ทำไมชาวนาญี่ปุ่น จึงรวย? ชาวนาไทยไม่รวย? เรามาดูกัน

 

ถ้าพูดถึงชาวนา หลายๆคนอาจนึกถึงภาพความยากจน ความยากลำบาก ที่กว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเมล็ด ซึ่งปัจจุบันนี้ภาพรวมชาวนาบ้านเรายากจนลงทุกวันๆ ราคาข้าวตกต่ำ จนหลายๆรัฐบาลต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออยู่บ่อยครั้ง

ซึ่งวันนี้ เราจะพาไปดูชาวนาญี่ปุ่นกัน ว่าทำไมเขาถึงรวย? และมีเงินบินมาท่องเที่ยวพักผ่อนเล่นกอล์ฟกันที่ประเทศเรา

 

ลำดับความรวยของชาวนาญี่ปุ่น ต้องเล่าตั้งแต่ครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่แม้ว่าญี่ปุ่นจะสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เพราะโดนระเบิดปรมาณูถึง 2 ลูก ผู้คนตายหลายแสน กัมมันตภาพรังสีตกค้างจนมีคนพิการเป็นล้านคน

 

เมื่อสหรัฐอเมริกาชนะสงครามเหนือญี่ปุ่น รัฐบาลสหรัฐได้ส่งกองกำลังทางทหารเข้าปกครองเหนือรัฐบาลญี่ปุ่น โดยสหรัฐก็ได้มองเห็นว่าญี่ปุ่นบอบช้ำมาก หากปล่อยไว้แบบนี้ ภาระความรับผิดชอบต่อปัญหาความอดอยาก อาหารไม่เพียงพอของชาวญี่ปุ่น ต้องตกอยู่กับรัฐบาลสหรัฐอเป็นแน่ จึงได้มองปัญหาออกว่า สภาพสังคมของญี่ปุ่นในขณะนั้น เจ้าของที่ดินรายใหญ่มีอยู่อย่างกระจุกอยู่ในชนชั้นสูงและพ่อค้านายทุนเท่านั้น ชาวนาส่วนใหญ่ต้องเช่าที่ดินของคนกลุ่มนี้ โดยค่าเช่าก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของที่ดิน และเมื่อได้ผลผลิต ก็ต้องขายให้เจ้าของที่ดิน ชาวนาถูกกดราคารับซื้อต่ำ แต่นายทุนเอาไปขายแพง (คุ้นๆไหมครับ)

 

เมื่อรู้ปัญหาดังนั้น รัฐบาลสหรัฐจึงใช้อำนาจสั่งให้ญี่ปุ่นปฏิรูปที่ดินทั้งประเทศ โดยบังคับให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่ ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ขายที่ดินให้รัฐบาล ใครขัดขืนจะโดนจับโดนยึดทรัพย์ แล้วรัฐบาลก็เอาที่ดินเหล่านั้น มาแบ่งขายให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน โดยตั้งราคาขายตายตัว(ไม่ขึ้นลงตามราคาตลาด) ให้สามารถผ่อนจ่ายได้ตามรอบฤดูการเก็บเกี่ยว

แต่ก็ยังมีอีกปัญหา คือภาวะหลังสงครามของกินของใช้มีน้อย พ่อค้าขายของราคาแพง เงินไหลไปอยู่กับกลุ่มพ่อค้า ผู้บริโภคไม่มีเงิน รัฐบาลจึงต้องพิมพ์เงินเติมเข้าไปในกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปรับความสมดุล ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ(ค่าของเงินมีค่าต่ำลง) ข้าวกิโลกรัมเดียวต้องใช้เงินเป็น 1000 เยน (เป็นการดัดหลังพวกพ่อค้า ถึงจะถือเงินไว้มากๆก็ด้อยค่าลง) แน่นอนว่าภาวะเงินเฟ้อนี้เป็นผลดีกับกลุ่มชาวนาที่ผ่อนจ่ายที่ดินที่รัฐบาลนำมาขายให้ เพราะเงินเฟ้อ ขายของได้เงินจำนวนที่มากขึ้น แต่ผ่อนจ่ายที่ดินในราคาเท่าเดิม

มาตรการนี้ได้รับการชื่นชมไปทั่วโลกว่าเป็นการปฏิรูปเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เพราะ นอกจากทำให้ชาวนามีที่ดินเป็นของตัวเองแล้ว ยังเป็นการปลดพันธนาการ ระหว่างนายทุนกับชาวนา ออกจากกันได้ ทำให้ชาวนาเริ่มมีอิสระที่แท้จริงในการประกอบอาชีพ

