ภาพจำลองเยาวราช - ศูนย์ประวัติศาสตร์
โถงด้านหน้าศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราชเป็นพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
ตามเทศกาลจีน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อและค่านิยมของคนจีนอย่างถูกต้อง
บรรยากาศใต้ท้องเรือขนส่งสินค้าท่ามกลางพายุฝนกระหน่ำเป็นการจำลอง
อารมณ์ความยากลำบากที่บรรพบุรุษชาวเยาวราชหลายบ้านประสบ
ไม่เพียงอาตี๋ อาหมวย อากง อาม่า ที่อยากเข้ามาซึมซับความภาคภูมิใจ
ของอาเหล่ากงต้นตระกูลตนคนไทยจำนวนไม่น้อยก็อยากรับรู้
"ตำนานมังกร" เหล่านี้ด้วย
ตลาดย่านสำเพ็งเมื่อราว 200 ปี ก่อนถูกจำลองมาไว้ในศูนย์ประวัติศาสตร์แห่งนี้
สะท้อนให้เห็นว่าความเป็นพ่อค้าแม่ขายมีอยู่ใน DNA คนจีนทุกยุคสมัย
นอกจากห้ามจับ ห้ามถ่ายรูป ห้ามนำเครื่องดื่มและอาหารเข้าไป
กฎอีกข้อหนึ่งของการชมนิทรรศการที่นี่ก็คือห้ามใส่รองเท้าเข้าไป
เจ้าหน้าที่เองก็ยังต้องใส่ผ้าห่อรองเท้าไว้
โมเดลขนาด 9 เมตร ที่จำลองตึกรามบ้านช่องของ
เยาวราชเมื่อราวปี พ.ศ.2500 นับว่าเป็นไฮไลต์ของที่นี่
โดยสิ่งที่น่าทึ่งคือการให้รายละเอียดในทุกอาคาร
เรื่องเล่าประจำบ้านเกี่ยวกับบรรพบุรุษในหลายตระกูลอาจหล่นหายไป
ด้วยความไม่ใส่ใจของลูกหลาน มาวันนี้จึงมีเพียงบาง "ตำนานมังกร"
ที่ยังเหลือพอเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก
"โรงงิ้ว" ความบันเทิงราคาแพงของคนเยาวราชรุ่นก่อน
นอกจากจะเป็นแหล่งความรื่นรมย์ ยังเป็นกลไกสืบทอดประเพณี ศิลปะ
และวัฒนธรรมจีน รวมถึงค่านิยมอันดีของชาวจีน แต่มาวันนี้ลูกหลานมังกร
กลับไม่อภิรมย์ในการอนุรักษ์ไว้
จากวัดพระยาไกร สู่วันไตรมิตร
หลังจากที่ในช่วง ร.5 วัดพระยาไกร กลายยเป็นวัดร้าง วัดไผ้เงิน
อัญเชิญพระพุทธรูปในอุโบสถไปก่อน วัดไตรมิตร ซึ่งขณะนั้นชื่อวัดสามจีนใต้
อัญเชิญพระพุทธในพระวิหารมา (ซึ่งก็คือพระพุทธรูปทองคำ)
บริษัท อีสเอเซียติ๊ก เป็นผู้จัดรถบรรทุกมาให้ ย้ายองค์พระไป
เมื่อถึงวัดไตรมิตร ได้ประดิษฐานองคค์พระไว้ข้างเจดีย์
ได้มีผู้มาขอพระไปที่วัดอื่นหลายครั้ง แต่ผู้ขอก็เปลี่ยนใจทุกครั้ง
องค์พระจึงอยู่ที่วัดไตรมิตรจนถึงปัจจุบัน
25 พฤษภาคม 2498
เมื่อก่อสร้างพระวิหารเสร็จ ได้อัญเชิญ พระพุทธทองคำ
(ซึ่งตอนนั้นเรียกว่า หลวงพ่อวัดพระยาไกร) ขึ้นประดิษฐาน
แต่ในวันนั้น ดำเนินการไม่สำเร็จ พระพุทธ เกิดตกสู่พิ้น และปูนกระเทาะออกมาบางส่วน
พบว่ามีพระพุทธรูปทองคำอยู่ภายใน ทางวัดจึงได้นำดินปูนออก พบว่าองค์พระสามารถแยกเป็นส่วนๆ
ได้ เก้าส่วน แล้วยกชิ้นส่วนขององค์พระขึ้นประกอบบนพระวิหาร
ภายหลังเรียก องค์พระว่าว่า "หลวงพ่อสุโขทัยวัดไตรมิตร"
อุปกรณ์ที่ใช้ยกองค์พระ
แสดงบรรยากาศใต้ท้องเรือสำเภาที่ชาวจีน แต่ก่อน ต้องนั่งมาเป็นเดือน
มองไปด้านบนจะเห็นทั้งฝนตก แดด ออก
หน้าคน สู้ชีวิต นั่งเรือมาเป็นเดือน มาเมืองไทย
แล้วก็ถึงเมืองไทยจนได้
ภาพนี้เป็นภาพแรกที่คนจีนจะเห็นเมื่อถึงไทย
เรือที่นั่งมาตะกี้
ศาลเจ้าสมัยแรก ก็ทำแบบเล็กๆ
