั้น หมายถึง นคร ในสมัย นักองค์จันทร์ พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ เทวาลัยแห่งนี้จึงกลายเป็นวัด ในศาสนาพุทธ กลายเป็นที่มาของคำว่า "วัด" ใน "นอกอร์วัด" นั่นเอง
เมื่อชาวฝรั่งเศสเข้ามาพบนครวัด ได้เรียกชื่อของนครวัดเพี้ยนไปจาก "นอกอร์วัด" เป็น "อังกอร์วัด" และใช้มาว่า อังกอร์วัด มาจนทุกวันนี้
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายใน นครวัด
ภายนอกปราสาท
จุดท่องเที่ยวที่สำคัญภายนอกปราสาทนครวัด ได้แก่
1. สะพานนาคราช
สะพานนาคราช เป็นสะพานที่ประกอบด้วยรูปสลักลอยพญานาคขนาดใหญ่ ขนานไปกับตัวสะพาน สะพานนี้ทอดข้ามสระน้ำขนาดใหญ่หน้าปราสาทนครวัด มุ่งตรงเข้าสู่โคปุระตะวันตก
2. โคปุระ
โคปุระหมายถึุง พลับพลาทางเข้าของนครวัด ซึ่งนครวัดนั้น มีโคปุระซึ่งเป็นทางเข้าอยู่ 2 ทิศคือ โคปุระตะวันตก และโคปุระตะวันออก
2.1 โคปุระตะวันตก
โคปุระตะวันตก ซึ่งเป็นโคปุระที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของ นครวัด ด้านหน้าของโคปุระตะวันตก จะมีบาราย(บาราย = สระน้ำ) อยู่ด้วย
โคปุีระตะวันตก มีอยู่ทางเข้าอยู่ 5 ประตู ประตูกลางนั้นไว้สำหรับกษัตริย์เท่านั้น
จุดที่พลาดไม่ได้คือ โคปุระทางฝั่งขวามือ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ ซึ่งชาวพุทธต่างนับถือและเข้ามานมัสการเป็นนิตย์
นอกจากนี้แล้วบริเวณ โคปุระตะวันตก ยังมีรูป อัปสรายิ้มเห็นฟัน ซึ่งมีเพียงรูปเดียวในหมู่อัปสรากว่า 2,000 รูปในปราสาทนครวัด
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงนิยมเดินทางเข้านครวัดทาง โคปุระตะวันตกมากกว่า
รูปที่โคปุระตะวันตก (คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยาย)
โคปุระตะวันตก
นครวัด
โคปุระตะวันตก
นครวัด
โคปุระตะวันตก
นครวัด
โคปุระตะวันตก
นครวัด
โคปุระตะวันตก
นครวัด
บารายประตูตะวันตก
นครวัด
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
นครวัด
2.2 โคปุระตะวันออก
โคปุระตะวันออก มาก มีขนาดย่อมกว่า โคปุระตะวันตก และลักษณะ
จะทรุดโทรมมากกว่า โคปุระตะวันตก อยู่มาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จึงไม่นิยมเข้า-ออก ทางโคปุระตะวันออก ซึ่งกลับกลายเป็นอีกสเน่ห์ของโคปุระตะวันออก ที่นักท่องเที่ยว สามารถเลือกมุมถ่ายรูปได้มากกว่า
รูปที่โคปุระตะวันออก (คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยาย)
โคปุระตะวันออก
นครวัด
โคปุระตะวันออก
นครวัด
โคปุระตะวันออก
นครวัด
โคปุระตะวันออก
นครวัด
โคปุระตะวันออก
นครวัด
3. รูปเงาสะืท้อนน้ำของมหาปราสาทนครวัด
หากใครมาเที่ยวชมนครวัด และยังไม่ได้ถ่ายรูปเงาสะท้อนของมหาปราสาทนครวัด บนสระน้ำขนาดใหญ่หน้าปราสาท ก็ถือได้ว่ายังมาไม่ถึงนครวัด ผิวน้ำทีเ่รียบราวกระจก
จะสะท้อนให้เห็นปรางค์ทั้งห้าของปราสาทนครวัดอย่างชัดเจน
เงาสะท้อน 5 ปรางค์
นครวัด
เงาสะท้อน 5 ปรางค์
นครวัด
เงาสะท้อน 5 ปรางค์
นครวัด
เงาสะท้อน 5 ปรางค์
นครวัด
เงาสะท้อน 5 ปรางค์
นครวัด
ภายในปราสาท
จุดท่องเที่ยวที่สำคัญภายในปราสาทนครวัด ได้แก่
1. ภาพสลักที่ระเบียงคตชั้นใน
ภาพสลักที่ระเบียงคตชั้นใน ของนครวัดมีความยาวกว่า 600 เมตร
ซึ่งมีภาพสลักสำคัญ ๆ ได้แก่
