อัจฉริยะโลก ‘ไอแซค นิวตัน’ เคยอยากรวยทางลัด และความโลภทำชีวิตเค้าพังยับ!

https://www.meekhao.com/news/scientist-in-stock-market

‘เซอร์ไอแซค นิวตัน’ เป็นชื่อที่พวกเราทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เราต่างรู้จักเขาในฐานะอัจฉริยะของโลกที่ค้นพบกฏแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก แต่อาจไม่เคยได้ยินชีวิตช่วงที่เขาต้องปวดร้าวเพราะความโลภ ชายที่อัจฉริยะขนาดนี้เคยถูกความโลภทำร้ายหรือ!? เค้าเคยถูกหลอกด้วยหรือ มันเป็นไปได้เรอะ!? แม้จะฟังดูเหลือเชื่อ แต่ชายผู้เป็นผู้คิดทฤษฏีแคลคูลัส (ที่ทำให้นักเรียน นักศึกษาไทยหลายคนต้องปวดหัว) ก็เคยตกหลุมพลางจนสูญเงินไปหลายล้านเช่นกัน

โดยความผิดพลาดในครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อเขาเข้าสู่ ‘ตลาดหุ้น’ ตอนช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1720 แน่นอนทุกคนคาดหวังว่าอัจฉริยะอย่างไอแซค นิวตันจะต้องสามารถคำนวณทุกความผันผวน อ่านเกมขาด และโกยเงินได้มหาศาล ขอเพียงหุ้นทะยานขึ้นไม่หยุด รับรองยังไงก็รวยเละแน่ วิธีจะรวยเร็วเท่านี้แทบไม่มีอีกแล้ว ซึ่งตอนนั้นเขาได้เข้าไปถือหุ้นของ South Sea Company ที่ถือว่าเป็นหุ้นที่ร้อนแรงที่สุดในประเทศอังกฤษ ณ ขณะนั้น

แต่แล้วตลาดก็ผันผวนหนัก และเขาก็ต้องสูญเงินไปกว่า 7,000 ปอนด์ (ถือเป็นเงินมหาศาลในสมัยนั้น) ซึ่งความเจ็บปวดครั้งนั้นได้ทำให้เกิดสำนวนในตำนานที่ว่า “ผมคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ผมไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของมนุษย์ได้”

แล้วแทนที่จะเข็ดหลาบ ท่านเซอร์ไอแซค นิวตันก็โดนความโลภ อยากรวยทางลัด เล่นงานอีกครั้ง พร้อมกับเทหน้าตักเป็นเงินกว่า 20,000 ปอนด์ลงตลาดหุ้น…แน่นอนเขาเจ๊งไม่เป็นท่า ซึ่งถ้าเทียบเป็นค่าเงินในยุคปี 2002-2003 เงิน 20,000 ปอนด์จะมีมูลค่าสูงถึง 108,063,000 บาท (คนในอดีต กว่าจะมีเงินเยอะขนาดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย และต้องเป็นบุคคลระดับสูงมาก)

ซึ่งหลังจากผ่านความโลภที่ช้ำใจ เซอร์ไอแซค นิวตันได้ถึงขั้นสั่งห้ามว่าใครที่คุยกับเขา ห้ามพูดคำว่า ‘บริษัท South Sea’ ให้ได้ยินอีกเด็ดขาดตราบที่เขายังมีชีวิต…แม้แต่คนที่ฉลาดทางทฤษฏี ก็ยังถูกเล่นงานด้วยความโลภได้ และนี่คือสิ่งที่ยืนยันว่าต่อให้เราเก่งกาจแค่ไหน คนเราก็ยังทำความผิดพลาดได้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อตอนที่ปล่อยให้ความโลภครอบงำ

ที่มา: Businessinsider

Credit: ที่มา: Businessinsider,foxtrotalpha.jalopnik
20 มี.ค. 60 เวลา 05:40 1,842
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...