คนที่นอนกรนต้องระวังเพราะอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการหยุดหายใจ ตอนนอนหลับ
ผู้ชายที่กรนดัง และหยุดหายใจตอนนอนหลับเป็นพักๆ เสี่ยงอายุสั้นมากกว่าคนที่นอนเงียบๆ 2 เท่า
คนวัยกลางคนที่มีปัญหาหยุดหายใจ (apnea) ตอนนอนหลับ ซึ่งมักจะกรนดัง, หยุดหายใจเป็นพักๆ (เสียงกรนหายไป), หายใจแรง-เร็ว (หอบ) แล้วกลับไปกรนอีกเป็นช่วงๆ มีโอกาสเสียชีวิตมากเป็น 2 เท่า
.UK ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทย ( UK 60.975 ล้านคนในปี 2550 / ไทย 63.396 ล้านในปี 2552) มีคนที่มีปัญหาหยุดหายใจตอนนอนหลับ (sleep apnea) 3 ล้านคน หรือ 20 คนจะพบคนเป็นโรคนี้ 1 คน
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพคินส์ US ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 40 ปีเศษ 6,000 คน ติดตามไป 8 ปี
ช่วงนอนเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อลำคอหย่อน หรือไม่ตึงตัวเท่าเวลาตื่น ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดเสียงกรน
คนที่หยุดหายใจเป็นพักๆ มักจะกรนเสียงดังสม่ำเสมอ, เสียงกรนหายไปพักหนึ่ง (= ช่วงหยุดหายใจ), ตกใจตื่นขึ้นมาพรวดพราดหายใจใหม่เป็นพักๆ ทำให้หลับไม่สนิท และง่วงเหงาหาวนอนตอนกลางวัน
กลุ่มตัวอย่าง 1/3 มีอาการหยุดหายใจตอนนอนหลับ, ผู้ชาย 8% และผู้หญิง 3% เป็นแบบแรง คือ หยุดหายใจมากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง
ผลการศึกษาพบว่า คนที่หยุดใจอย่างหนักมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 2 เท่า
การศึกษาก่อนหน้านี้พบวา การหยุดหายใจตอนนอนหลับเพิ่มเสี่ยงสโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน, อัมพฤกษ์, อัมพาต), เบาหวาน, สมองเสื่อม (ความจำเสื่อม) อัลไซเมอร์, และเพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุจากการง่วงนอนตอนกลางวัน
การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนัก นอนตะแคง ไม่ใช้ยานอนหลับหรือดื่มหนักเกิน มีส่วนช่วยป้องกันการกรนได้
ที่มา Fiona Macrae. Men who snore 'are twice as likely to die early: But is noisy sleep a sign of poor health or the cause? 18 August 2009. / PLoS Medicine.