- ภาพสลักการกวนเกษียรสมุทร
- ภาพสลักการรบที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งเป็นการรบระหว่าง ตระกูลเการพ และปาณฑพ จาก มหากาพย์มหาภารตะยุทธ
- ภาพสลักการต่อสู้ระหว่างเทพกับยักษ์ จาก รามายณะ
- ภาพสลักขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เมื่อยกทัพไปปราบพวกจาม ซึ่งในนั้นก็จะมีขบวนทัพของ สยามกุก หรือ ประเทศสยาม เข้าร่วมด้วยในฐานะประเทศราช
นอกจากนี้ที่ระเบียงคตชั้นในยังมีภาพสลักในศาสนาฮินดูอีกมากมาย
รูปที่ภาพสลักที่ระเบียงคตชั้นใน (คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยาย)
ภาพสลัก การกวนเกษียรสมุทร
นครวัด
ภาพสลักกองทัพของ
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
นครวัด
ภาพสลักการปกครองของ
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
นครวัด
ภาพสลักที่ระเบียงคตชั้นใน
นครวัด
ภาพสลักกองทัพของ
เสียมกุก(สยาม)
นครวัด
ภาพสลักกองทัพของ
เสียมกุก(สยาม)
นครวัด
2. ปรางค์ปราสาท
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู จะสมมติให้ปราสาทเปรียบดังสวรรค์
ปรางค์ประธาน จะเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ เขาที่สูงที่สุดในสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ประทับของเทพสูงสุดคือ พระศิวะ
ส่วนพระปรางค์ ทั้งสี่ที่รายล้อมปรางค์ประธานนั้น ก็เปรียบได้กับของขุนเขา ใหญ่น้อยอันเป็นที่สถิตของเทพต่าง ๆ ตามลำดับชั้น
ภายในปรางค์ปราสาทมีภาพสลักนางอัปสรามากมาย และยังมี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประดิษฐานภายในปรางค์ประธานด้วย
บันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานจะชันมาก การขึ้น-ลง โปรดใช้ความระมัดระวัง แนะนำให้ ขึ้น-ลง ด้านหน้า ซึ่งมีราวจับครับ
รูปที่ปรางค์ประธาน(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยาย)
ปรางค์ประธาน
นครวัด
ปรางค์ประธาน
นครวัด
ปรางค์ประธาน
นครวัด
ปรางค์ประธาน
นครวัด
ปรางค์ประธาน
นครวัด
ปรางค์ประธาน
นครวัด
3. ภาพแกะสลักอัปสรา (นางอัปสร)
อัปสรา หรือ อัปสร ในภาษาไทยนั้นถือกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทร นางอัปสราในศิลปะขอมแบบนครวัด จะมีรูปร่างอ้อนแอ้นอรชร กว่าศิลปะขอมแบบอื่น
และด้วยอารมณ์ขันของช่างขอม ในขณะที่ำทำการแกะสลัก จึงได้แกะอัปสรานางหนึ่ง ให้มีลิ้นสองแฉก ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว ในจำนวนอัปสรากว่า 2,000 รูปภายในนครวัด และกลายเป็นอีกไฮไลท์สำคัญในนครวัด
** หมายเหตุ การแตะต้องรูปสลักหินใด ๆ โปรตีนจากคราบเหงื่อของเรา จะค่อย ๆ กัดกร่อนทำลายรูปสลักนั้น ๆ
ดังนั้นกรุณาอย่ากระทำตาม คำชักชวนของไกด์นอกลู่นอกทางบางคน ที่ชี้ชวนให้จับหน้าอก หรือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนางอัปสรา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม
รูปนางอัปสรา(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปขยาย)
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
นางอัปสรา
นครวัด
รวมภาพอื่น ๆ ของนครวัด
นครวัด
จากโคปุระตะวันออก
นครวัด
จากประตูตะวันออก
ก่อนขึ้นสู่
นครวัด
ระเบียงคตชั้นนอก
นครวัด
นครวัด
นครวัด