อีกข้อสำคัญ ที่ทำได้เฉพาะประเทศที่มีระเบียบวินัยสูงเท่านั้น ก็คือ การทำนาในประเทศญี่ปุ่น ไม่ใช่ใครอยากจะทำนาก็ทำได้ คนจะเป็นชาวนาได้ก็โดยเป็นชาวนาอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่บรรพบุรุษ หมายถึง ถ้าพ่อเป็นชาวนา เมื่อพ่อทำไม่ไหว คนที่จะทำต่อได้ต้องเป็นลูกหรือผู้เข้ารับมรดกเท่านั้น หากประชาชนทั่วไปอยากทำนา ต้องเข้าระบบสหกรณ์ รัฐจะจัดสรรที่ดินให้ทำ โดยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเหมือนชาวนาดั้งเดิม (เจ๋งสุดยอด)

ตรงจุดนี้เองที่การทำนาในประเทศญี่ปุ่นถูกควบคุมด้วยปริมาณ ทำให้รัฐบาลรู้จำนวนผลผลิตที่จะออกมา สามารถวางแผนได้ว่าการบริโภคภายในจำนวนเท่าไร ส่วนที่เกินจะเอาไปขายที่ใหน

ซึ่งการทำนาของชาวญี่ปุ่น ไม่ได้หยุดพัฒนาอยู่เพียงเท่านั้น ยังมีการเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเพาะปลูกด้วย มีการทำการวิจัยเพื่อสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ขึ้นมาด้วยวิธีการตัดต่อยีน โดยตั้งโจทย์ของงานวิจัยไว้ว่า

1. ทนต่อโรคและแมลง

2. ทนอากาศหนาว

3. ต้นเตี้ย

4. แตกกอดี

5. ผลผลิตสูง

6. ปริมาณสารอาหารสูง

7. รสชาติดี

8. ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น

9. ตอบสนองการเจริญเติบโต ด้วยสารอาหารจากอินทรีย์

10. เมื่อนำไปสี ได้ปริมาณข้าวสารเมล็ดเต็มสูง (ข้าวญี่ปุ่นได้ข้าวเมล็ดเต็ม 60% นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม จึงวิจัยออกมาให้ ข้าวญี่ปุ่นจึงเมล็ดสั้น ส่วนข้าวไทย ได้ข้าวต้น (ข้าวเต็มเมล็ด) 40-45% ข้าวหักใหญ่(ยี่จ้อ) 5% ข้าวหักกลาง(ซาห่อ) 5-10% ข้าวหักเล็ก(ก๊วย) 10-15% ที่เหลือเป็นรำ เป็นแกลบ)

 

ด้วยการวางมาตรการที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตของข้าวญี่ปุ่นควบคุมได้ ไม่เกิดการล้นตลาดเป็นพันธุ์เฉพาะตัว เพราะวิจัยสายพันธุ์ใหม่ มีสารอาหารสูง แปลงสภาพจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ได้ปริมาณสูง ถึง 60% จึงทำให้ราคาข้าวของญี่ปุ่นมีราคาสูงและนิ่ง ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ทนสภาพอากาศ ทนต่อโรคและแมลง จึงเป็นผลให้มีต้นทุนการปลูกต่ำ เมื่อต้นทุนต่ำ ราคาขายสูง ชาวนาญี่ปุ่น จึงร่ำรวยอย่างที่เราเห็นกัน

 

ลองเปรียบเทียบเอาเองครับว่า แต่ละช่วงเวลาของการพัฒนาการ ชาวนาไทย กับ ชาวนาญี่ปุ่น ต่างกันมากมายขนาดใหน วิสัยทัศน์รัฐบาลเรา กับรัฐบาลเขา จากอดีต จนถึงปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร ชาวนาเรากับชาวนาเขามีวินัย แตกต่างกันอย่างไร ทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงสวัสดิการ โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนนคอนกรีต ที่รัฐบาลทำไปจนถึงที่นาให้ขนปัจจัยและผลผลิต ระบบไฟฟ้า ที่ทำไปถึงที่นาให้สูบน้ำ เลยนะครับ

ขอบคุณที่มา: ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก นายเกษตรดี (20 กรกฎาคา 2557) http://www.kasetdee.com/japanfarmar.htm

Credit: https://board.postjung.com/1018444.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...