ความเป็นอยู่ของคนจีนสมัยร1-ร3
ร้านขายก๋วยเตี่ยว แรกๆ เป็นแบบ mobile
ด้านขวาเป็นหญิงไทยที่แต่งงานกับคนจีน [/b
เริ่มขยับมาเป็นร้าน ฉากหลัง แสดงย่านโคมเขียว
ย่านโคมเขียว
ที่ตรงนี้ ที่สมเด็จพระเทพ ทรงนั่ง วาดโคมไฟเป็นภาษาจีน ข้างๆ หุ่นตัวนี้
ภายหลังมีเรือกลไฟ ทำให้การอพยพมาจากเมืองจีนมากขึ้น
เป็นหลายเท่า และชาวจีน ก็ เจริญขึ้นเรื่อยมา
รุปนี้แสดง ร้านขายข้าว
สมัยก่อนชาวจีนต้องถือใบต่างด้าว จนกระทั้งไม่ถึง 100 ปีหลังนี่เองที่ ให้สัญชาติไทย
ห้องนี้จำลอง ถนนเยาวราช ในสมัยก่อน สามารถเปลี่ยนเป็นกลางวันกลางคินได้
รอบๆห้อง ถนนเยาวราช มีการจัดแสดง หุ่นตัวเล็ก แสดงวิถีชีวิตชาวจีน
ในรูปเป็นการชมการแสดงงิ้ว
โพยก๊วน
หมายถึงการส่งจดหมายพร้อมเงิน กลับบ้าน เนื่องจาก ชาวจีนส่วนใหญ่ที่มา มุ่งหวังทำงาน แล้วกลับบ้านเกิด
เกิดร้านโพยก๊วนมากมายในเยาวราช มีบริการส่งเฉพาะถิ่น บริการข่วยเขียน
บริการกู้ส่งเงินไปก่อน บริการ โพยก๊วน delivery ก็ยังมี สำหรับลูกค้าฐานะดี
วัดจีน
ศูนย์รวมความศรัทธาชองชาวจีน
แรกเริ่่มมีเพียงศาลเจ้า ชาวจีนและญวนต้องใช้วัดไทยในการประกอบพิธี จน สมัย ร 5
มีพระสงฆ์จากเมืองจีนเข้ามา ได้ก่อตั้งวัดจีนแห่งแรก คือ วัดเล่งเน่ยี่ ซึ่ง ร 5
พระราชทานนามว่า วัดมังกรกมลาวาส
ร้านจันอับ
* จันอับ เป็นคำรวมเรียกขนมแบบแห้งของชาวจีนหลายชนิด
เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด ถั่วลิงเคลือบ ใช้รับรองแขกและไหว้เจ้า
หรืองานมงคลก็ยังได้ ที่เยาวราชมีร้านแบบนี้อยู่หลายร้าน สิบทอด สูตรกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ร้านทอง
โรงเรียนจีน
แสดงถึงความตั้งใจในการลงหลักปักฐานในไทย
หนังสือพิมพ์จีน
* สมัยก่อน จะมีหนังสือพิมพ์ติดอยู่บนกำแพง เรียกว่า "หนังสือพิมพ์กำแพง" [/b
ศาลเจ้า
* ศาลเจ้าจากศรัทธา นำไปสู่การทำสาธารณะกุศล มีการเผยแผ่
คณะเก็บศพไต๊ก๋ง มาจากเมืองจีน และก่อตั้งศาลเมือปี 2452 จนภายหลัง
ขยายเป็นปอเต๊กตึ้ง และ ขยายงานจนกว้าางขวางในปัจจุบัน
การกินถือเป็นความสุขอย่างหนึ่ง
ตลาดที่เยาวราชถือว่าเป็นตลาดที่รวมความอร่อยและวัตถุดิบชั้นเลิศเอาไว้ ผักสดมีที่ตลาดกรมภูธเรศ
ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ยซึ่งตั้งอยู่ในซอยเล็กๆจะขายอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป
รูปชาวจีนเจ้าของกิจการย่านเยาวราช ส่วนใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
ผู้ล่วงลับ
การจัดสร้าง ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช และ นิทรรศการพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
ในชั้น 2 และชั้น 3 ของพระมหามณฑปฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์
ความเจริญรุ่งเรืองของชาวเยาวราช ภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย
และความรู้ในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อทองคำ เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้
ทางประวัติศาสตร์แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช จะจัดแสดงอยู่ชั้น 2 ของพระมหามณฑป ฯ
วัดไตรมิตรวิทยาราม แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 ส่วน ตามลำดับ คือ
ส่วนที่ 1 เติบใหญ่ใต้ร่มพระบารมี :
บอกเล่าถึงความเป็นย่านการค้าสำคัญของเยาวราช
และความผูกพันจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของชาวเยาวราช
จากรุ่นสู่รุ่น ด้วยเทคนิค Magic Vision
ส่วนที่ 2 กำเนิดชุมชนจีนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
บอกเล่าเรื่องจุดกำเนิดของชุมชนจีนที่สำเพ็ง และการเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเล
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 - 3 จนกระทั่งสำเพ็งกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ
ในยุคนั้น ถ่ายทอดด้วยการเดินผ่านในท้องเรือสำเภา หัวแดง ก่อนจะถึงท่าเรือศาลเจ้า
เก่าและเดินเข้าสู่ตลาดสำเพ็งสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งจำลองขึ้นใหม่พร้อมบรรยากาศเสมือนจริง
ส่วนที่ 3 เส้นทางสู่ยุคทอง :
จัดแสดงเรื่องราวพัฒนาการของชุมชนจีนจากตลาดสำเพ็งสู่ความเป็น
ย่านธุรกิจสมัยใหม่ที่ถนนเยาวราช ตื่นตาตื่นใจกับโมเดลขนาดใหญ่ที่จำลอง
ถนนเยาวราชในยุคเฟื่องฟูที่สุดช่วง พ.ศ. 2490 และโดยรอบโมเดลนี้ยังมี
diorama แสดงเรื่องราวที่เป็นอยู่ภายในอาคาร ห้างร้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้
ผู้ชมเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อวิถีทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวเยาวราชในยุคนั้น
ส่วนที่ 4 ตำนานชีวิต :
แสดงตำนานชีวิตของบุคคลชาวเยาวราชที่เป็นแบบอย่างและ
แรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง โดย บอกเล่าเรื่องราวด้วยสื่อวีดิทัศน์
ส่วนที่ 5 พระบารมีปกเกล้าฯ :
เป็นแกลเลอรี่ภาพถ่ายและวีดิทัศน์ จัดแสดงเรื่องพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบันต่อชุมชนเยาวราช
และการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของชาวเยาวราชในโอกาสต่างๆ
ส่วนที่ 6 ไชน่าทาวน์วันนี้ :
นำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวย่านเยาวราช
ในปัจจุบันด้วยแผนที่กราฟฟิกประกอบภาพวีดิทัศน์
นิทรรศการพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร จะจัดแสดงอยู่ ชั้น 3
ของพระมหามณฑปฯ วัดไตรมิตรวิทยาราม ถ่ายทอดเรื่องราวของ
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร โดยลงลึกในรายละเอียดทุกแง่มุม แบ่งเป็น 7 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 กำเนิดพระพุทธรูปและวิวัฒนาการสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร :
เป็นห้อง Multimedia Theatre จัดแสดงสื่อผสม แสง เสียง และภาพ animation
ประกอบกับโมเดลเมืองสุโขทัย และเรื่องราวตั้งแต่เริ่มกำเนิดพระพุทธรูปขึ้นในโลก
และวิวัฒนาการมาสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองปางมารวิชัยในศิลปะสุโขทัย
ส่วนที่ 2 การสร้างพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร :
นำเสนอข้อสันนิษฐานเรื่องแหล่งที่สร้างและอายุสมัยของพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
รวมถึงวิธีการสร้าง โดยมีโมเดลแสดงขั้นตอนการทำแม่พิมพ์องค์พระ การหล่อ
จนถึงการประกอบชิ้นส่วนองค์พระ เพื่อให้ผู้ชมได้เรียนรู้ภูมิปัญญาช่างไทยโบราณ
ในการหล่อพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์นี้ ซึ่งต้องมีการ
แยกหล่อเป็นส่วนๆ แล้วนำมาประกอบกัน
ส่วนที่ 3 การพอกปูนทับ :
นำเสนอข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุที่มีการพอกปูนทับองค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
ประกอบกับการจัดแสดงโมเดลอธิบายขั้นตอนการพอกและปั้นปูนตามวิธีการของช่างศิลป์ไทย
ส่วนที่ 4 การอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระยาไกร :
นำเสนอข้อสันนิษฐานว่าเหตุใดพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรซึ่งเป็นพระพุทธรูปสุโขทัย
จึงมาปรากฏอยู่ที่วัดพระยาไกร กรุงเทพมหานคร ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
โดยการจัดแสดงส่วนนี้มี diorama แสดงวิธีการเคลื่อนย้ายองค์พระในสมัยนั้น
ซึ่งต้องอัญเชิญมาทางแม่น้ำด้วยแพ แล้วชักลากขึ้นบกเข้าสู่โบสถ์ด้วยตะเฆ่
ส่วนที่ 5 การอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดไตรมิตร และเหตุการณ์ปูนกะเทาะ :
บอกเล่าเรื่องราวการอัญเชิญพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรจากวัดพระยาไกรสู่วัดไตรมิตร
จนถึงเหตุการณ์ปูนกะเทาะ โดยมี diorama แสดงการอัญเชิญองค์พระมาบนรถบรรทุก
ตามถนนเจริญกรุงเมื่อ พ.ศ. 2478 และเหตุการณ์ขณะยกองค์พระขึ้นสู่วิหาร
เมื่อ พ.ศ. 2498 ซึ่งปูนที่พอกอยู่ได้แตกกะเทาะออก ทำให้องค์ พระทองคำปรากฏ
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงชิ้นส่วนปูนที่กะเทาะออกจากองค์พระ และการอธิบายลักษณะ
ทองคำเนื้อเจ็ดน้ำสองขา ที่ใช้สร้างองค์พระ
ส่วนที่ 6 ข่าวใหญ่ : นำเสนอพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ
ในช่วงที่องค์พระทองคำปรากฏขึ้น ซึ่งกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศ
และจัดแสดงภาพบุคคลสำคัญที่มาชม รวมทั้งลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับ
องค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรนับตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
ส่วนที่ 7 การอัญเชิญมาประดิษฐานในพระมหามณฑป :
บอกเล่าเรื่องราวการสร้างพระมหามณฑปและการอัญเชิญพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
มาประดิษฐานในพระมหามณฑป เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเขียนเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่
รวมทั้งมีวีดิทัศน์แสดงขั้นตอนการก่อสร้างพระมหามณฑป
และพิธีอัญเชิญพระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากรขึ้นสู่พระมหามณฑป